คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
ศูนย์การเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรดอยฮาง โครงการกำลังใจในพระราชดำริ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา (เรือนจำชั่วคราวดอยฮาง)
ศูนย์การเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรดอยฮาง โครงการกำลังใจในพระราชดำริ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา (เรือนจำชั่วคราวดอยฮาง) ตำบลดอยฮาง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
Image
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
เปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันจันทร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันอังคาร
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพุธ
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันศุกร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันเสาร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
เรือนจำชั่วคราวดอยฮาง สังกัดเรือนจำกลางเชียงราย ดำเนินการตามโครงการในพระราชดำริ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ในการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในเรือนจำ เพื่อให้ผู้ต้องขังสามารถน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปใช้ได้จริงภายหลังพ้นโทษ เป็นการสร้างกำลังใจให้กับผู้ต้องขังและยังทำให้ผู้ต้องขังได้มีโอกาสในการกลับคืนสู่สังคม โดยมีทักษะที่สามารถดำรงชีวิตที่พึ่งตนเองได้ไม่หวนกลับไปกระทำผิดอีก ในปัจจุบัน เรือนจำชั่วคราวดอยฮาง เป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เปิดให้บริการเข้าเยี่ยมชมการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ และเป็นจุด Check in ที่สำคัญของนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปที่เข้ามาใช้บริการ
ประวัติความเป็นมา
ในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เสด็จเยี่ยมเยียนและประทานสิ่งของแก่ผู้ต้องขังหญิงและเด็กติดผู้ต้องขังหญิง ณ ทัณฑสถานหญิงกลาง กรุงเทพมหานคร การเสด็จเยี่ยมดังกล่าว ทำให้ทรงเห็นปัญหาของผู้ต้องขังหญิง ที่เมื่ออยู่ในเรือนจำแล้วก็ต้องขาดโอกาสต่างๆ ในชีวิตไป โดยเฉพาะความรักความอบอุ่นจากครอบครัว รวมทั้งทารกบริสุทธิ์ไร้ความผิดที่ถือกำเนิดขึ้นในเรือนจำจากครรภ์ของแม่ที่เป็นผู้ต้องขัง ซึ่งก็ทำให้ความขาดโอกาสชีวิตในด้านต่างๆ เกิดการตกทอดและดำเนินต่อไปอย่างซ้ำซ้อน และการขาดโอกาสต่างๆ เหล่านี้ย่อมนำมาซึ่งปัญหาต่อไปในอนาคต ปัญหาที่ทรงค้นพบนั้นได้จุดไฟพระปณิธานในการที่จะทรงช่วยเหลือและให้กำลังใจแก่ผู้ต้องขังหญิงขึ้น ทำให้ใน 5 ปีต่อมา เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาในระดับชั้นปริญญาเอก พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา จึงทรงก่อตั้งโครงการกำลังใจขึ้นในวันที่ 31 ตุลาคม 2549 ณ ทัณฑสถานหญิงกลาง กรุงเทพมหานคร โดยแรกเริ่มนั้นทรงโปรดให้วิทยาลัยพยาบาล สภากาชาดไทย เข้ามาดำเนินงานภายใต้พระดำริที่จะปรับปรุงคุณภาพชีวิตและเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ต้องขังที่ตั้งครรภ์และทารกที่เกิดในเรือนจำ และเมื่อโครงการดังกล่าวนี้ได้ขยายไปสู่เรือนจำอื่นๆ ทั่วประเทศ ระดับของการช่วยเหลือก็ขยายไปสู่การฝึกอาชีพให้กับผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำต่างๆ อันเป็นการเตรียมความพร้อมในการกลับสู่สังคมด้วย นอกจากนี้ ยังทรงเล็งเห็นว่า การประทานสิ่งของบรรเทาทุกข์นั้นยังไม่ใช่การช่วยเหลือที่ตรงจุดและยั่งยืน เนื่องจากเมื่อเวลาผ่านไปแล้วสิ่งของเหล่านั้นย่อมหมดไป จึงมีพระดำริให้มีการน้อมนำแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ มาปรับใช้ในเรือนจำ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ต้องขังรู้คุณค่าของตัวเอง พึ่งพาตนเองได้ ไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย เพื่อเมื่อออกไปจากเรือนจำแล้วจะสามารถหยัดยืนได้ด้วยตัวเองโดยไม่หันไปกระทำผิดซ้ำ ในการน้อมนำแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในเรือนจำนั้น นอกจากจะมีการอบรมทางด้านแนวทางทัศนคติที่ควรมีในการใช้ชีวิต ยังมีความพยายามทำให้เกิดการปฏิบัติอันเป็นรูปธรรมด้วยการอบรมการทำเกษตรอินทรีย์ ซึ่งต่อมาได้มีการขยายผลเพิ่มเติมเป็นโครงการพัฒนาระบบการผลิตมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สำหรับเรือนจำชั่วคราว จนกระทั่งเรือนจำนำร่องโครงการทั้ง 4 แห่งได้รับมาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 9000 เล่ม 1-2552 ส่วนพืชผักจากโครงการก็ได้ออกสู่ตลาดภายใต้แบรนด์ “Inspire กำลังใจ” และในเวลาต่อมา ผลิตภัณฑ์ชาใบหม่อนอินทรีย์ของเรือนจำชั่วคราวแคน้อย จังหวัดเพชรบูรณ์ ก็ได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตสินค้าอินทรีย์ตามมาตรฐานสากล นอกจากนี้ โครงการกำลังใจยังได้เล็งเห็นถึงปัญหาในเรื่องของทุนในการประกอบอาชีพ กล่าวคือ เมื่อผู้ต้องขังพ้นโทษมาแล้ว แม้จะมีความรู้ในการประกอบอาชีพติดตัวมาจากการอบรมในเรือนจำ แต่ก็ยังอาจเป็นการยากในการหาเงินทุนเพื่อแปรเปลี่ยนความรู้ที่ตนมีเป็นการประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนเอง จึงได้มีประชุมร่วมกับคณะกรรมการบริหาร “กองทุนตั้งตัวได้” ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2555 เพื่อร่วมกันหาแนวทางในการมอบทุนให้กับผู้ต้องขัง จากที่เดิมกองทุนดังกล่าวเน้นการให้ทุนกับผู้ที่ศึกษาในระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา หรือจบการศึกษามาไม่เกิน 5 ปี หลักสูตรกำลังใจ – ดอยฮาง Model หลักสูตรกำลังใจคือกระบวนการปลายน้ำของความพยายามในการคืนผู้ต้องขังสู่สังคม เนื่องจากตลอดเวลาที่ผ่านมานั้น แม้จะมีกระบวนการในการเตรียมความพร้อมผู้ต้องขังก่อนปล่อยตัว แต่ก็ยังมีลักษณะการเตรียมอย่าง one size fit all หรือก็คือเป็นการเตรียมการโดยไม่ได้มีการคำนึงถึงความแตกต่างของผู้ต้องขังแต่ละคนซึ่งย่อมส่งผลต่อทางเลือกในชีวิตที่แตกต่าง เช่น ปัญหาการไม่มีตลาดรองรับทักษะอาชีพที่ฝึกมาจากในเรือนจำ ไม่ว่าผู้ต้องขังจะเลือกกลับไปอยู่ในสังคมเดิมหรือพยายามเริ่มต้นชีวิตใหม่ในสังคมอื่น ซึ่งอาจกลายเป็นจุดเริ่มต้นสู่การกระทำผิดซ้ำจนต้องโทษจำคุกได้อีก ในการนี้ จึงมีการจัดตั้งโครงการนำร่อง “ศูนย์การเรียนรู้ดอยฮาง” หรือ “ดอยฮาง Model” ขึ้นที่เรือนจำชั่วคราวดอยฮาง จังหวัดเชียงราย ซึ่งพัฒนาขึ้นตามศาสตร์แห่งพระราชา “เข้าใจ-เข้าถึง-พัฒนา” มุ่งสร้างสมดุลระหว่างชีวิตกับสังคมบนหลัก 3S คือ Survival (การอยู่รอด) Sufficiency (ความพอเพียง) และ Sustainability (ความนั่งยืน) ดอยฮาง Model นั้นแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1. ปรับทุกข์-ผูกมิตร: สร้างความสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อเรียนรู้ผู้อื่นและสะท้อนตัวเอง 2. ถอดรื้อ-สร้างใหม่: สะท้อนเหตุที่นำไปสู่การใช้ยาเสพติด เสริมสร้างกำลังใจสู่ชีวิตใหม่ 3. ดูแลต่อเนื่อง: ภาคีเครือข่ายรวมทั้งบุคคลแวดล้อมร่วมกันดูแลผู้ต้องขังด้วยกัน ในดอยฮาง Model นี้ ผู้ต้องขังจะเป็น Active Learner คือไม่ใช่ผู้ที่นั่งฟังการสั่งสอนอย่างเดียว แต่คือได้เข้าสู่การเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม ทั้งนี้ สิ่งสำคัญก็คือ ต้องมีการคัดกรองผู้ต้องขังที่ปรารถนาจะได้รับประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของโครงการจริงๆ ไม่ใช่เพียงเพื่อได้ย้ายมาอยู่ในเรือนจำชั่วคราวดอยฮางที่มีความแออัดน้อยกว่าและสะดวกสบายกว่า และในส่วนของผู้คุมนั้น จะต้องไม่ทำหน้าที่ควบคุมสั่งสอน แต่คือสวมบทบาทของผู้เสริมสร้างวิธีคิดและประสานประโยชน์กับภาคีเครือข่ายภายนอก ทั้งเพื่อสามารถสร้างอาชีพที่เหมาะสมแก่ตัวผู้ต้องขัง มีตลาดรองรับ รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจให้สังคมภายนอกยอมรับและให้โอกาสในตัวผู้ต้องขังที่พ้นโทษไปแล้ว
ลักษณะเด่น
เรือนจำชั่วคราวดอยฮาง สังกัดเรือนจำกลางเชียงราย ดำเนินการตามโครงการในพระราชดำริ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ในการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในเรือนจำ เพื่อให้ผู้ต้องขังสามารถน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปใช้ได้จริงภายหลังพ้นโทษ เป็นการสร้างกำลังใจให้กับผู้ต้องขังและยังทำให้ผู้ต้องขังได้มีโอกาสในการกลับคืนสู่สังคม โดยมีทักษะที่สามารถดำรงชีวิตที่พึ่งตนเองได้ไม่หวนกลับไปกระทำผิดอีก ในปัจจุบัน เรือนจำชั่วคราวดอยฮาง เป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เปิดให้บริการเข้าเยี่ยมชมการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ และเป็นจุด Check in ที่สำคัญของนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปที่เข้ามาใช้บริการ
ที่มาข้อมูล
Thailand Tourism Directory
ข้อมูลแนะนำ
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: ไม่มีค่าใช้จ่าย
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
จุดชมวิวเนินสวรรค์ เป็นบริเวรที่ตั้งสำนักงานและแปรรูปเหมืองตะกั่ว ที่ส่งไปขายยังต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันเหมืองแร่ดังกล่าวหมดสัมปทานไปแล้ว เป็นเวลากว่าสิบปี ปัจจุบันเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ ได้ตั้งเป็นจุดตรวจสกัด และดูแลบริเวณสำนักงานเหมืองเก่า ที่ตั้งจุดตรวจนี้ เป็นพื้นที่สูงสามารถมองเห็นพื้นที่ด้านล่างได้สวยงาม หน้าหนาวจะมองเห็นเป็นทะเลหมอกในพื้นที่หมู่ที่ ๒ ทั้งหมู่บ้าน ช่วงกลางวันจะมองเห็นหมู่บ้านป่าไม้สะพานลาวที่สวยงาม รอบบริเวณจุดชมวิว สามารถเป็นที่กางเต็นท์ได้มากกว่า ๕๐ เต็นท์ ด้วยสภาพอากาศที่หนาวเย็น สามารถชมแสงเดือน แสงดาว ในยามค่ำคืนได้
กาญจนบุรี
ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี ถือเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการ ฟื้นฟูป่าชายเลนจากนากุ้งร้างเป็นแห่งแรกในประเทศไทย เดิมทีเป็นนากุ้งที่ได้รับสัมปทาน อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองเก่า – คลองคอย ตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด้วยน้ำพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินมาที่ปราณบุรี กรมป่าไม้ได้สนองพระราชดำริด้วยการยกเลิกสัมปทานนากุ้ง แล้วรวมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ พัฒนาป่าไม้ปากน้ำปราณบุรีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พร้อมเร่งฟื้นฟูป่าชายเลนและกำหนด ให้เป็นพื้นที่เป้าหมายในการปลูกป่าและพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนในเวลาต่อมา
ประจวบคีรีขันธ์
1.เป็นศูนย์เรียนรู้สวนเอเดนเกษตรอินทรีย์เศรษฐกิจพอเพียง 2.การทำแก๊สชีวภาพใช้ในครัวเรือน 3.การทำปุ๋ยอินทรีย์และการทำน้ำหมักชีภาพ 4.การใช้ควายไถนาสู่วิถีชีวิตดั้งเดิม 5.การฝายชะลอน้ำและการฟื้นฟูป่าเพื่อเป็นแหล่งน้ำ(ปลูกป่า) 6.การทำหมูหลุม ควายหลุุม ไก่ และอื่นๆ 7.การปลูกพืชผักอินทรีย์และผลไม้อินทรีย์(ผสมผสาน) 8.การประมง
เชียงราย
สวนทุเรียนในตำบลพลงตาเอี่ยม อำเภอวังจันทร์ จังกวัดระยอง
ระยอง
สนใจท่องเที่ยวชุมชน ติดต่อได้ที่ ผู้ใหญ่มัทนา ศรอารา (ผู้ใหญ่เก๋) หมายเลขโทรศัพท์ 081-8803732
กาญจนบุรี
ภูเกษตร เป็นภูเขาสูง ลานหินกว้าง น้ำตกตาดฮังในฤดูฝน มีหินเป็นรูปร่างต่าง ๆ มากมายเกิดจากธรรมชาติ และมีหน้าผาสูงชัน เป็นที่ตั้งวัดภูเกษตร (ดานหินหัวนาค)
อำนาจเจริญ
พิกัด https://goo.gl/maps/5VAeHUFWAcovFCuYA
สระบุรี
เป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบครบวงจร ภายในฟาร์มมีบริการสอนขี่ม้าเที่ยวชมธรรมชาติ ล่องแม่น้ำ อาหาร กาแฟ และที่พักใกล้ชิดธรรมชาติ
กาญจนบุรี
เป็นฟาร์มเกษตรแบบผสมผสาน มีการวางแผนและจัดระบบฟาร์มที่ดี การผลิตและใช้สารสกัดชีวภาพเพื่อป้องกันและกำจัดศัตรูพืช นอกจากนั้นยังมีการขยายพันธุ์ไม้ผลและเป็ดเทศอีกด้วย ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการศึกษาดูงาน
กำแพงเพชร
ขายอินทผลัมผลสด,แห้ง ขายต้นพันธ์(เนื้อเยื่อ) รับปลูก,ระบบน้ำอัตโนมัติ รับทำสวนทั้งระบบ
อุบลราชธานี
น้ำตก ผาสวรรค์ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ลดหลั่นกันถึง 7 ชั้น และยังคงความสมบูรณ์ตาม ธรรมชาติ ชื่อน้ำตกผาสวรรค์ เนื่องจากสายน้ำตกไหลตกลงมาจากหน้าผาสูง โดยเฉพาะชั้นสูงที่สุดมีความสูง 80 เมตร ชาวบ้านจึงเปรียบเทียบว่าน้ำตกไหลลงมาจากสวรรค์ ช่วงเวลาที่สวยงามมีน้ำมากอยู่ในช่วงหลังฤดูฝน การเดินทาง จากอำเภอทองผาภูมิใช้ทางหลวงหมายเลข 323 กาญจนบุรี-ทองผาภูมิ รวมระยะทาง 33.8 กิโลเมตร หรือจากตัวเมืองกาญจนบุรีใช้ทางหลวงหมายเลข 323 กาญจนบุรี-ทองผาภูมิ บริเวณกิโลเมตรที่ 109 เลี้ยวซ้ายผ่านบ้านสหกรณ์นิคมเข้าไป 15 กิโลเมตร และเลี้ยวขวาบริเวณทางแยกดินลูกรัง 13 กิโลเมตร รวมระยะทาง 155 กิโลเมตร หรือใช้เส้นทางเชื่อมต่อจากน้ำตกผาตาด หรือขับรถจากน้ำตกห้วยแม่ขมิ้น ผ่านเหมืองเนินสวรรค์ หมู่บ้านสะพานลาว ระยะทาง 42 กิโลเมตร ถึงทางแยกบริเวณโครงการปลูกป่า เลี้ยวซ้าย 13 กิโลเมตร ถึงที่จอดรถ เดินเท้าต่ออีก 40 นาที ถึงตัวน้ำตก เดินทางในฤดูฝนควรใช้รถยนต์ขับเคลื่อนสี่ล้อ
กาญจนบุรี
สับปะรด ไอศกรีมสับปะรด น้ำสับปะรดสด
ระยอง