คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรตลาดน้ำท่าคา (การท่องเที่ยวโดยชุมชน)
1 ตำบลท่าคา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
เปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 08:30 น. - 16:30 น.
• วันจันทร์
: 08:30 น. - 16:30 น.
• วันอังคาร
: 08:30 น. - 16:30 น.
• วันพุธ
: 08:30 น. - 16:30 น.
• วันพฤหัสบดี
: 08:30 น. - 16:30 น.
• วันศุกร์
: 08:30 น. - 16:30 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
-ชม ชิม ช็อป สินค้าชุมชนตลาดน้ำท่าคา (ตลาดน้ำมีทุกวันเสาร์ อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ และทุกวันขึ้นและแรม 2 ค่ำ 7 ค่ำ และ 12 ค่ำ)
-ลงเรือพายชมธรรมชาติริมฝั่งคลอง ไปตามเส้นทางเสด็จประพาสต้น ร.5 ณ บ้านกำนันจัน เป็นบ้านเรือนไทยเก่าแก่ (จองก่อนเข้าชมบ้านกำนันจัน)
-เยี่ยมชมกิจกรรมชุมชน ร่วมทำกิจกรรมตามฐานการเรียนรู้ต่างๆของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ตลาดน้ำท่าคาจากเรื่องราวของมะพร้าว ชมภูมิปัญญาการทำน้ำตาลมะพร้าว ได้แก่
- การขึ้นเก็บน้ำตาลมะพร้าวจากต้น
- การเคี่ยวน้ำตาลมะพร้าวแบบโบราณ
- เติมความหวาน เรียนรู้การทำขนมโบราณจากน้ำตาลมะพร้าวท่าคา
- การจักสานก้านมะพร้าว ภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนท่าคา
- การจักสานทางมะพร้าวสด นำมาสานเป็นหมวก ตะกร้า ฯลฯ
- เรือดุ๊กดิ๊กจากกาบมะพร้าว
ประวัติความเป็นมา
ชุมชนท่าคา ตำบลท่าคา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงครามเป็นชุมชนเก่าแก่ที่ชาวบ้านมีอาชีพ ทำสวนปลูกพืชล้มลุก เช่น หอม กระเทียม พริกสด ฯลฯ ในสมัยก่อนชาวบ้านนำพืชผักผลไม้ในสวนของแต่ละคนที่เหลือจากการเก็บไว้รับประทานในครัวเรือน มาแลกเปลี่ยนกัน ซึ่งชาวบ้านจะนัดแลกเปลี่ยนสินค้ากัน ในวันขึ้นและแรม 2 ค่ำ 7 ค่ำ และ 12 ค่ำ โดยการสัญจรทางเรือ เนื่องจากในอดีตยังไม่มีถนน ต่อมาเมื่อมีการแลกเปลี่ยนระหว่างหมู่บ้านอื่นมากขึ้นจึงพัฒนาเป็นตลาดน้ำท่าคาเพิ่มเป็นวันเสาร์ อาทิตย์และวันหยุด นักขัตฤกษ์ สินค้าหลักของชุมชนคือ น้ำตาลสด น้ำตาลมะพร้าว ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว
ลักษณะเด่น
เยี่ยมชมกิจกรรมชุมชน ร่วมทำกิจกรรมตามฐานการเรียนรู้ต่างๆของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ตลาดน้ำท่าคา จากเรื่องราวของมะพร้าว ชมภูมิปัญญาการทำน้ำตาลมะพร้าว - การขึ้นเก็บน้ำตาลมะพร้าวจากต้น - การเคี่ยวน้ำตาลมะพร้าวแบบโบราณ - เติมความหวาน เรียนรู้การทำขนมโบราณจากน้ำตาลมะพร้าวท่าคา - การจักสานก้านมะพร้าว ภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนท่าคา - การจักสานทางมะพร้าวสด นำมาสานเป็นหมวก ตะกร้า ฯลฯ - เรือดุ๊กดิ๊กจากกาบมะพร้าว
ข้อมูลแนะนำ
กลุ่มนักท่องเที่ยว
• กลุ่มครอบครัว
• กลุ่มผู้สูงอายุ
• กลุ่มวัยทำงาน
• กลุ่มนักเรียนนักศึกษา / เยาวชน / วัยรุ่น
• กลุ่มสตรี
• กลุ่มมุสลิม
• กลุ่มคู่รัก / คู่แต่งงาน
การเดินทาง
• จักรยาน
• มอเตอร์ไซด์
• รถยนต์
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: ไม่มีค่าใช้จ่าย
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชมาเป็นเวลานาน ก่อนคำว่า “ความหลากหลายทางชีวภาพ (BIOLOAGICAL DIVERSITY)”และอนุรักษ์ (COUSERVATION) จะเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย จากการเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี พ.ศ. 2503 เมื่อเสด็จผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ทอดพระเนตรเห็น ต้นยางนาขนาดใหญ่ขึ้นเป็นจำนวนมาก ทรงมีพระราชทานให้เก็บเมล็ดพันธุ์ยางนาไปเพาะที่ตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน และนำต้นยางนาที่เพาะได้ นำมาปลูก ในสวนจิตรลดา เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ทรงมีพระราชทานพระราชดำริให้ทำการอนุรักษ์ต้นขนุนในพระบรมมหาราชวัง และได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์พรรณไม้ ในพระราชวังต่างๆ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ทรงมีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์ และขยายพันธุ์หวายรวมทั้งดำเนินการจัดสร้างสวนสมุนไพรในโครงการสวนพระองค์ ฯ สวนจิตรลดา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามพระบรมราชกุมารี ทรงสืบต่องานอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยทรงมีพระราชดำริกับท่านเลขาธิการพระราชวัง ให้มีการดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ ในเดือน มิถุนายน 2535 ซึ่งมีโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้จัดสร้างธนาคารพืชพรรณสำหรับเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อรวมทั้งการศึกษาที่มิใช่พืชเศรษฐกิจให้มีการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยนำพระราชดำริ มาเป็นกรอบในการดำเนินการ เมื่อปี พ.ศ. 2536 นายสุจินต์ ภูนิคม กำนันตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร และคณะได้ประสานงานหารือกับผู้อำนวยการบริษัทอุลตร้าโปรดักส์ จำกัด และเกษตรกรจังหวัดชุมพรในการนำพื้นที่สาธารณะประโยชน์ซึ่งตั้ง ณ หมู่ที่ 6 ตำบลสลุย (ปัจจุบัน หมู่ที่ 5,6 ตำบลสลุย และ หมู่ที่ 4 ,7 ตำบลสองพี่น้อง) เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ ซึ่งขณะนั้น โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาก็กำลังจัดหาพื้นที่เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อมาทางโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โดยศาสตราจารย์พิเศษประชิด วามานนท์ (ที่ปรึกษาโครงการส่วนพระองค์) พร้อมคณะได้เดินทางมาพบผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร (นายประยูร พรหมพันธุ์) เพื่อปรึกษาหารือในการจัดทำโครงการโดยใน ระยะ 5 ปี แรกได้ใช้ ชื่อโครงการว่า “โครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณไม้ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร” โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร จึงได้ทำโครงการเสนอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรและได้จัดส่งเอกสารโครงการไปยังผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อโปรดนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองพระบาทในโอกาสอันสมควรและทางโครงการส่วนพระองค์ได้แจ้งตอบรับ เรื่องการนำโครงการอนุรักษ์พันธุไม้และพิพัฒน์พรรณพืชฯ จังหวัดชุมพร ทราบฝ่าละอองพระบาท เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2536 และในการดำเนินโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้ผนวกโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ และพิพัฒน์พรรณพืชของจังหวัดชุมพร เข้ากับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริในส่วนกลางมีดร.พิศิษฐ์ วรอุไร เป็นประธานคณะกรรมการ และจากการประชุมกรรมการ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 ที่ประชุมมีมติเปลี่ยนชื่อโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณพืช ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร เป็นชื่อ “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร”
ชุมพร
...ชิมชา......ชาผักเชียงดาที่ผลิตภายในศูนย์ฯ ...ชมสวน...ชมแปลงเรียนรู้การเกษตรด้าน ไม้ดอก-ไม้ประดับ,ไม้ผล-ไม้ยืนต้น,เศรษฐกิจพอเพียง,พืชผักและสมุนไพร,แมลงเศรษฐกิจ,ฝายชะลอน้ำ,แปลงรวบรวมพันธุ์ไม้หายาก,จุดเช็คอินธรรมชาติ,เส้นทางเดินชมธรรมชาติ,ชมตาน้ำ,ดูนกท้องถิ่น...ฯลฯ ...ชวนช้อป...สินค้าผลผลิตทางการเกษตรของกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรที่บริเวณจุดจำหน่ายด้านหน้าศูนย์ฯ โปรแกรมการท่องเที่ยว : ทริปเที่ยว ๑ วันภายในศูนย์ฯ ทริปเที่ยว ๒ วัน ๑ คืน..พร้อมท่องเที่ยวแหล่งอื่นๆที่ใกล้เคียง เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ: '- บ้านไทลื้อบ้านลวงใต้ ระยะทางก่อนถึงศูนย์ฯ ๗ กม. - วัดศรีมุงเมือง ระยะทางก่อนถึงศูนย์ฯ ๗ กม. - วัดพระธาตุดอยสะเก็ด ระยะทางก่อนถึงศูนย์ฯ ๗ กม. - หนองบัวพระเจ้าหลวง ระยะทางก่อนถึงศูนย์ฯ ๕ กม. สะพานแขวนเขื่อนแม่กวงอุดมธารา ระยะทางก่อนถึงศูนย์ฯ ๑๐กม. - น้ำพุร้อนดอยสะเก็ด ระยะทางจากศูนย์ฯ ๙ กม. - ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ระยะทางจากศูนย์ฯประมาณ ๔ กม. - โครงการพระราชดำริฯศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตรแปลงสาธิต๘๕ไร่ ระยะทางจากศูนย์ฯถึงประมาณ ๗ กม.
เชียงใหม่
หยาดเหงื่อของลุงฮุยได้ทิ้งไว้ให้ลูกหลานและผู้สนใจได้ชื่นชมและศึกษาเล่าเรียน"สวนเกษตรลุงฮุย” จึงเป็นแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตร และสถานที่พักผ่อนเชิงธรรมชาติ ที่มีทั้งบ้านไม้สักกลางสวนและบ้านดินริมคลอง
กำแพงเพชร
เป็นสวนผลไม้ขนาดใหญ่บนพื้นที่กว่า 500 ไร่ มีรถบริการให้นักท่องเที่ยวนั่งชมสวนและรับประทานผลไม้ในรูปแบบบุฟเฟ่ต์ในช่วงฤดูผลไม้ ทั้ง เงาะ มังคุด ลำไย ส้มโอ ฯลฯ และในช่วงฤดูหนาว สวนละไมจะเปิดให้ชมไร่สตอเบอรี่ และ ทุ่งดอกคอสมอสสีสันสวยงาม และยังมีฟาร์มแกะเอาใจคนรักสัตว์ไว้ให้ป้อนนม และถ่ายรูปกับแกะแสนรู้อีกด้วย
ระยอง
กิจกรรมให้ลูกค้าได้เที่ยวมี 3 ส่วนหลักๆ ดังนี้ - คาเฟ่มีสุข มีอาหารและเครื่องดื่มให้บริการ เมนูแนะนำคือ "กฤษณากาแฟ" ที่เราใช้ส่วนผสมจากกฤษณาสกัดมาเป็นหัวใจในเครื่องดื่มนี้ นอกจากความหอมเฉพาะตัวแล้วยังเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณค่าสรรพคุณต่างๆมากมาย มีอาหารถิ่นที่สร้างสรรค์ขึ้นจากชุมชนเพื่อให้ลูกค้าได้เข้าถึงวิถีชีวิตท้องถิ่นดั้งเดิมของมีสุขฟาร์ม สัมผัสบรรยากาศของป่ากฤษณาที่มีอายุกว่า30ปี เป็นป่าผสมผสานที่ได้รับรางวัลเกษตรกรแห่งชาติ บนพื้นที่กว่า200ไร่ เติมพลังแห่งความสุขกับธรรมชาติที่หาไม่ได้ทั่วไป - ถ่ายรูปสวยๆ เช็คอินในมีสุขฟาร์ม - ข้ามสะพานมีสุขเพื่อทิ้งความทุกข์และเก็บความสุขกลับไป - ให้อาหารน้องปลาบึก - ให้อาหารน้องหมูป่า - ชมน้องแพะและน้องกระบือภายในฟาร์ม - ภายเรือคายัก ในทะเลสาบมีสุข
ระยอง
ไร่องุ่นปรีดาฤทธิ์ของครูเมธี มูลฟูยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงหาอาชีพเสริมทำด้วยการปลูกองุ่นมาแทนพื้นที่ปลูกกล้วยกับอ้อย ต้นองุ่นให้ผลดก มีรสชาติหวานกรอบ อร่อยชุ่มลิ้น
กำแพงเพชร
สวนบ้านเรา มีทุเรียนได้ลิ้มลองรสชาติที่แท้จริงของทุเรียนพันธุ์หายากเหล่านั้น ซึ่งมีน้อยคนนักจะได้สัมผัส สวนบ้านเรามีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะทำทุเรียนทุกสายพันธุ์ให้มีคุณภาพที่ดีที่สุด ให้สมกับเป็นผลไม้ชั้นสูงที่ถูกขนานนามว่าเป็น “ราชาแห่งผลไม้”
ระยอง
- ชมสวน ทานผลไม้ เช่น ทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง - กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แนวเขตกันชนห้วยขาแข้ง - เส้นทางศึกษาธรรมชาติ โปรแกรมการท่องเที่ยว: 1. ชมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบผสมผสาน เช่น สวนมะเดื่อฝรั่ง มะนาววงบ่อ ผลหม่อนกินสด 2. ชมสวน ทานผลไม้ ที่มีคุณภาพ เช่น ทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง 3. ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แนวเขตกันชนห้วยขาแข้ง 4. กางเตนท์เพื่อพักผ่อนบริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำวิ่ง บริเวณแนวเขตกันชนห้วยขาแข้ง เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ : - สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์หลวงพ่อเสมา ณ.วัดป่าสักซึ่งเป็นพระคู่บ้านประจำอำเภอลานสัก ระยะทาง 5 กม. -เที่ยวชมอุทยานแห่งชาติห้วยขาแข้ง ระยะทาง 12 กม. -หุบป่าตาด ระยะทาง 10 กม -น้ำพุร้อนสมอทอง ระยะทาง 12 กม.
อุทัยธานี
นักท่องเที่ยวท่านใดที่เดินทางมาที่สวนลำดวน ถ้าได้มาแล้วไม่มีคำว่าผิดหวังแน่นอน กับการได้รับประทานบุฟเฟ่ต์ผลไม้ ทั้ง เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง สามารถทานได้ไม่อั้น จนกว่าลูกค้าจะพอใจ ที่สำคัญไปกว่านั้นทุเรียน เราสามารถเลือกทานได้ ตามใจเรา เพราะมีค่อนข้าง หลากหลายพันธุ์ เจ้าของสวนบริการดี มีมนุษย์สัมพันธ์กับลูกค้าแบบเป็นกันเอง
ระยอง
สวนในฝัน De Kachate' -ผลิตผัก ผลไม้ เช่น ทุเรียน มังคุด ลองกอง เมลอน แตงโม มะละกอ แบบออแกนิค100% ไม่ฉีดยาฆ่าหญ้า ไม่ฉีดยาฆ่าแมลง แต่ใช้ การตัดหญ้าในสวน และน้ำหมักชีวภาพ -เป็นสวนพักผ่อนสำหรับครอบครัวในวันหยุดเสริฟพร้อมอาหารพื้นบ้าน ที่อร่อย สะอาด ปลอดภัย สวนในฝัน De Kachaté เราไม่เน้นการผลิตเชิงปริมาณแต่เราเน้นการผลิตเชิงคุณภาพ ในแต่ละรอบเราจะผลิตเท่าที่เราสามารถดูแลและควบคุมได้อย่างทั่วถึง ผักทุกต้น ผลไม้ทุกลูก เราปลูก ดูแล รักษา เก็บเกี่ยวด้วยสมาชิกในครอบครัวเพราะต้องการให้ทุกคนได้รับสิ่งดีดีตามเจตนารมย์ของเราที่ว่า "ปลูกด้วยรัก ดูแลด้วยหัวใจ ส่งมอบให้ด้วยความห่วงใย"
ระยอง
พระธาตุยโสธร หรือ พระธาตุอานนท์ ตั้งอยู่หน้าอุโบสถ เป็นพระธาตุรุ่นเก่าที่สำคัญองค์หนึ่งในภาคอีสาน เจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมส่วนยอดคล้ายพระธาตุพนม ภายในพระธาตุบรรจุอัฐิธาตุของพระอานนท์ การก่อสร้างได้รับอิทธิพลศิลปะลาวที่นิยมสร้างขึ้นเมื่อปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งตรงกับประวัติการตั้งเมืองและประวัติของวัดมหาธาตุ
ยโสธร
? พิกัดฟาร์ม : https://maps.app.goo.gl/i7ouTVpvLiGX39Je9 ☎️ โทรศัพท์ : 062-351-4593 ⏰ เปิดบริการทุกวัน : 07.00 - 18.00 น
กำแพงเพชร