คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ
พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
Image
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
เปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันจันทร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันอังคาร
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพุธ
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันศุกร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันเสาร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
พบกับร้าน WISDOM CAFÉ แวะจิบกาแฟ ชิลล์ ชิลล์ เพิ่มความสดชื่นท่ามกลางบรรยากาศท้องทุ่ง แชะ แชร์ ถ่ายภาพกับมุมโปรดสุดประทับใจบนสะพานไม้ไผ่ ชมความน่ารักของสัตว์ในวิถีเกษตร สัมผัสเสน่ห์ของวิถีเกษตรไทย สะท้อนวิถีชีวิต ความเชื่อ และประเพณี กับโซนบ้านเรือนไทย 4 ภาค ตื่นตา ตื่นใจ ชมเรือขุด รข.1 เรือขุดในสมัยรัชกาลที่ 5
ที่มาข้อมูล
Thailand Tourism Directory
ข้อมูลแนะนำ
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: ไม่มีค่าใช้จ่าย
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ จ.นครนายก การมาเที่ยวชมศูนย์ฯ แห่งนี้ไม่มีค่าใช้จ่าย เว้นแต่ว่ามากันเป็นหมู่คณะ และต้องการทำกิจกรรมต่างๆ ที่ทางศูนย์ฯ ได้จัดขึ้น ที่นี่เป็นแหล่งเรียนรู้ชั้นเลิศ ที่จะทำให้เข้าใจเรื่องราวของคำว่า "พอเพียง" และการใช้ทรัพยากรอย่างไรให้ได้ประโยชน์และรู้คุณค่ามากที่สุด การเดินเที่ยวชมที่แห่งนี้ เดินชมได้เป็นลักษณะคล้ายวงกลม โดยเริ่มจาก โซนภาคเหนือ ตื่นตาไปกับการปลูกไม้ไผ่ชนิดต่างๆ สองข้างทาง รวมทั้งความน่ารักของสะพานไม้ไผ่ บ้านที่สร้างจากไม้ไผ่ริมสระบัว และเครื่องเล่นที่ทำจากไม้ไผ่ ที่จัดแสดงแบบนี้ เป็นเพราะต้องการให้ได้รู้ว่าไม้ไผ่สามารถทำประโยชน์อะไรได้มากมาย รวมทั้งทำรางหยดน้ำ เพื่อใช้รดน้ำต้นไม้และรดดินแทนคนอีกด้วย เดินขึ้นไปตามภูเขาก้อนเล็กๆ เรียนรู้เรื่องภูเขาป่า การตะบันน้ำ คือ การที่ใช้น้ำอัดน้ำขึ้นที่สูงแทนการใช้เครื่องปั๊มน้ำ ระบบป่าเปียกกันไฟ ประโยชน์ของหญ้าแฝก และการทำฝายชะลอความชุ่มชื้น เดินต่อไปยัง โซนภาคกลาง เรียนรู้เรื่องการเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ของตัวเองอย่างคุ้มค่า เรียนรู้การสร้างบ้านดิน และเรื่องสมุนไพรนานาชนิด แล้วก็เดินไปยัง โซนภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ชมธนาคารข้าว เรียนรู้เรื่องการสีข้าว การเลี้ยงปศุสัตว์ แอบเห็นวัวตัวเบ่อเริ่มอยู่ในคอกด้วย การทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง จะได้ไม่ต้องซื้อปุ๋ยเคมี และได้เรียนรู้เรื่องการห่มดิน จากที่พื้นที่ที่ไม่มีดิน ต้องใช้วิธีห่มดิน เพื่อให้ได้ดินดีๆ กลับมาปลูกพืชผัก แต่จะทำอย่างไร อยากให้ไปเรียนรู้ด้วยตัวเองจะดีที่สุด สุดท้ายไปยัง โซนภาคใต้ ไปดูการเผาถ่านที่ทำจากไม้ไผ่ การทำน้ำมันไบโอดีเซล และเรียนรู้โครงการแก้มลิง นอกจากนี้ตลอดภายในศูนย์ฯ ฉันเห็นว่าจะมีร่องน้ำขนาดใหญ่และเล็กตลอดเส้นทาง มีสระน้ำ มีแปลงเกษตรปลูกพืชผัก มีกังหันน้ำชัยพัฒนา มีการปลูกหญ้าแฝกในน้ำ และอื่นๆ อีกมากมาย จบการเดินเที่ยวชม ที่รับสาระความรู้และความเพลิดเพลินเดินอย่างไม่รู้เหนื่อยกันไป เดินชม ตาดู หูฟังและปากถามเจ้าหน้าที่ไม่ลดละ เพียงเพราะว่าสิ่งที่เราคิดว่า ‘เรารู้' กลายเป็นสิ่งที่เราไม่เคยรู้มาก่อน นั่นเป็นเพราะความเคยชินกับโครงการต่างๆ หรือทฤษฎีต่างๆ แต่ไม่เคยปฏิบัติหรือมาสัมผัสจริง การเดินทาง : จากแยกรังสิต ไปทาง อ.องครักษ์ มุ่งหน้าไปใช้เส้นนครนายก-น้ำตกนางรอง ผ่านวังตะไคร้ ก่อนถึงน้ำตกนางรอง 2 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าโครงการเขื่อนขุนด่านปราการชล ตรงไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงวงเวียน (มีรูปปั้นช้าง) วนขวาข้ามสะพาน ถึงสี่แยกเลี้ยวขวาตรงไปอีก 200 เมตร ศูนย์ฯ จะอยู่ทางซ้ายมือ
นครนายก
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชมาเป็นเวลานาน ก่อนคำว่า “ความหลากหลายทางชีวภาพ (BIOLOAGICAL DIVERSITY)”และอนุรักษ์ (COUSERVATION) จะเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย จากการเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี พ.ศ. 2503 เมื่อเสด็จผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ทอดพระเนตรเห็น ต้นยางนาขนาดใหญ่ขึ้นเป็นจำนวนมาก ทรงมีพระราชทานให้เก็บเมล็ดพันธุ์ยางนาไปเพาะที่ตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน และนำต้นยางนาที่เพาะได้ นำมาปลูก ในสวนจิตรลดา เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ทรงมีพระราชทานพระราชดำริให้ทำการอนุรักษ์ต้นขนุนในพระบรมมหาราชวัง และได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์พรรณไม้ ในพระราชวังต่างๆ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ทรงมีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์ และขยายพันธุ์หวายรวมทั้งดำเนินการจัดสร้างสวนสมุนไพรในโครงการสวนพระองค์ ฯ สวนจิตรลดา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามพระบรมราชกุมารี ทรงสืบต่องานอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยทรงมีพระราชดำริกับท่านเลขาธิการพระราชวัง ให้มีการดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ ในเดือน มิถุนายน 2535 ซึ่งมีโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้จัดสร้างธนาคารพืชพรรณสำหรับเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อรวมทั้งการศึกษาที่มิใช่พืชเศรษฐกิจให้มีการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยนำพระราชดำริ มาเป็นกรอบในการดำเนินการ เมื่อปี พ.ศ. 2536 นายสุจินต์ ภูนิคม กำนันตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร และคณะได้ประสานงานหารือกับผู้อำนวยการบริษัทอุลตร้าโปรดักส์ จำกัด และเกษตรกรจังหวัดชุมพรในการนำพื้นที่สาธารณะประโยชน์ซึ่งตั้ง ณ หมู่ที่ 6 ตำบลสลุย (ปัจจุบัน หมู่ที่ 5,6 ตำบลสลุย และ หมู่ที่ 4 ,7 ตำบลสองพี่น้อง) เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ ซึ่งขณะนั้น โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาก็กำลังจัดหาพื้นที่เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อมาทางโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โดยศาสตราจารย์พิเศษประชิด วามานนท์ (ที่ปรึกษาโครงการส่วนพระองค์) พร้อมคณะได้เดินทางมาพบผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร (นายประยูร พรหมพันธุ์) เพื่อปรึกษาหารือในการจัดทำโครงการโดยใน ระยะ 5 ปี แรกได้ใช้ ชื่อโครงการว่า “โครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณไม้ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร” โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร จึงได้ทำโครงการเสนอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรและได้จัดส่งเอกสารโครงการไปยังผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อโปรดนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองพระบาทในโอกาสอันสมควรและทางโครงการส่วนพระองค์ได้แจ้งตอบรับ เรื่องการนำโครงการอนุรักษ์พันธุไม้และพิพัฒน์พรรณพืชฯ จังหวัดชุมพร ทราบฝ่าละอองพระบาท เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2536 และในการดำเนินโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้ผนวกโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ และพิพัฒน์พรรณพืชของจังหวัดชุมพร เข้ากับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริในส่วนกลางมีดร.พิศิษฐ์ วรอุไร เป็นประธานคณะกรรมการ และจากการประชุมกรรมการ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 ที่ประชุมมีมติเปลี่ยนชื่อโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณพืช ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร เป็นชื่อ “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร”
ชุมพร
ชมสวนผลไม้ ชิมผลไม้สดจากสวน
ระยอง
สับปะรด ไอศกรีมสับปะรด น้ำสับปะรดสด
ระยอง
พระธาตุกู่จาน ตั้งอยู่ภายในวัดบ้านกู่จานเป็นปูชนียสถานสำคัญ ประชาชนชาวเมืองยโสธรและจังหวัดใกล้เคียงต่างสักการะบูชา ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงบัวเหลี่ยมรูปทรงคล้ายพระธาตุพนมแต่มีขนาดเล็กกว่า ส่วนของฐานล่างรูปบัวคว่ำบัวหงายเตี้ยๆ รองรับฐานสูงรูปสี่เหลี่ยมเรียบต่อด้วยทรงบัวเหลี่ยม ประดับตกแต่งด้วยลวดลายประณีตสวยงามตามโบราณ และยอดพระธาตุทรงเหลี่ยมรองรับฉัตรซึ่งเป็นยอดบนสุด จากหลักฐานน่าจะสร้างขึ้นตามคตินิยมในการสร้างพระธาตุทั่วไป คือ เพื่อการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ แต่ละปีจะมีการจัดพิธีสรงน้ำเพื่อรักษาประเพณีที่ดีงามเอาไว้ ลักษณะทางสถาปัตยกรรม องค์พระธาตุกู่จาน กว้าง 5.10 เมตร สูง 15 เมตร ที่ตั้ง ตั้งอยู่ที่บ้านงิ้ว กลางลานวัดกู่จาน ตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ซึ่งดูลักษณะแล้วคล้ายคลึงกับองค์พระธาตุพนม ต่างกันเพียงขนาดซึ่งพระธาตุกู่จานมี ขนาดเล็กกว่า ความสำคัญต่อชุมชน : เป็นที่สักการะของชาวเมืองยโสธรและจังหวัดใกล้เคียง ทุกๆ ปี ชาวตำบลกู่จานจะนำน้ำอบ น้ำหอมไป ทำพิธีสรงน้ำพระธาตุในช่วงเช้าของวัน เพ็ญ เดือน 6 ตอนบ่ายจะไปทำพิธีสรงน้ำ "กู่" หลังจากนั้นจะพากันไปที่หนองสระพัง เพื่อนำน้ำที่หนองสระพังมาทำพิธี สรงน้ำพระธาตุและใบเสมา ซึ่งพิธีกรรมดังกล่าวนี้ ต้องกระทำเป็นประจำทุกปี มีความเชื่อว่าหากไม่ทำพิธีดังกล่าวแล้วจะทำให้ ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ชาวบ้านกู่จานจึงได้ถือปฏิบัติพิธีนี้เป็นประจำ
ยโสธร
สวนที่ 1 สวนสละเฮียถึก สำหรับผู้ที่ชอบทานสละ มาที่นี้รับรองจะติดใจในรสชาติและอัธยาศัยที่น่ารักเป็นกันเองของเจ้าของสวน สวนสละเฮียถึกให้บริการชมสวน ชมวิถีชีวิตชาวสาน และชิมผลไม้ มีผลไม้สดไว้ให้ซื้อหากลับบ้านกันด้วย กิจกรรม : กินผลไม้ (400บาท/คน)ชมสวน เรียนรู้การทำสวนสละ จำหน่ายผลไม้สด สวนที่ 2 สวนอิสรีย์ฟาร์มม้าไทย เหมาะทั้งแบบครอบครัว มาเป็นกลุ่มเพื่อนฝูง หรือต้องการส่วนตัว กิจกรรม - เรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ - การขี่ม้าชมสวนผลไม้ - นั่งรถรางชมสวนผลไม้ - จุดเรียนรู้การทำสบู่ - อาชาบำบัด - สาธิตการแปรรูปทุเรียนชิมทุเรียนหนุบหนับ เค้ก - กินผลไม้ ท่านละ 400 บาท - ที่พักโฮมสเตย์ สวนที่ 3 สวนวดี กิจกรรม - ชมสวน - กินผลไม้ ท่านละ 400 บาท - จำหน่ายผลไม้สด สวนที่ 4 สวนอรุณบูรพา ที่นี้ให้บริการชมสวย ชิมผลไม้ และซื้อผลผลิตกลับบ้าน ออกมาแวะเที่ยววัดเขาสุกิมชมความงดงามของพิพิธภัณฑ์วัดเขาสุกิม กิจกรรม - ปั่นจักรยานชมสวน - เรียนรู้วิธีการแปรรูปผลไม้ เช่น ทุเรียนทอด แครกเกอร์ทุเรียน- เรียนรู้วิธีการปลูกและการดูแลสวนทุเรียน - กินผลไม้ (400 บาทต่อคน ) สวนที่ 5 สวนรินรดี กิจกรรม - มีที่พักระดับโรงแรม จำนวน 3 ห้อง พร้อมอาหารเช้า รับได้ 10 ท่าน ( มีห้องสำหรับ 2 คน 1ห้อง และสำหรับ4 ท่าน 2 ห้อง) - มีบริการ wifi - มีระบบความปลอดภัย มีกล้องวงจรปิด - มีกิจกรรมเที่ยว ชม ชิม ทานผลไม้ อิ่มไม่อั้น เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง - มีรถพาไปผจญภัยในสวนผลไม้ ไปดูทุเรียนพันธุ์อีหนัก ดูต้นสาละ และเดินเล่นในสวนผลไม้ - มีสนามเด็กเล่น ชิงช้า ม้าหมุน สะพานโค้ง - มีห้องน้ำ หญิง ชาย และคนพิการ - บนจุดชมวิว สามารถมองเห็น เขาคิชกูฎ เขาสุกิม เขาแกลบ เขาลูกช้าง - มาดูกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้า - มีผลไม้และผักในสวนจำหน่าย เช่น เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง ในราคาถูก โปรแกรมการท่องเที่ยว เที่ยวชมสวน ไม่ทานผลไม้ ท่านละ 50 บาท เที่ยวชมสวน ทานผลไม้ ท่านละ 400 บาท ที่พัก รวมอาหารเช้า  สำหรับ 2 ท่าน ราคา 990 บาท  สำหรับ 4 ท่านราคา 1,990 บาท  ท่านที่มาพักและทานผลไม้จะเหลือเพียงท่านละ 350 บาท จากราคา 400 บาท ปฏิทินท่องเที่ยว ที่พัก เที่ยวชมสวน = ทั้งปี เที่ยวชมสวน/ทานผลไม้ = ปลายเมษา- ปลายกรกฎา หรือจนกว่าผลไม้จะหมด สินค้า ทุเรียนทอดกรอบ ทุเรียนกวน พริกไทย ผลไม้สด เงาะ มังคุด ลองกอง ทุเรียน เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ (พร้อมระยะทาง/กม.) -  วัดเขาสุกิม  ระยะทาง 8 กิโลเมตร - หาดเจ้าหลาว อำเภอท่าใหม่ ระยะทาง 25  กิโลเมตร - น้ำตกกระทิง อำเภอเขาคิชฌกูฏ  ระยะทาง 20 กิโลเมตร - ศาลหลักเมือง   ระยะทาง 20 กิโลเมตร -  ตลาดชุมชนริมน้ำ ระยะทาง 20  กิโลเมตร -  อู่ต่อเรือเสม็ดงาม ระยะทาง 25  กิโลเมตร -  ท่องเที่ยวเชิงเกษตรเชาบายศรี ระยะทาง 15 กิโลเมตร สินค้าวิสาหกิจชุมชนในชุมชน - ผลไม้สดตามฤดูกาล - ทุเรียนทอด - ทุเรียนกวน - แครกเกอร์ทุเรียน - พริกไทย - เค้กทุเรียน
จันทบุรี
สวนผลไม้ตามฤดูกาล ทุเรียนหอม เงาะหวาน มังคุดอร่อย ราคาจับต้องได้ ใส่ใจทุกการปลูก ส่งตรงถึงมือลูกค้า
สระบุรี
สวนท่องเที่ยว ทุเรียนผลสดสินค้าแปรรูป
ระยอง
แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ที่พัก อาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร มีสวนสตรอเบอร์รี่ให้นักท่องเที่ยวได้ มีการจัดกิจกรรมท่องเที่ยงให้นักท่องเที่ยวได้เลือก ห้องพักคืนละ 1000 ห้องพัดลม มีชุดอาหารเช้าข้าวเหนียว + หมู + แจ่วอีสาน คนละ 100 บาท สตรอเบอร์รี่ กิโลละ 300 บาท
ขอนแก่น
1. สวนมณีทิพ สวนผลไม้ผสมผสาน เช่น ขนุน ส้มโอ ทุรียน ฯลฯ ที่อยู่ 784/3 หมู่ที่ 7 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 081-2803176 2. สวนศรปัก ดอกหน้าวัว ไม้ดอก ไม้ประดับ ที่อยู่ 255 หมู่ที่ 10 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 081-9727449 3. ต้นพระศรีมหาโพธิ์ วัดไผ่ใหญ่ไพรญาราม ที่ตั้ง หมู่ที่ 10 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง 4.น้ำตกไผ่สีทอง ที่ตั้ง หมู่ที่ 13 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง 5. ฟาร์มกวางแดง RED DEER FARM เลี้ยงกวางดาว กวางรูซ่า และกวางแดง พร้อมจำหน่ายเนื้อกวาง และผลิตภัณฑ์จากกวาง ที่อยู่ 568/3 หมู่ที่ 10 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 095-5322207 6.สวนเกษตรไพบูลย์ ศูนย์เรียนรู้การเกษตร ไม้ผลผสมผสาน เช่น มะขามเปรี้ยวยักษ์ มะม่วง มะยงชิด อินทผลัม ฯลฯ และที่พัก ที่อยู่ 3/1 หมู่ที่ 9 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 089-6421461 087-3109216 7. สวนโพธิ์ทอง สวนผลไม้ผสมผสาน เช่น ลำไย ขนุน มะม่วง มะนาว ฯลฯ และจำหน่ายพันธุ์ไม้ผล ที่อยู่ 284 หมู่ที่ 9 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 089-0112741 8.กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรซำตะเคียน ผลิตภัณฑ์แปรรูปผลผลิตการเกษตร ไม้ผล พืชผัก ที่พัก และอาหาร ที่อยู่ 285/1 หมู่ที่ 9 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 081-4744310 9. สมพลการ์เดนท์ สวนผลไม้ผสมผสาน เช่น มังคุด เงาะ ลำไย มะไฟ ฯลฯ ที่อยู่ 304 หมู่ที่ 9 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 081-1359777 10. ภักดีฟาร์ม เลี้ยงกวาง พร้อมจำหน่ายเนื้อ และผลิตภัณฑ์จากกวาง ที่อยู่ หมู่ที่ 9 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 081-8452993 11. บ่อคาการ์เดนท์ ผักปลอดภัยจากสารพิษ ที่อยู่ 148 หมู่ที่ 9 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 094-6265551 12. บ้านและสวนพูพูน สวนมะยงชิด ที่พักและอาหาร ที่อยู่ 43/2 หมู่ที่ 9 ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง โทร. 081-9737839 13. สวนหลงรักไทย สวนทุเรียนหลงรักไทย พร้อมจำหน่ายกิ่งพันธุ์ ที่อยู่ 10/2 หมู่ที่ 9 ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง โทร. 083-3333316 14. สวนพงษ์แตง สวนลำไย ที่พัก และอาหาร ที่อยู่ 437 หมู่ที่ 7 ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง โทร. 081-9917073 โปรแกรมการท่องเที่ยว : 2 วัน 1 คืน เยี่ยมชมและชิมผลไม้ตามฤดูกาล รสเด็ด หวาน หอม สด ๆ จากสวนของสมาชิกกลุ่ม เพลิดเพลินกับการ “ชมพระอาทิตย์ตกดิน” ที่มีคำล่ำลือว่าสวยที่สุด ณ บ้านชำตาเจียม Check-in เข้าสู่ที่พักแบบ “บ้านพักในสวน” สัมผัสวิถีชีวิตชาวสวน พร้อมชมศูนย์การเรียนรู้บัวสวรรค์ หมู่ที่ 10 บ้านวังนกแอ่น รับประทานอาหารเย็นทีบ้านซำตาเจียม ชม พร้อม“พญาหิ่งห้อย” ที่พร้อมเรืองแสงต้อนรับทุกท่าน พักผ่อนตามอัธยาศัย รับประทานอาหารเช้าที่ที่พัก เยี่ยมชมวิธีการเลี้ยงกวางของคนท้องถิ่น “ฟาร์มกวาง” , เดินศึกษาเส้นทางธรรมชาติพร้อมเล่นน้ำที่ “น้ำตกไผ่สีทอง” และชมวิธีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรที่บ้านซำตะเคียน พร้อมซื้อของฝากจากชาวสวน เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ : -ห่างจากน้ำตกไผ่สีทอง ระยะทาง 5 กม. -ห่างจากทุ่งโนนสน ระยะทาง 20 กม.
พิษณุโลก
สวนจะติดกับคลองชลประทาน ซึ่งจะมีลมพัดเย็นตลอดเวลา ภายในสวนบรรยากาศร่มรื่น มีการจัดเส้นทางเดินชมสวน และมีซุ้มสำหรับให้นักท่องเที่ยวได้นั่งพักผ่อน รับประทานผลไม้ในสวนนานาชนิด โดยเอกลักษณ์ที่สำคัญของสวนผู้ใหญ่สมควรคือ ต้นมังคุด 100 ปี จะมีขนาดลำต้นที่ใหญ่ สูง และมีลักษณะเป็นพุ่มสวยงาม ซึ่งลักษณะเด่นของมังคุด 100 ปี คือ จะมีเปลือกบาง หวานอร่อยกว่ามังคุดทั่วไป โดยลูกจะมีขนาดไม่ใหญ่มากนักและผิวพรรณจะไม่นวลเนียนเท่าที่ควร แต่มีรสชาติอร่อย
ระยอง
โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้ ตั้งอยู่ที่อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร มีประวัติเล่าสืบกันมาว่าในปี ค.ศ.1908 มีผู้หนีตายอพยพจากที่ต่าง ๆ กัน เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้รวม 5 ครอบครัว ซึ่งหนีมาด้วยสาเหตุเดียวกัน คือ ถูกกล่าวหาว่าเป็นผีปอบ ชาวบ้านในหมู่บ้านจึงรุมทำร้ายและขับไล่ เป็นโบสถ์หลังที่ 4 วางแผนก่อสร้างปี ค.ศ. 1936 ชาวบ้านพากันรวบรวมไม้ ลงมือสร้างปี ค.ศ. 1947 ตัวโบสถ์รูปทรงที่สร้างขึ้นมีลักษณะแบบศิลปะไทย กว้าง 16 เมตร ยาว 57 เมตร จัดเป็นโบสถ์ไม้ที่ใหญ่ที่สุด ในประเทศไทย ใช้แผ่นไม้เป็นแป้นมุง หลังคา 80,000 แผ่น ใช้เสาขนาดต่างๆกันถึง 360 ต้น ส่วนใหญ่เป็นเสาไม้เต็ง เสาในแถวกลางมีขนาดใหญ่ยาวที่สุดมี 260 ต้น สูงจากพื้นดินกว่า 10 เมตร พื้นแผ่นกระดานเป็นไม้แดงและไม้ตะเคียนขนาดใหญ่ ม้านั่งไม้จุคนได้กว่าพันคน ระฆังโบสถ์มีเส้นผ่าศูนย์กลางเกือบ 2 ฟุต อยู่ในหอระฆังสูงที่สร้างแบบหอระฆังตามวัดไทยทั่วไป แต่แปลกตรงที่แยกต่างหากจากโบสถ์ และเนื่องจากไม้ที่ได้รวบรวมมามีจำนวนมาก จึงได้นำไม้ที่เหลือมาสร้างโรงเรียนบ้านซ่งแย้พิทยา ข้อมูลและรูปภาพจากเว็บไซต์ : http://www.yasothon.go.th/web/file/menu4.html
ยโสธร