คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
ท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้านนาต้นจั่น
ท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้านนาต้นจั่น ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย 64130
Image
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
เปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันจันทร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันอังคาร
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพุธ
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันศุกร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันเสาร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
ชาวบ้านบ้านนาต้นจั่น มีวิถีชีวิตดั้งเดิม มีการทำเกษตรแบบผสมผสาน มีการทำผ้าหมักโคลนเป็นผ้าดีมีน้ำหนัก งดงามด้วยการหมักโคลนและการทอที่ซับซ้อน ชาวบ้านได้ปรับพื้นที่สำหรับกางเต็นท์ ยกแคร่ไม่ไผ่ทำเป็นที่นั่งกินข้าว ทำห้องน้ำ ส่วนที่เหลือยังคงสภาพป่าไว้ดังเดิม สันดอยแห่งนี้มีทัศนียภาพงดงาม สามารถชมพระอาทิตย์ขึ้นและตกได้ในจุดเดียวกัน
โฮมสเตย์บ้านนาต้นจั่นมีประมาณ 23 หลัง แยกบ้านให้อยู่เป็น หลังหรืออยู่บ้านเดียวกับเจ้าของบ้าน ได้ดื่มด่ำไปกับธรรมชาติรอบ ที่พัก พร้อมห้องครัวอุปกรณ์ครบครัน ซื้ออาหาร ไปทำรับประทานเองสะดวกสบาย
มีกิจกรรมปั่นจักรยานชมวิถีชมุชนในหมู่บ้าน ชมสวนผลไม้และท้องทุ่งพร้อมไกด์ชุมชนนำทาง ไปชมสวนผลไม้ของชาวบ้าน

โปรแกรมการท่องเที่ยว :
-พักโฮมสเตย์บ้านนาต้นจั่น ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมดจำนวน 23 หลัง
-ปั่นจักรยานชมวิถีชมุชนในหมู่บ้าน ชมสวนผลไม้และท้องทุ่ง
-ชมวิธีการทำผ้าหมักโคลน การทอผ้าด้วยมือ ผ้ายกดอก และเลือกซื้อผ้าหมักโคลนตัดสำเร็จรูป
-ชมวิธีการทำตุ๊กตาบาร์โหน (บ้านตาวงศ์)
-ชมหัตถกรรมตอไม้
-ชมและชิมผลไม้ตามฤดูกาล ได้แก่ ทุเรียน เงาะ ลองกอง มะม่วง มะปราง มะไฟ ลำไย
-จุดชมวิว “ห้วยต้นไฮ” ชมทะเลหมอกพระอาทิตย์
-ชมและทดลองการทำข้าวเปิ๊ป อาหารท้องถิ่น จิบกาแฟในกระบอกไม้ไผ่

เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ :
- อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย 30 กิโลเมตร
- ร้านทองโบราณ ร้านเงินโบราณ 30 กิโลเมตร
- อุทยานแห่งชาติน้ำตกป่าคา 70 กิโลเมตร
- อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย (เมืองเก่าสุโขทัย) 77 กิโลเมตร
- อุทยานแห่งชาติรามคำแหง 110 กิโลเมตร
ที่มาข้อมูล
Thailand Tourism Directory
ข้อมูลแนะนำ
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: ไม่มีค่าใช้จ่าย
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
เป็นสวนผลไม้ที่มีความสวยงามในสภาพพื้นที่ ความร่มรื่น ความเป็นเอกลักษณ์ในรสชาติของผลไม้ไม่ว่าจะเป็นทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง ที่เจ้าของสวนเน้นย้ำเป็นหนักหนาว่าที่นี่แหละผลไม้คุณภาพ กินได้ทุกลูก เรียกว่าปลอดภัยในระดับ GAP โดยนำระบบการทำการเกษตรที่ดีมีคุณภาพ เข้ามาใช้ในการผลิต ซึ่งระบบ GAP นี้เองช่วยให้ผลผลิตมีคุณภาพมากขึ้น และปลอดภัยต่อผู้บริโภครวมทั้งตัวเกษตรกรเอง เพราะระบบ GAP มีการควบคุมการใช้สารเคมีให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค เพราะฉะนั้นผู้บริโภคหรือนักท่องเที่ยวสบายใจได้ว่าปลอดภัยหายห่วง
ระยอง
ตลาด 910 เป็นตลาดนัดขายสินค้าทางการเกษตรมากมาย ซึ่งเป็นผลผลิตจากเกษตรกรเหลือจากกินใช้ และนำมาแปรรูปขาย ตลาดก่อตั้งขึ้นเนื่องจากได้รับงบประมาณ จากโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน มีทุกวัน แต่โซนด้านหน้าจะมีในวันอาทิตย์ของสัปดาห์ นอกจากการขายสินค้าทางการเกษตรแล้ว ในช่วงเวลาเทศกาลสำหรับจะมีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ และมีหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนมาร่วมด้วย ตลาด 910 เป็นที่สนใจของประชาชนในท้องที่เป็นอย่างมาก และนอกจากนี้ ตลาด 910 ยังได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ระดับเขต ในการแข่งขันการประกวด โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน
ชุมพร
ในพื้นที่สวนได้ปลูกไม้ผลหลากหลายชนิด เช่น มังคุด ลองกอง ทุเรียน เงาะ กระท้อน และ มะยงชิด ซึ่งการดูแล ไม้ผลภายในสวนของคุณลุง ก็คล้ายกับสวนผลไม้ทั่วไป แตกต่างตรงที่สวนของคุณลุงจวบจะใช้สารที่สกัดจากธรรมชาติ และใช้ปุ๋ยชีวภาพ ในการกำจัดศัตรูพืชและการบำรุงรักษาไม้ผล ทำให้มั่นใจได้ว่า สินค้ามีคุณภาพ และปลอดภัยจากสารพิษ มีรสชาติที่หอมหวานและอร่อยกว่า
ระยอง
-เพื่อให้เกษตรกรในกลุ่มจังหวัดระยอง แสดงผลงานทางการเกษตรต่อสมาชิกด้วยกัน -สมาชิกและผู้สนใจในการทำเกษตร สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้พูดคุยวิชาการเกษตรอย่างสร้างสรรค์ -เพิ่มช่องทางการผลิต การตลาด การกระจายสินค้าทางการเกษตร ต่อสมาชิกและผู้สนใจด้วยกันอย่างกว้างขวาง
ระยอง
นักท่องเที่ยวท่านใดที่เดินทางมาที่สวนลำดวน ถ้าได้มาแล้วไม่มีคำว่าผิดหวังแน่นอน กับการได้รับประทานบุฟเฟ่ต์ผลไม้ ทั้ง เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง สามารถทานได้ไม่อั้น จนกว่าลูกค้าจะพอใจ ที่สำคัญไปกว่านั้นทุเรียน เราสามารถเลือกทานได้ ตามใจเรา เพราะมีค่อนข้าง หลากหลายพันธุ์ เจ้าของสวนบริการดี มีมนุษย์สัมพันธ์กับลูกค้าแบบเป็นกันเอง
ระยอง
เส้นทางถนนในถ้ำขรุขระ เมื่อขับไประยะหนึ่งมีน้ำตกไหลในอุโมงค์ มีน้ำไหลเหมือนลำธารตลอดปีเพราะอุโมงค์ขุดผ่านตาน้ำ ภายในอุโมงค์มีหินงอกหินย้อยงดงามที่ก่อตัวขึ้นบนผนังตลอดทางซ้ายขวา มีอุโมงค์แยก ซึ่งเป็นทางแยกที่ขุดไปตามสายแร่ ดังนั้นหากเข้ามาโดยไม่มีผู้นำทาง อาจจะหลงทางอยู่ในอุโมงค์มืดมิด สามารถเข้าชมได้ตลอดปี
กาญจนบุรี
“คุ้งบางกะเจ้า” คือ พื้นที่ส่วนหนึ่งที่เป็นบริเวณโค้งน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีรูปร่างคล้ายกระเพาะหมู ครอบคลุมพื้นที่กว้างถึง 6 ตำบลของ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ได้แก่ ตำบลบางกะเจ้า ตำบลบางน้ำผึ้ง ตำบลบางกอบัว ตำบลบางกระสอบ ตำบลบางยอ และ ตำบลทรงคะนอง คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 12,000 ไร่ เมื่อวันที่ 14 ก.ย. 2520 ได้มีมติคณะรัฐมนตรี กำหนดให้ “คุ้งบางกะเจ้า” เป็นพื้นที่สีเขียว เหมาะแก่การเพาะปลูก โดยไม่อนุญาตให้ทำการก่อสร้างตึกหรืออาคาร ที่มีความสูงเกินกว่าที่กำหนด และเมื่อปี 2549 นิตยสาร Time ได้ยกให้พื้นที่บางกระเจ้าเป็น The best Urban Oasis of Asia หรือที่เรียกว่า เป็นปอดกลางเมืองที่ดีที่สุดในเอเชียนั่นเอง แม้ระยะเวลาจะผ่านมาหลายสิบปี สถานที่แห่งนี้ยังถือว่าเป็น “ปอด” ฟอกอากาศให้กรุงเทพฯ และจังหวัดสมุทรปราการ ได้อย่างดีเสมอมา กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่ “คุ้งบางกะเจ้า” จะเป็นการปั่นจักรยานลัดเลาะ ไปเรื่อยๆ ในพื้นที่สีเขียวที่กำลังเป็นแหล่งท่องเที่ยวและเส้นทางปั่นจักรยานยอดฮิต เพราะเป็นเหมือนโอเอซิสผลิตออกซิเจนให้คนเมืองด้วยพื้นที่สวนกว่า 200 ไร่ ร่มรื่นเย็นชื้นเพราะมีต้นไม้นานาพันธุ์ มีไม้ใหญ่และ รากไทรปกคลุม บางพื้นที่มีอุโมงค์ต้นไม้ที่ตระการตา มีวิถีชีวิตเกษตรกรรม ที่น่าสนใจ และภูมิปัญญาชาวบ้านที่น่าค้นหา โดยมีจุดแวะชม และทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มเกษตรกร และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โปรแกรมการท่องเที่ยว 1. เยี่ยมชมสวนมะม่วงน้ำดอกไม้ (มะม่วงน้ำดอกไม้คุ้งบางกะเจ้า มะม่วง GI ล่าสุดของไทย) โดย พ.ท.ชำนาญ อ่อนแย้ม ประธานชมรมผู้ผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้จังหวัดสมุทรปราการ ประธานวิสาหกิจชุมชน ผู้พันการเกษตร และเจ้าของสวนมะม่วงน้ำดอกไม้ในพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า เป็นวิทยากรให้ความรู้ พร้อมจำหน่ายมะม่วง และกิ่งพันธุ์มะม่วง 2. เยี่ยมสวนไม้ประดับ (โกสน หมากแดง และหมากผู้หมากเมีย) โดย อาจารย์ณรงค์ สำลีรัตน์ ประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอำเภอพระประแดง กิจกรรมขยายพันธุ์ไม้ประดับ และอาจารย์สมศักดิ์ สำลีรัตน์ ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน เป็นวิทยากรให้ความรู้ พร้อมจำหน่าย โกสน หมากแดง และหมากผู้หมากเมีย 3. ชมสวนเกษตรผสมผสานครบวงจร ของคุณสมนึก ฟักเจริญ Smart Farmer ตำบลบางกะเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ 4. วิสาหกิจชุมชนหัตถศาสตร์เพื่อสุขภาพ กิจกรรมประกอบด้วย บริการนวดด้วยลูกประคบสมุนไพร สาธิตการทำลูกประคบสมุนไพร จำหน่ายหมอนรองคอ, เข็มขัดธัญพืช, ลูกประคบ, หมอนคลุมไหล่ และหมอนกดจุด 5. วิสาหกิจชุมชนบ้านธูปหอมสมุนไพร กิจกรรมทำธูปหอมสมุนไพร ทำผ้ามัดย้อม บริการโฮมสเตย์ เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ (พร้อมระยะทาง/กม.) (ทุกสถานที่อยู่ภายในคุ้งบางกะเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ)  - ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง ตำบลบางน้ำผึ้ง  - สวนศรีนครเขื่อนขันธ์ ตำบลบางกะเจ้า  - พิพิธภัณฑ์ปลากัดไทย ตำบลบางกะเจ้า  - หอดูนก ตำบลบางกะเจ้า  - พิพิธภัณฑ์เรือ ตำบลบางกอบัว  - โกดังผักบางกะเจ้า สินค้าวิสาหกิจชุมชนในชุมชน - วิสาหกิจชุมชนหัตถศาสตร์เพื่อสุขภาพ  จำหน่ายหมอนรองคอ, เข็มขัดธัญพืช, ลูกประคบ, หมอนคลุมไหล่, หมอนกดจุด                                  - วิสาหกิจชุมชนบ้านธูปหอมสมุนไพร จำหน่ายธูปหอม, ผ้ามัดย้อม (กระเป๋า, เสื้อผ้า, ผ้าพันคอ)                       - น้ำตาลมะพร้าว                                                   - ไม้ประดับ เช่น โกสน, หมากแดง, หมากผู้หมากเมีย, อะโกนีม่า ฯลฯ  - ไม้ผล ได้แก่ มะม่วง, กิ่งพันธุ์มะม่วง, มะนาว, กิ่งพันธุ์มะนาว ฯลฯ                 - งานศิลปหัตถกรรมจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน  เช่น ไม้มงคลจากหินนำโชค, ดอกไม้จากเกล็ดปลา, ดอกไม้จากผ้าใยบัว
สมุทรปราการ
แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ที่พัก อาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร มีสวนสตรอเบอร์รี่ให้นักท่องเที่ยวได้ มีการจัดกิจกรรมท่องเที่ยงให้นักท่องเที่ยวได้เลือก ห้องพักคืนละ 1000 ห้องพัดลม มีชุดอาหารเช้าข้าวเหนียว + หมู + แจ่วอีสาน คนละ 100 บาท สตรอเบอร์รี่ กิโลละ 300 บาท
ขอนแก่น
บ้านมณีพฤกษ์ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 11 ตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้งและเผ่าลั๊วะ สภาพภูมิประเทศที่ตั้ง หมู่บ้านเป็นภูเขาสูง ตั้งอยู่ในระดับความสูงที่ 1,200 – 1,400 เมตร
น่าน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชมาเป็นเวลานาน ก่อนคำว่า “ความหลากหลายทางชีวภาพ (BIOLOAGICAL DIVERSITY)”และอนุรักษ์ (COUSERVATION) จะเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย จากการเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี พ.ศ. 2503 เมื่อเสด็จผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ทอดพระเนตรเห็น ต้นยางนาขนาดใหญ่ขึ้นเป็นจำนวนมาก ทรงมีพระราชทานให้เก็บเมล็ดพันธุ์ยางนาไปเพาะที่ตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน และนำต้นยางนาที่เพาะได้ นำมาปลูก ในสวนจิตรลดา เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ทรงมีพระราชทานพระราชดำริให้ทำการอนุรักษ์ต้นขนุนในพระบรมมหาราชวัง และได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์พรรณไม้ ในพระราชวังต่างๆ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ทรงมีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์ และขยายพันธุ์หวายรวมทั้งดำเนินการจัดสร้างสวนสมุนไพรในโครงการสวนพระองค์ ฯ สวนจิตรลดา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามพระบรมราชกุมารี ทรงสืบต่องานอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยทรงมีพระราชดำริกับท่านเลขาธิการพระราชวัง ให้มีการดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ ในเดือน มิถุนายน 2535 ซึ่งมีโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้จัดสร้างธนาคารพืชพรรณสำหรับเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อรวมทั้งการศึกษาที่มิใช่พืชเศรษฐกิจให้มีการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยนำพระราชดำริ มาเป็นกรอบในการดำเนินการ เมื่อปี พ.ศ. 2536 นายสุจินต์ ภูนิคม กำนันตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร และคณะได้ประสานงานหารือกับผู้อำนวยการบริษัทอุลตร้าโปรดักส์ จำกัด และเกษตรกรจังหวัดชุมพรในการนำพื้นที่สาธารณะประโยชน์ซึ่งตั้ง ณ หมู่ที่ 6 ตำบลสลุย (ปัจจุบัน หมู่ที่ 5,6 ตำบลสลุย และ หมู่ที่ 4 ,7 ตำบลสองพี่น้อง) เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ ซึ่งขณะนั้น โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาก็กำลังจัดหาพื้นที่เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อมาทางโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โดยศาสตราจารย์พิเศษประชิด วามานนท์ (ที่ปรึกษาโครงการส่วนพระองค์) พร้อมคณะได้เดินทางมาพบผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร (นายประยูร พรหมพันธุ์) เพื่อปรึกษาหารือในการจัดทำโครงการโดยใน ระยะ 5 ปี แรกได้ใช้ ชื่อโครงการว่า “โครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณไม้ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร” โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร จึงได้ทำโครงการเสนอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรและได้จัดส่งเอกสารโครงการไปยังผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อโปรดนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองพระบาทในโอกาสอันสมควรและทางโครงการส่วนพระองค์ได้แจ้งตอบรับ เรื่องการนำโครงการอนุรักษ์พันธุไม้และพิพัฒน์พรรณพืชฯ จังหวัดชุมพร ทราบฝ่าละอองพระบาท เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2536 และในการดำเนินโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้ผนวกโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ และพิพัฒน์พรรณพืชของจังหวัดชุมพร เข้ากับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริในส่วนกลางมีดร.พิศิษฐ์ วรอุไร เป็นประธานคณะกรรมการ และจากการประชุมกรรมการ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 ที่ประชุมมีมติเปลี่ยนชื่อโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณพืช ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร เป็นชื่อ “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร”
ชุมพร
...ชิมชา......ชาผักเชียงดาที่ผลิตภายในศูนย์ฯ ...ชมสวน...ชมแปลงเรียนรู้การเกษตรด้าน ไม้ดอก-ไม้ประดับ,ไม้ผล-ไม้ยืนต้น,เศรษฐกิจพอเพียง,พืชผักและสมุนไพร,แมลงเศรษฐกิจ,ฝายชะลอน้ำ,แปลงรวบรวมพันธุ์ไม้หายาก,จุดเช็คอินธรรมชาติ,เส้นทางเดินชมธรรมชาติ,ชมตาน้ำ,ดูนกท้องถิ่น...ฯลฯ ...ชวนช้อป...สินค้าผลผลิตทางการเกษตรของกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรที่บริเวณจุดจำหน่ายด้านหน้าศูนย์ฯ โปรแกรมการท่องเที่ยว : ทริปเที่ยว ๑ วันภายในศูนย์ฯ ทริปเที่ยว ๒ วัน ๑ คืน..พร้อมท่องเที่ยวแหล่งอื่นๆที่ใกล้เคียง เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ: '- บ้านไทลื้อบ้านลวงใต้ ระยะทางก่อนถึงศูนย์ฯ ๗ กม. - วัดศรีมุงเมือง ระยะทางก่อนถึงศูนย์ฯ ๗ กม. - วัดพระธาตุดอยสะเก็ด ระยะทางก่อนถึงศูนย์ฯ ๗ กม. - หนองบัวพระเจ้าหลวง ระยะทางก่อนถึงศูนย์ฯ ๕ กม. สะพานแขวนเขื่อนแม่กวงอุดมธารา ระยะทางก่อนถึงศูนย์ฯ ๑๐กม. - น้ำพุร้อนดอยสะเก็ด ระยะทางจากศูนย์ฯ ๙ กม. - ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ระยะทางจากศูนย์ฯประมาณ ๔ กม. - โครงการพระราชดำริฯศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตรแปลงสาธิต๘๕ไร่ ระยะทางจากศูนย์ฯถึงประมาณ ๗ กม.
เชียงใหม่