คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
กุดกะเหลิบ
- หมู่3 ตำบลหนองหิน อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร 35000
Image
สภาพอากาศวันนี้
เปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันจันทร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันอังคาร
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพุธ
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันศุกร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันเสาร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
กุดกะเหลิบ แหล่งน้ำขนาดใหญ่ กุดกะเหลิบเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ น้ำใสมองเห็นตัวปลา อยู่ในเขตตำบลหนองเป็ดและตำบลหนองหิน เดิมเป็นเพียงแหล่งน้ำที่ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ในการทำเกษตรกรรม และจับสัตว์น้ำ้เพื่อเลี้ยงชีพเท่านั้น แต่ปัจจุบันจังหวัดยโสธร ได้พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว และพักผ่อนหย่อนใจ โดยการปรับภูมิทัศน์ให้สวยงาม เป็นที่จัดงานสงกรานต์ของจังหวัดทุกปี มีประชาชนได้มาเที่ยวชมและพักผ่อนอยู่เสมอในวันหยุด การเดินทางมาเที่ยว กุดกะเหลิบที่สะดวก คือเริ่มจากถนนยโสธร -อำนาจเจริญ กิโลเมตรที่ 14 (บ้านคำเกิด สังเกตจะมีแตงโมขายตามข้างทาง) เลี้ยวซ้ายเข้าสู่บ้านหนองหงอก ไปบ้านหนองบก -บ้านโนนสวาท ก็จะถึงกุดกะเหลิบ ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร
ลักษณะเด่น
กุดกะเหลิบ เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดยโสธร ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวและประชาชนในพื้นที่ ได้ใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจอยู่เสมอๆ ประวัติกุดกะเหลิบ ชื่อเดิม 1. กุดกะเดิบ 2. กุดแตกเขิบ 3. กุดกะเหลิบ พื้นที่บริเวณกุดกะเหลิบ 18,750 ไร่ 1. สาเหตุที่ได้ชื่อว่ากุดกะเดิบ เพราะในกาลครั้งนั้นป่าดงพงพีอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้ต่างๆ นายพรานคนหนึ่งชื่อนายสา พร้อมด้วยทีมงานอีก ได้ออกล่ากวางหนุ่มตัวหนึ่งจากทางทิศใต้กุดกะเหลิบ พรานสาได้ยิงกวางแต่ไม่ถูกกวางหนีตายวิ่งไปทางทิศเหนือ โดยผ่านกุดกะเหลิบไปทางทิศเหนือคือที่ตั้งบ้านโนนค้อ พรานสาเลยสั่งให้พรานอีก 4 คน ไปดักรอทางทิศเหนือ นายพรานสามองเห็นกวางวิ่งผ่านหนองน้ำ กะเดิบกะเดิบไปแล้ว เลยร้องตะโกนบอกเพื่อนนายพรานว่า วิ่งกะเดิบกะเดิบไปแล้ว คนรุ่นต่อมาเลยเรียกแหล่งน้ำแห่งนี้ว่า กุดกะเดิบมาจากกวางวิ่ง 2. สาเหตุที่ได้ช่อว่า กุดแตกเขิบ เพราะนายทาได้ตั้งหมู่บ้านอยู่ทางทิศใต้ของกุดกะเหลิบได้ทำนาอยู่ในที่หนองพอหน้าแล้งน้ำแห้งหมดดินก็แตกเป็นแผ่นๆ คนบริเวณบ้านดงมัน ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้หนองแห่งนี้ ได้ใช้เสียมหรือท่อนไม้งัดเอาแล้วเก็บเอาเขียดหรือกบมาเป็นอาหารคนรุ่นต่อมาเลยเรียกว่ากุดแตกเขิบ 3. กุดกะเหลิบสาเหตุที่ได้ชื่อว่า กุดกะเหลิบนายทาซึ่งเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถหาหยูกยามารักษาโรคเรื้อน(ขี้ทูต) ชาวบ้านดงมันเกิดล้มตามกันมากเข้ามากเข้า นายมัง พันธ์ดวงก็เลยพาเพื่อนๆ อพยพมาตั้งบ้านใหม่ที่บ้านโนนค้อปัจจุบัน นายมัย นายทา มาตั้งที่บ้านโนนค้อเห็นว่าเป็นโนนบ้านที่สูง ซึ่งปลอดภัยจากภาวะน้ำท่วม อีกส่วนหนึ่งก็ขยายไปทางบ้านโนนสวาทปัจจุบัน
ที่มาข้อมูล
Thailand Tourism Directory
ข้อมูลแนะนำ
การเดินทาง
• รถยนต์
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: ไม่มีค่าใช้จ่าย
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
กินทุเรียนสดๆ ใหม่ๆในสวน ที่สวนทุเรียนจันทบุรี ป้าอิ๊ดวิถีธรรมชาติ เราพร้อมมอบประสปการณ์การกินทุเรียนที่แตกต่าง จากที่คุณเคยสัมผัสมา สวนทุเรียนจันทบุรี ป้าอิ๊ด เริ่มปลูกอย่างเป็นทางการ เมื่ิอเดือน กรกฏาคม 2563 ภายใต้แนวคิดทุเรียนที่ใช้สารเคมีน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ #สวนทุเรียนจันทบุรี ด้วยสภาพภูมิประเทศ ดินปนทราย จึงทำให้น้ำไม่ขัง เนื้อทุเรียน จึง มีความแห้ง+มัน อร่อยและมีความแตกต่างอย่างชัดเจน หน้าที่ของคุณคือ "มีความสุขกับการกินทุเรียน" ที่เหลือ คือหน้าที่เรา สวนทุเรียนจันทบุรี
จันทบุรี
เป็นพื้นที่รอยต่ออุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ทำให้พื้นที่บริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ และชาวบ้านที่นี่ทำสวนผลไม้ตามฤดูกาล เหมาะกับการท่องเที่ยวด้านธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีต้นไม้ขุดล้อม ขายกล้าพันธ์ไม้ และมีลานกางเต้น
สระบุรี
วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตชาเขียวใบหม่อนถ้ำมังกรทอง ศูนย์ผลิตชาเขียว และปลูกหม่อนอินทรีย์เพื่อส่งออก ของชุมชนถ้ำมังกรทองในจังหวัดกาญจนบุรี
กาญจนบุรี
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงการเกษตร บริเวณภายในมีการตกแต่งและจัดสวนไว้อย่างสวยงาม เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวในการเข้าไปเที่ยวชมการเพาะปลูกพืชพรรณ ไม้ดอกเมืองหนาวต่างๆ มากมาย เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็น โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวที่จะมีนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากมายขึ้นไปเที่ยวดอยอ่างขางและมักจะแวะเข้าไปท่องเที่ยวยังศูนย์เกษตรฯ แห่งนี้ด้วย
เชียงใหม่
สวนทุเรียนในตำบลพลงตาเอี่ยม อำเภอวังจันทร์ จังกวัดระยอง
ระยอง
สวนจะติดกับคลองชลประทาน ซึ่งจะมีลมพัดเย็นตลอดเวลา ภายในสวนบรรยากาศร่มรื่น มีการจัดเส้นทางเดินชมสวน และมีซุ้มสำหรับให้นักท่องเที่ยวได้นั่งพักผ่อน รับประทานผลไม้ในสวนนานาชนิด โดยเอกลักษณ์ที่สำคัญของสวนผู้ใหญ่สมควรคือ ต้นมังคุด 100 ปี จะมีขนาดลำต้นที่ใหญ่ สูง และมีลักษณะเป็นพุ่มสวยงาม ซึ่งลักษณะเด่นของมังคุด 100 ปี คือ จะมีเปลือกบาง หวานอร่อยกว่ามังคุดทั่วไป โดยลูกจะมีขนาดไม่ใหญ่มากนักและผิวพรรณจะไม่นวลเนียนเท่าที่ควร แต่มีรสชาติอร่อย
ระยอง
พระธาตุกู่จาน ตั้งอยู่ภายในวัดบ้านกู่จานเป็นปูชนียสถานสำคัญ ประชาชนชาวเมืองยโสธรและจังหวัดใกล้เคียงต่างสักการะบูชา ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงบัวเหลี่ยมรูปทรงคล้ายพระธาตุพนมแต่มีขนาดเล็กกว่า ส่วนของฐานล่างรูปบัวคว่ำบัวหงายเตี้ยๆ รองรับฐานสูงรูปสี่เหลี่ยมเรียบต่อด้วยทรงบัวเหลี่ยม ประดับตกแต่งด้วยลวดลายประณีตสวยงามตามโบราณ และยอดพระธาตุทรงเหลี่ยมรองรับฉัตรซึ่งเป็นยอดบนสุด จากหลักฐานน่าจะสร้างขึ้นตามคตินิยมในการสร้างพระธาตุทั่วไป คือ เพื่อการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ แต่ละปีจะมีการจัดพิธีสรงน้ำเพื่อรักษาประเพณีที่ดีงามเอาไว้ ลักษณะทางสถาปัตยกรรม องค์พระธาตุกู่จาน กว้าง 5.10 เมตร สูง 15 เมตร ที่ตั้ง ตั้งอยู่ที่บ้านงิ้ว กลางลานวัดกู่จาน ตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ซึ่งดูลักษณะแล้วคล้ายคลึงกับองค์พระธาตุพนม ต่างกันเพียงขนาดซึ่งพระธาตุกู่จานมี ขนาดเล็กกว่า ความสำคัญต่อชุมชน : เป็นที่สักการะของชาวเมืองยโสธรและจังหวัดใกล้เคียง ทุกๆ ปี ชาวตำบลกู่จานจะนำน้ำอบ น้ำหอมไป ทำพิธีสรงน้ำพระธาตุในช่วงเช้าของวัน เพ็ญ เดือน 6 ตอนบ่ายจะไปทำพิธีสรงน้ำ "กู่" หลังจากนั้นจะพากันไปที่หนองสระพัง เพื่อนำน้ำที่หนองสระพังมาทำพิธี สรงน้ำพระธาตุและใบเสมา ซึ่งพิธีกรรมดังกล่าวนี้ ต้องกระทำเป็นประจำทุกปี มีความเชื่อว่าหากไม่ทำพิธีดังกล่าวแล้วจะทำให้ ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ชาวบ้านกู่จานจึงได้ถือปฏิบัติพิธีนี้เป็นประจำ
ยโสธร
-ชม ชิม ช็อป สินค้าชุมชนตลาดน้ำท่าคา (ตลาดน้ำมีทุกวันเสาร์ อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ และทุกวันขึ้นและแรม 2 ค่ำ 7 ค่ำ และ 12 ค่ำ) -ลงเรือพายชมธรรมชาติริมฝั่งคลอง ไปตามเส้นทางเสด็จประพาสต้น ร.5 ณ บ้านกำนันจัน เป็นบ้านเรือนไทยเก่าแก่ (จองก่อนเข้าชมบ้านกำนันจัน) -เยี่ยมชมกิจกรรมชุมชน ร่วมทำกิจกรรมตามฐานการเรียนรู้ต่างๆของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ตลาดน้ำท่าคาจากเรื่องราวของมะพร้าว ชมภูมิปัญญาการทำน้ำตาลมะพร้าว ได้แก่ - การขึ้นเก็บน้ำตาลมะพร้าวจากต้น - การเคี่ยวน้ำตาลมะพร้าวแบบโบราณ - เติมความหวาน เรียนรู้การทำขนมโบราณจากน้ำตาลมะพร้าวท่าคา - การจักสานก้านมะพร้าว ภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนท่าคา - การจักสานทางมะพร้าวสด นำมาสานเป็นหมวก ตะกร้า ฯลฯ - เรือดุ๊กดิ๊กจากกาบมะพร้าว
สมุทรสงคราม
เรียนรู้การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ และจำหน่ายผักไฮโดรโปนิกส์
ระยอง
สวนมังคุดไทย (สวนคุณปัญญา) มีต้นมังคุดกว่า 300 ต้น และผลไม้อื่นๆ เช่น เงาะ ทุเรียน แก้วมังกร เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและสามารถมาชิมบุฟเฟ่ต์ผลไม้ได้ท่านละ 150 บาท และมีบริการที่พักแบบโฮมสเตย์
ระยอง
ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี ถือเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการ ฟื้นฟูป่าชายเลนจากนากุ้งร้างเป็นแห่งแรกในประเทศไทย เดิมทีเป็นนากุ้งที่ได้รับสัมปทาน อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองเก่า – คลองคอย ตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด้วยน้ำพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินมาที่ปราณบุรี กรมป่าไม้ได้สนองพระราชดำริด้วยการยกเลิกสัมปทานนากุ้ง แล้วรวมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ พัฒนาป่าไม้ปากน้ำปราณบุรีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พร้อมเร่งฟื้นฟูป่าชายเลนและกำหนด ให้เป็นพื้นที่เป้าหมายในการปลูกป่าและพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนในเวลาต่อมา
ประจวบคีรีขันธ์
...ชิมชา......ชาผักเชียงดาที่ผลิตภายในศูนย์ฯ ...ชมสวน...ชมแปลงเรียนรู้การเกษตรด้าน ไม้ดอก-ไม้ประดับ,ไม้ผล-ไม้ยืนต้น,เศรษฐกิจพอเพียง,พืชผักและสมุนไพร,แมลงเศรษฐกิจ,ฝายชะลอน้ำ,แปลงรวบรวมพันธุ์ไม้หายาก,จุดเช็คอินธรรมชาติ,เส้นทางเดินชมธรรมชาติ,ชมตาน้ำ,ดูนกท้องถิ่น...ฯลฯ ...ชวนช้อป...สินค้าผลผลิตทางการเกษตรของกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรที่บริเวณจุดจำหน่ายด้านหน้าศูนย์ฯ โปรแกรมการท่องเที่ยว : ทริปเที่ยว ๑ วันภายในศูนย์ฯ ทริปเที่ยว ๒ วัน ๑ คืน..พร้อมท่องเที่ยวแหล่งอื่นๆที่ใกล้เคียง เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ: '- บ้านไทลื้อบ้านลวงใต้ ระยะทางก่อนถึงศูนย์ฯ ๗ กม. - วัดศรีมุงเมือง ระยะทางก่อนถึงศูนย์ฯ ๗ กม. - วัดพระธาตุดอยสะเก็ด ระยะทางก่อนถึงศูนย์ฯ ๗ กม. - หนองบัวพระเจ้าหลวง ระยะทางก่อนถึงศูนย์ฯ ๕ กม. สะพานแขวนเขื่อนแม่กวงอุดมธารา ระยะทางก่อนถึงศูนย์ฯ ๑๐กม. - น้ำพุร้อนดอยสะเก็ด ระยะทางจากศูนย์ฯ ๙ กม. - ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ระยะทางจากศูนย์ฯประมาณ ๔ กม. - โครงการพระราชดำริฯศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตรแปลงสาธิต๘๕ไร่ ระยะทางจากศูนย์ฯถึงประมาณ ๗ กม.
เชียงใหม่