คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
สวนคุณประยูร
สวนคุณประยูร หมู่3 ตำบลชากโดน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
Image
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
เปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันจันทร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันอังคาร
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพุธ
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันศุกร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันเสาร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
ผลไม้ตามฤดูกาล รับรองความอร่อย ปลอดภัยไร้สารเคมี
ลักษณะเด่น
ชมสวนผลไม้ ชิมผลไม้สดจากสวน จำหน่ายผลไม้
ที่มาข้อมูล
Thailand Tourism Directory
ข้อมูลแนะนำ
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: ไม่มีค่าใช้จ่าย
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
ชมสวนผลไม้ ชิมผลไม้สดจากสวน
ระยอง
ฟาร์มโคนม ไทย-เดนมาร์ค เป็นฟาร์มเลี้ยงโคนม ที่มีการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่แรกๆ ของเมืองไทย พิกัด : https://goo.gl/maps/q9b524yJcqMwBAx88
สระบุรี
หากใครกำลังมองหาที่พักผ่อนหย่อนใจจากการทำงานอย่างหนักหน่วงตลอดทั้งสัปดาห์ ขอเชิญชวนมาท่องเที่ยวชมสวนดอกไม้ ชื่นชมกับธรรมชาติ รับประทานอาหารอร่อย ดื่มกาแฟหอมๆ ถ่ายรูปเล่นมีรถรับส่งเข้าชมไร่
กำแพงเพชร
ชาวบ้านบ้านนาต้นจั่น มีวิถีชีวิตดั้งเดิม มีการทำเกษตรแบบผสมผสาน มีการทำผ้าหมักโคลนเป็นผ้าดีมีน้ำหนัก งดงามด้วยการหมักโคลนและการทอที่ซับซ้อน ชาวบ้านได้ปรับพื้นที่สำหรับกางเต็นท์ ยกแคร่ไม่ไผ่ทำเป็นที่นั่งกินข้าว ทำห้องน้ำ ส่วนที่เหลือยังคงสภาพป่าไว้ดังเดิม สันดอยแห่งนี้มีทัศนียภาพงดงาม สามารถชมพระอาทิตย์ขึ้นและตกได้ในจุดเดียวกัน โฮมสเตย์บ้านนาต้นจั่นมีประมาณ 23 หลัง แยกบ้านให้อยู่เป็น หลังหรืออยู่บ้านเดียวกับเจ้าของบ้าน ได้ดื่มด่ำไปกับธรรมชาติรอบ ที่พัก พร้อมห้องครัวอุปกรณ์ครบครัน ซื้ออาหาร ไปทำรับประทานเองสะดวกสบาย มีกิจกรรมปั่นจักรยานชมวิถีชมุชนในหมู่บ้าน ชมสวนผลไม้และท้องทุ่งพร้อมไกด์ชุมชนนำทาง ไปชมสวนผลไม้ของชาวบ้าน โปรแกรมการท่องเที่ยว : -พักโฮมสเตย์บ้านนาต้นจั่น ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมดจำนวน 23 หลัง -ปั่นจักรยานชมวิถีชมุชนในหมู่บ้าน ชมสวนผลไม้และท้องทุ่ง -ชมวิธีการทำผ้าหมักโคลน การทอผ้าด้วยมือ ผ้ายกดอก และเลือกซื้อผ้าหมักโคลนตัดสำเร็จรูป -ชมวิธีการทำตุ๊กตาบาร์โหน (บ้านตาวงศ์) -ชมหัตถกรรมตอไม้ -ชมและชิมผลไม้ตามฤดูกาล ได้แก่ ทุเรียน เงาะ ลองกอง มะม่วง มะปราง มะไฟ ลำไย -จุดชมวิว “ห้วยต้นไฮ” ชมทะเลหมอกพระอาทิตย์ -ชมและทดลองการทำข้าวเปิ๊ป อาหารท้องถิ่น จิบกาแฟในกระบอกไม้ไผ่ เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ : - อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย 30 กิโลเมตร - ร้านทองโบราณ ร้านเงินโบราณ 30 กิโลเมตร - อุทยานแห่งชาติน้ำตกป่าคา 70 กิโลเมตร - อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย (เมืองเก่าสุโขทัย) 77 กิโลเมตร - อุทยานแห่งชาติรามคำแหง 110 กิโลเมตร
สุโขทัย
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชมาเป็นเวลานาน ก่อนคำว่า “ความหลากหลายทางชีวภาพ (BIOLOAGICAL DIVERSITY)”และอนุรักษ์ (COUSERVATION) จะเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย จากการเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี พ.ศ. 2503 เมื่อเสด็จผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ทอดพระเนตรเห็น ต้นยางนาขนาดใหญ่ขึ้นเป็นจำนวนมาก ทรงมีพระราชทานให้เก็บเมล็ดพันธุ์ยางนาไปเพาะที่ตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน และนำต้นยางนาที่เพาะได้ นำมาปลูก ในสวนจิตรลดา เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ทรงมีพระราชทานพระราชดำริให้ทำการอนุรักษ์ต้นขนุนในพระบรมมหาราชวัง และได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์พรรณไม้ ในพระราชวังต่างๆ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ทรงมีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์ และขยายพันธุ์หวายรวมทั้งดำเนินการจัดสร้างสวนสมุนไพรในโครงการสวนพระองค์ ฯ สวนจิตรลดา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามพระบรมราชกุมารี ทรงสืบต่องานอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยทรงมีพระราชดำริกับท่านเลขาธิการพระราชวัง ให้มีการดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ ในเดือน มิถุนายน 2535 ซึ่งมีโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้จัดสร้างธนาคารพืชพรรณสำหรับเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อรวมทั้งการศึกษาที่มิใช่พืชเศรษฐกิจให้มีการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยนำพระราชดำริ มาเป็นกรอบในการดำเนินการ เมื่อปี พ.ศ. 2536 นายสุจินต์ ภูนิคม กำนันตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร และคณะได้ประสานงานหารือกับผู้อำนวยการบริษัทอุลตร้าโปรดักส์ จำกัด และเกษตรกรจังหวัดชุมพรในการนำพื้นที่สาธารณะประโยชน์ซึ่งตั้ง ณ หมู่ที่ 6 ตำบลสลุย (ปัจจุบัน หมู่ที่ 5,6 ตำบลสลุย และ หมู่ที่ 4 ,7 ตำบลสองพี่น้อง) เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ ซึ่งขณะนั้น โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาก็กำลังจัดหาพื้นที่เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อมาทางโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โดยศาสตราจารย์พิเศษประชิด วามานนท์ (ที่ปรึกษาโครงการส่วนพระองค์) พร้อมคณะได้เดินทางมาพบผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร (นายประยูร พรหมพันธุ์) เพื่อปรึกษาหารือในการจัดทำโครงการโดยใน ระยะ 5 ปี แรกได้ใช้ ชื่อโครงการว่า “โครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณไม้ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร” โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร จึงได้ทำโครงการเสนอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรและได้จัดส่งเอกสารโครงการไปยังผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อโปรดนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองพระบาทในโอกาสอันสมควรและทางโครงการส่วนพระองค์ได้แจ้งตอบรับ เรื่องการนำโครงการอนุรักษ์พันธุไม้และพิพัฒน์พรรณพืชฯ จังหวัดชุมพร ทราบฝ่าละอองพระบาท เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2536 และในการดำเนินโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้ผนวกโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ และพิพัฒน์พรรณพืชของจังหวัดชุมพร เข้ากับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริในส่วนกลางมีดร.พิศิษฐ์ วรอุไร เป็นประธานคณะกรรมการ และจากการประชุมกรรมการ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 ที่ประชุมมีมติเปลี่ยนชื่อโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณพืช ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร เป็นชื่อ “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร”
ชุมพร
เรือนจำชั่วคราวดอยฮาง สังกัดเรือนจำกลางเชียงราย ดำเนินการตามโครงการในพระราชดำริ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ในการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในเรือนจำ เพื่อให้ผู้ต้องขังสามารถน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปใช้ได้จริงภายหลังพ้นโทษ เป็นการสร้างกำลังใจให้กับผู้ต้องขังและยังทำให้ผู้ต้องขังได้มีโอกาสในการกลับคืนสู่สังคม โดยมีทักษะที่สามารถดำรงชีวิตที่พึ่งตนเองได้ไม่หวนกลับไปกระทำผิดอีก ในปัจจุบัน เรือนจำชั่วคราวดอยฮาง เป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เปิดให้บริการเข้าเยี่ยมชมการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ และเป็นจุด Check in ที่สำคัญของนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปที่เข้ามาใช้บริการ
เชียงราย
สวนผักครูสรรเสริญ แหล่งผลิตผักปลอดสารพิษบนเนื้อที่ 47 ไร่ เป็นต้นแบบและแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงานของเกษตรกรในพื้นที่ และผู้ศึกษาดูงานทั่วไปเป็นอย่างดี ซึ่งได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากสำนักงานเกษตรจังหวัดสระบุรี ในการส่งเสริมการผลิตผักปลอดภัย และการรวมกลุ่มเชื่อมโยงเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและเชื่อมโยงตลาดเกษตรกร
สระบุรี
บ้านซำขี้เหล็ก เดิมเป็นพื้นที่ปลูกพืชไร่ ได้แก่ ข้าวโพด มันสำปะหลัง เป็นต้น (คำว่า "ซำ" แปลได้ว่าเป็นพื้นที่ซับน้ำ หรือชำน้ำ) บุคคลที่เข้ามาบุกเบิกในระยะแรกๆ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2510-2512 เป็นชาวจังหวัดยโสธรเข้ามาจับจองที่ดินช่วงแรกยังคงปลูกข้าวโพดและมันสำปะหลัง ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2530-2535 มีชาวบ้านที่ไปประกอบอาชีพรับจ้างทางภาคตะวันออกแถวจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด ได้นำความรู้เกี่ยวกับการปลูกยางพารา ไม้ผล เช่น เงาะ ทุเรียน และไม้ผลอื่นๆ กลับมาทดลองปลูกในพื้นที่ของตนเอง ปรากฏว่ามีการเจริญเติบโตดีและให้ผลผลิตที่ดี ในส่วนของผลไม้มีรสชาติที่แตกต่างจากทางภาคตะวันออกของไทย และผลผลิตที่ออกก็ไม่ตรงกับภาคอื่นๆ ในปัจจุบันมีการขยายพี้นที่การปลูกเงาะ ทุเรียน และยางพารา ประชากรส่วนใหญ่ของบ้านซำขี้เหล็กประกอบอาชีพการเกษตร งานประเพณีที่สำคัญ ได้แก่ งานบุญเดือนสี่ ประเพณีบุญพเวส งานวันสารทลาว (ไหว้บรรพบรุษ)
ศรีสะเกษ
ภูหมากพริกเป็นป่าชุมชน ในเขตตำบลกุดชุม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร อดีตพื้นที่บนภูสวนหนึ่งเคยเป็นแหล่งทำสวนพริกจนมีสภาพทรุดโทรม ต่อมาจึงได้รับการฟื้นฟูปลูกป่าให้กลับมาเขียวขจีอีกครั้ง หลังมีการดูแลอย่างจริงจังจากสำนักสงฆ์ภูหมากพริก ซึ่งพัฒนากลายเป็นวัดภูหมากพริกในเวลาต่อมาและปัจจุบันวัดกำลังอยู่ในระหว่างสร้างพระอุโบสถครึ่งไม้ครึ่งปูนหลังใหม่ท่ามกลางความร่มรื่นของธรรมชาติ คาดว่าเมื่อเสร็จสิ้นจะมีความสวยงามอย่างมากบนวัดภูหมากพริกมีความสงบร่มเย็น เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมที่ร่มรื่น นอกจากนี้ยังมีจุดชมวิวเล็กๆ ซึ่งผู้ที่ขึ้นไปเยี่ยมชมวัดสามารถแวะไปได้อีกด้วย ทางเข้าจุดชมวิวอาจมองลำบากสักนิด สามารถสอบถามทางได้จากพระสงฆ์ภายในวัด
ยโสธร
บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยเท้าพ่อเป็นฐานการเรียนรู้เกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ ภายในบ้านเป็นสวนผสม ปลูกพืชผักเพื่อบริโภคในครอบครัว โดยยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงเป็นแนวทางการดำเนินชีวิต และครูยังเป็นต้นแบบในการปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ในถังพลาสติก จำนวน 400 ถัง และเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วจะได้ข้าวเปลือกประมาณกว่า 20 ถัง ซึ่งเพียงพอสำหรับการบริโภคภายในครอบครัวได้ทั้งปี ต่อมาได้มีชาวบ้าน และชาวต่างชาติรู้ข่าวจึงได้มาดู และขอดูถ่ายรูปเป็นจำนวนมาก และได้เป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องการทำการเกษตรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักเรียนนักศึกษาและผู้ที่สนใจอีกด้วย
ชุมพร
พบกับร้าน WISDOM CAFÉ แวะจิบกาแฟ ชิลล์ ชิลล์ เพิ่มความสดชื่นท่ามกลางบรรยากาศท้องทุ่ง แชะ แชร์ ถ่ายภาพกับมุมโปรดสุดประทับใจบนสะพานไม้ไผ่ ชมความน่ารักของสัตว์ในวิถีเกษตร สัมผัสเสน่ห์ของวิถีเกษตรไทย สะท้อนวิถีชีวิต ความเชื่อ และประเพณี กับโซนบ้านเรือนไทย 4 ภาค ตื่นตา ตื่นใจ ชมเรือขุด รข.1 เรือขุดในสมัยรัชกาลที่ 5
ปทุมธานี
สวนสวรรค์สุพรรณบุรี บนเนื้อที่หลายร้อยไร่ ประกอบไปด้วยพืชพันธุ์มากมายหลายชนิด ที่นำมาจัดแสดงให้ชมในแต่ละช่วงเวลา และเทศกาลต่างๆ ตลอดทั้งปี ทั้งไม้ดอกของไทย และต่างประเทศ สีสันสดสวยงามตระการตา และไม้ใบ ไม้ผล ที่ผ่านการค้นคว้าและทำการขยายพันธุ์ จนได้พันธุ์ที่เหมาะสมมีคุณภาพดีที่สุด เพื่อจำหน่ายจ่ายแจกให้เกษตรกรได้นำไป ทำการเพาะปลูกต่อไป
สุพรรณบุรี