คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
พระธาตุกู่จาน
- ตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร 35110
Image
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
เปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 06:00 น. - 18:00 น.
• วันจันทร์
: 06:00 น. - 18:00 น.
• วันอังคาร
: 06:00 น. - 18:00 น.
• วันพุธ
: 06:00 น. - 18:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 06:00 น. - 18:00 น.
• วันศุกร์
: 06:00 น. - 18:00 น.
• วันเสาร์
: 06:00 น. - 18:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
พระธาตุกู่จาน ตั้งอยู่ภายในวัดบ้านกู่จานเป็นปูชนียสถานสำคัญ ประชาชนชาวเมืองยโสธรและจังหวัดใกล้เคียงต่างสักการะบูชา ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงบัวเหลี่ยมรูปทรงคล้ายพระธาตุพนมแต่มีขนาดเล็กกว่า ส่วนของฐานล่างรูปบัวคว่ำบัวหงายเตี้ยๆ รองรับฐานสูงรูปสี่เหลี่ยมเรียบต่อด้วยทรงบัวเหลี่ยม ประดับตกแต่งด้วยลวดลายประณีตสวยงามตามโบราณ และยอดพระธาตุทรงเหลี่ยมรองรับฉัตรซึ่งเป็นยอดบนสุด จากหลักฐานน่าจะสร้างขึ้นตามคตินิยมในการสร้างพระธาตุทั่วไป คือ เพื่อการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ แต่ละปีจะมีการจัดพิธีสรงน้ำเพื่อรักษาประเพณีที่ดีงามเอาไว้

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม องค์พระธาตุกู่จาน กว้าง 5.10 เมตร สูง 15 เมตร ที่ตั้ง ตั้งอยู่ที่บ้านงิ้ว กลางลานวัดกู่จาน ตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ซึ่งดูลักษณะแล้วคล้ายคลึงกับองค์พระธาตุพนม ต่างกันเพียงขนาดซึ่งพระธาตุกู่จานมี ขนาดเล็กกว่า

ความสำคัญต่อชุมชน : เป็นที่สักการะของชาวเมืองยโสธรและจังหวัดใกล้เคียง ทุกๆ ปี ชาวตำบลกู่จานจะนำน้ำอบ น้ำหอมไป ทำพิธีสรงน้ำพระธาตุในช่วงเช้าของวัน เพ็ญ เดือน 6 ตอนบ่ายจะไปทำพิธีสรงน้ำ "กู่" หลังจากนั้นจะพากันไปที่หนองสระพัง เพื่อนำน้ำที่หนองสระพังมาทำพิธี สรงน้ำพระธาตุและใบเสมา ซึ่งพิธีกรรมดังกล่าวนี้ ต้องกระทำเป็นประจำทุกปี มีความเชื่อว่าหากไม่ทำพิธีดังกล่าวแล้วจะทำให้ ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ชาวบ้านกู่จานจึงได้ถือปฏิบัติพิธีนี้เป็นประจำ
ประวัติความเป็นมา
เมื่อพุทธศักราช 7 หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้วเป็นเวลา 7 ปี พระมหากัสสปะได้นำพระบรมสารีริกธาตุลงแจกจ่ายในดินแดนแถบนี้ กลุ่มที่ได้มาคือพระยาคำแดงซึ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายเหนือ ด้านกลุ่มพระยาพุทธซึ่งเป็นผู้มีอำนาจทางฝ่ายใต้ไม่ได้รับพระบรมสารีริกธาตุ จึงได้เดินทางไปขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุจากพระยาคำแดง พระยาคำแดงไม่อยากให้ ทำเป็นพูดจาบ่ายเบี่ยง โดยท้าแข่งก่อสร้างพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระสารีริกธาตุว่าใครจะเสร็จก่อน หากใครแพ้ต้องยอมเป็นเมืองขึ้นของกันและกัน แต่มีข้อแม้อยู่ว่าในการก่อสร้างเจดีย์ครั้งนี้ต้องใช้คนอย่างมากไม่เกิน 6 คน เมื่อทั้งสองฝ่ายตกลงกันแล้ว พระยาพุทธก็เดินทางกลับมาประชุมเจ้าเมืองฝ่ายใต้เพื่อทำการก่อสร้างพระธาตุกู่จานและได้คัดเลือกเอาแต่คนสนิทที่มีฝีมือ ได้แก่ พระยาพุทธ พระยาเขียว พระยาธรรม พระยาคำ พระยาแดง และพระยาคำใบ กลุ่มของพระยาพุทธทำการก่อสร้างพระเจดีย์ไปได้ครึ่งหนึ่งแล้วแต่เกรงว่าเมื่อสร้างเสร็จแล้วพระยาคำแดงจะไม่ยอมแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้ตามที่ได้ตกลงกันไว้และกลัวจะแพ้พระยาคำแดง จึงได้ยกกองกำลังขึ้นไปแย่งชิงเอาพระบรมสารีริกธาตุมาไว้ก่อนแล้วค่อยสร้างต่อไปจนเสร็จ แต่พระยาคำแดงได้วางมาตรการคุ้มกันอย่างเข้มแข็ง ทั้ง 6 คนบุกเข้ารบอย่างดุเดือดแต่ก็ไม่สามารถโจมตีเข้าไปถึงที่เก็บรักษาพระบรมสารีริกธาตุได้ เนื่องจากมีกำลังน้อยกว่าและพระยาคำได้เสียชีวิต เป็นอันว่าผู้สร้างพระธาตุกู่จานเหลือเพียง 5 คน เมื่อเห็นว่ามีกำลังน้อยกว่าคงสู้ต่อไปไม่ได้จึงยกทัพกลับ เมื่อกลับมาถึงก็ได้ทำการคัดเลือกผู้ที่มีฝีมืออยู่ยงคงกระพันยิงไม่เข้าฟันไม่เข้า รวบรวมได้หนึ่งหมื่นคนก็ยกกำลังไปที่หัวเมืองฝ่ายเหนืออีกเพื่อแย่งชิงพระบรมสารีริกธาตุจากพระยาคำแดงเป็นครั้งที่ 2 ครั้งนี้ฝ่ายของพระยาพุทธก็ได้รับความผิดหวัง ทหารที่เกณฑ์ไปเสียชีวิตทั้งหมดเหลือรอดกลับมามีแต่เจ้าเมืองทั้งห้าเท่านั้น เมื่อไม่ประสบผลสำเร็จก็กลับมายังเมืองของตน เพื่อทำการคัดเลือกทหารและวางแผนการใหม่โดยแบ่งกำลังออกเป็น 5 ส่วนเท่ากัน ในส่วนของพระยาพุทธนั้นยังไม่เข้าโจมตีรอให้ทั้ง 4 ฝ่ายเข้าโจมตีก่อน แล้วจึงเข้าโจมตีด้านหลัง ทหารของพระยาคำแดงหลงกลที่เห็นพระยาทั้ง 4 เข้าตีด้านหน้าก็พากันออกมารับโดยไม่ระวังด้านหลัง พระยาพุทธซึ่งคอยทีอยู่แล้วจึงได้พังประตูด้านหลังเข้าไปยังที่เก็บรักษาพระบรมสารีริกธาตุอันได้บรรจุไว้ในผอบทองคำเขียนอักษรติดเอาไว้ซึ่งพระยาพุทธได้มาทั้งสิ้น 6 ผอบ คือ 1.พระบรมสารีริกธาตุ พระเศียร 2.พระบรมสารีริกธาตุ พระอุระ 3.พระบรมสารีริกธาตุ นิ้วพระหัตถ์ขวา 4.พระบรมสารีริกธาตุ นิ้วพระหัตถ์ซ้าย 5.พระบรมสารีริกธาตุ นิ้วพระบาทขวา และ 6.พระบรมสารีริกธาตุ นิ้วพระบาทซ้าย ในแต่ละชิ้นของพระบรมสารีริกธาตุมีขนาดเท่าเมล็ดงา พระยาทั้ง 5 เมื่อทำการสำเร็จแล้วจึงนำทหารถอยกลับยังเมืองฝ่ายตน หลังจากนั้นจึงทำการก่อสร้างพระธาตุเจดีย์จนกระทั่งสำเร็จและได้นำเอาพระบรมสารีริกธาตุทั้ง 6 ผอบไปประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์เป็นที่เรียบร้อย แต่ในการสร้างพระเจดีย์ครั้งนี้เป็นที่คับแค้นของเหล่าประชาราษฎร์ยิ่งนักเนื่องจากไม่ได้ร่วมก่อสร้างด้วย

ดังนั้นพระยาทั้งห้าจึงได้ปรึกษากันว่าพวกเราต้องสร้างใหม่อีกแห่งหนึ่งเพื่อที่จะให้ราษฎรในแต่ละหัวเมืองได้มีส่วนร่วมในการก่อสร้าง แต่ในครั้งนี้ต้องสร้างเป็นวิหารเพื่อเป็นที่เก็บสิ่งของและจารึกประวัติพระธาตุไว้ให้ชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ เมื่อประชาชนในเมืองต่างๆ ทราบข่าว ต่างมีความยินดีที่จะได้ร่วมสร้างวิหารซึ่งวิหารนั้นจะต้องทำด้วยหินและหินนั้นต้องเป็นหินทะเลเมื่อตกลงกันแล้วพระยาทั้งห้าต่างก็แยกย้ายไปบอกข่าวแก่ประชาชนของตนให้ไปนำหินจากทะเลมาก่อสร้างพระวิหารโดยจัดแบ่งเป็นกลุ่มๆ กันไป ฝ่ายพระยาคำแดง หัวเมืองฝ่ายเหนือโกรธแค้นมากและทราบว่าผู้ที่มาแย่งชิงพระบรมสารีริกธาตุเป็นผู้ใด จึงได้ยกกำลังกองทัพลงมายังหัวเมืองฝ่ายใต้เพื่อพิจารณาขอร่วมสร้างด้วยเพราะรู้ว่าพระยาทั้ง 5 ได้ไปแย่งชิงเอาพระสารีริกธาตุจากตนมาแล้ว แต่พระยาทั้งห้าไม่ยอมจึงเกิดการต่อสู้กันขึ้นอย่างรุนแรง เนื่องจากฝ่ายพระยาพุทธไม่ได้เตรียมกองกำลังป้องกันไว้จึงเสียเปรียบ ผลปรากฏว่าพระยาทั้งหมดเสียชีวิตคือพระยาคำแดงถูกพระยาพุทธฟันด้วยทวนคอขาด ส่วนพระยาฝ่ายใต้ก็เสียชีวิตทั้งหมดเช่นกัน ศพทั้งหมดได้ถูกเผาและนำมาฝังไว้ห่างจากพระธาตุกู่จานประมาณ 200 -300 เมตร ทั้ง 4 ทิศ สนามรบครั้งนั้นก็คือดอนกู่ในปัจจุบันซึ่งมีหินเรียงกันเป็นชั้นๆ อยู่ทางทิศเหนือของบ้านกู่จาน ห่างจากองค์พระธาตุกู่จานไปไม่มากนักส่วนศพของพระยาคำแดงชาวเมืองได้ช่วยกันเผาแล้วปั้นเป็นเทวรูปคอขาด ซึ่งปัจจุบันนี้พระพุทธรูปคอขาดได้ประดิษฐานอยู่ที่วัดสมบูรณ์พัฒนา ตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร เป็นวัดที่อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้าน ส่วนข้าวของเงินทองของพระยาคำแดง ซึ่งนำลงมาจากหัวเมืองฝ่ายเหนือและของพระยาทั้งห้าของหัวเมืองฝ่ายใต้ ได้ถูกสาปให้จมธรณีเพื่อป้องกันมิให้ผู้ใดทำลายและนำไปเป็นสมบัติส่วนตัว ส่วนชาวเมืองหัวเมืองฝ่ายใต้ที่พากันไปขนหินทะเลนั้น บางกลุ่มก็ยังไปไม่ถึง บางกลุ่มก็ไปถึง บางกลุ่มก็กลับมาถึงครึ่งทาง บางกลุ่มก็มาถึงแล้วแต่กลุ่มที่เดินทางไปก่อนหลังเมื่อทราบข่าวว่าเจ้าเมืองของตนตายก็พากันทิ้งหินไว้ตามที่ต่างๆ ซึ่งปัจจุบันเห็นอยู่หลายแห่ง เมื่อดอนกู่ได้เกิดศึกใหญ่มีคนตายมากมาย ชาวเมืองที่เหลืออยู่เสียขวัญจึงพากันอพยพถิ่นฐานไปหาที่สร้างเมืองใหม่ปล่อยให้พระธาตุกู่จานถูกทอดทิ้งมาตั้งแต่บัดนั้น จนกลายเป็นป่าทึบตามธรรมชาติเต็มไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิดหลายต่อหลายชั่วอายุคนที่ไม่อาจนับได้ จนกระทั่งบรรพบุรุษที่เดินทางมาจากบ้านปรี่เชียงหมีมาพบเข้าได้เห็นดีที่จะตั้งหมู่บ้านเพราะมีแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่ดินอุดมสมบูรณ์จึงตั้งหมู่บ้านขึ้น และถางป่ามาพบพระธาตุแต่ไม่ทราบประวัติความเป็นมาของพระธาตุ จนมาถึงปี พ.ศ. 2521 จึงปรากฏว่ามีสามเณรถาวร อินกาย และเกิดอภินิหารขึ้นจนกลายเป็นเรื่องเล่าของประวัติพระธาตุกู่จาน
ลักษณะเด่น
มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงบัวเหลี่ยมมีรูปทรงแบบธาตุอีสานทั่วไปโดยสร้างตามแบบพระธาตุพนมแต่มีขนาดเล็กกว่า ฐานล่างเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงายเตี้ยๆรองรับฐานสูงรูปสี่เหลี่ยมเรียบๆต่อด้วยองค์เรือนธาตุทรงบัวเหลี่ยมประดับลวดลายและยอดธาตุทรงบัวเหลี่ยมรองรับฉัตรซึ่งเป็นยอดบนสุด พระธาตุกู่จานคงสร้างขึ้นตามคตินิยมแบบเดียวกับการสร้างพระธาตุทั่วไป คือ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จากรูปแบบของพระธาตุซึ่งได้รับอิทธิพลทางรูปแบบจากพระธาตุพนม สันนิฐานว่าคงจะสร้างขึ้นในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12
ที่มาข้อมูล
Thailand Tourism Directory
ข้อมูลแนะนำ
กลุ่มนักท่องเที่ยว
• กลุ่มครอบครัว
• กลุ่มผู้สูงอายุ
• กลุ่มวัยทำงาน
• กลุ่มนักเรียนนักศึกษา / เยาวชน / วัยรุ่น
• กลุ่มสตรี
• กลุ่มคู่รัก / คู่แต่งงาน
• กลุ่มท่องเที่ยวเชิงศาสนา
• กลุ่ม MICE / ศึกษาดูงาน
• กลุ่ม Volunteer Tourism
• กลุ่มศิลปวัฒนธรรม / ประวัติศาสตร์
• กลุ่มวิถีชีวิต / ชุมชน / วิถีเกษตร
การเดินทาง
• จักรยาน
• มอเตอร์ไซด์
• รถยนต์
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: ไม่มีค่าใช้จ่าย
• หมายเหตุ : -
สิ่งอำนวยความสะดวก
ลานจอดรถ
สุขา
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
ร้านขายสินค้าที่ระลึก
ทางลาด
ห้องน้ำสำหรับคนพิการ
สาธารณูปโภค
ระบบน้ำใช้
• แหล่งน้ำธรรมชาติ
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ที่พัก อาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร มีสวนสตรอเบอร์รี่ให้นักท่องเที่ยวได้ มีการจัดกิจกรรมท่องเที่ยงให้นักท่องเที่ยวได้เลือก ห้องพักคืนละ 1000 ห้องพัดลม มีชุดอาหารเช้าข้าวเหนียว + หมู + แจ่วอีสาน คนละ 100 บาท สตรอเบอร์รี่ กิโลละ 300 บาท
ขอนแก่น
อาณาจักรสวนดอกไม้แห่งวังน้ำเขียว ‘ฟลอร่า พาร์ค’ อาณาจักรทุ่งดอกไม้นานาชนิดแห่งอำเภอวังน้ำเขียว ที่มีพื้นที่กว้างสุดลูกหูลูกตา ภายในมีดอกไม้เมืองหนาวสวยๆ ยังมีโซนโรส พาร์ค ที่เป็นสวนสวยเต็มไปด้วยดอกกุหลาบหลากสายพันธุ์ โดยจะได้พบกับสวนดอกไม้นานาพันธุ์ อุโมงค์ดอกไม้ กำแพงดอกไม้ และราชินีแห่งดอกไม้งาม รวมไปถึงพันธุ์ดอกไม้หายากที่สามารถเพาะพันธุ์ได้เฉพาะที่วังน้ำเขียวเท่านั้น
นครราชสีมา
กลุ่มโคขุนหนองแหน แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้านปศุสัตว์แห่งใหม่ของจังหวัดยโสธร พร้อมเปิดฟาร์มต้อนรับนักท่องเที่ยวให้เข้ามาสัมผัสกับวิถีความเป็นอยู่ของชุมชนคนเลี้ยงโคขุนคุณภาพที่ประสบความสำเร็จในระดับประเทศ โชว์ความแสนรู้ของโคที่เลี้ยงเสมือนหนึ่งสัตว์เลี้ยงแสนรัก พร้อมทั้งให้ความรู้ในเรื่องของการรวมกลุ่มและการเลี้ยงโคขุนสร้างรายได้ นักท่องเที่ยวสามารถไปเช้าเย็นกลับหรือพักค้างคืนได้ในรูปแบบของโฮมสเตย์ อีกทั้งมีเนื้อโคขุนจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยวที่สนใจนำไปประกอบอาหารกันที่บ้านได้ในราคาย่อมเยา
ยโสธร
เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวช่วยอุดหนุน หลังแวะไปเสพวิวงามๆ สูดอากาศบริสุทธิ์ ชมวิถีชีวิตชาวบ้าน ชิมอาหารท้องถิ่น แล้วยืนแอ็กท่าถ่ายรูปแบบชิลๆกับผลองุ่นสีสุดสวยแชร์ในเฟซบุ๊ก
กำแพงเพชร
น้ำตกผาแดง มีสถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง คือ จุดชมวิวเนินสววรค์ อุโมงค์ถ้ำ 3 มิติ และน้ำตกสะพานลาว
กาญจนบุรี
บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยเท้าพ่อเป็นฐานการเรียนรู้เกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ ภายในบ้านเป็นสวนผสม ปลูกพืชผักเพื่อบริโภคในครอบครัว โดยยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงเป็นแนวทางการดำเนินชีวิต และครูยังเป็นต้นแบบในการปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ในถังพลาสติก จำนวน 400 ถัง และเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วจะได้ข้าวเปลือกประมาณกว่า 20 ถัง ซึ่งเพียงพอสำหรับการบริโภคภายในครอบครัวได้ทั้งปี ต่อมาได้มีชาวบ้าน และชาวต่างชาติรู้ข่าวจึงได้มาดู และขอดูถ่ายรูปเป็นจำนวนมาก และได้เป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องการทำการเกษตรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักเรียนนักศึกษาและผู้ที่สนใจอีกด้วย
ชุมพร
ด้วยสวนวิชา(ระยอง) -จำหน่ายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับนานาชนิด -จำหน่ายชุดโต๊ะ ที่นั่งหิน และหินตกแต่งหลากหลายรูปแบบ -รับปรึกษาการปลูกต้นไม้ -รับจัดสวน / ตกแต่งสวน ด้วยทีมงานมืออาชีพ สวนวิชาพันธุ์ไม้(ระยอง)มีพื้นที่ในการเพาะพันธุ์ไม้มากกว่า 50 ไร่ ทำให้ที่ร้านมีทั้งไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ รวมทั้งชุดโต๊ะ ที่นั้่งหิน และหินตกแต่งไว้ให้ท่านผู้สนใจได้เลือกชมเลือกซื้ออย่างมากมาย ด้วยประสบการณ์ของเจ้าของ เริ่มก่อร่างสร้างตัวเปิดร้านตั้งแต่ปี พศ. 2532 จนถึงปัจจุบัน สามารถเป็นตัวการันตีในคุณภาพของสินค้าได้เป็นอย่างดี มองหาร้านได้ไม่ยากติดถนนสุขุมวิทเยื้องๆตลาดผลไม้ตะพงทางไป อ.แกลง เปิดบริการทุกวันจันทร์-อาทิตย์ 08.00-17.00 น. และเปิดตัวน้องใหม่ มีบริการที่พักแบบโฮมสเตย์เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาลิ้มลองผลไม้ตามฤดู หรือท่องเที่ยวทะเลที่มาเป็นครอบครัวหรือหมู่คณะ เพื่อการดูแลได้อย่างถั่วถึง จึงรองรับได้จำนวน 10 ท่าน/กรุ๊ป มีบริการสระว่ายน้ำและ Wi-Fi ฟรี สำหรับลูกค้าที่มาพักทุกท่าน
ระยอง
โครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า เป็นโครงการที่รเริ่มดำเนินการโดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งได้รับความร่วมมือสนับสนุนจาดส่วนราชการ อำเภอพนมสารคาม และธนาคารกรุงเทพ จำกัด เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นมา เพื่่อช่วยเหลือเกษตรที่มีฐานะยากจน ไม่มีที่ทำกินเป็นของตนเอง ให้มีโอกาสได้ประกอบอาชีพการเลี้ยงสัตว์ ควบคู้ไปกับเพราะปลูก การดำเนินงานของโครงการ จัดเป็นระบบเบ็ดเสร็จครบวงจร เพื่อให้การพัฒนาอาชีพของกระเกษตรกรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ฉะเชิงเทรา
โครงการศูนย์บริการการพัฒนาปลวกแดงตามพระราชดำริ จ.ระยอง เปิดต้อนรับคณะศึกษาดูงาน เพื่อศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้ทรงโปรดพระราชทานแนวทางด้านเกษตร ประมง ปศุสัตว์ และการดำเนินชีวิต ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเสริมสร้างธรรมาภิบาลส่งเสริมการศึกษาด้านศาสตร์พระราชา เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้แก่ เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา เยาวชน และประชาชน
ระยอง
ชมผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านดงน้อย สัมผัสวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชาวนครจำปาศรี ณ ชุมชนบ้านดงน้อย หมู่ที่ 4 ตำบลพระธาตุ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม มาเลือกชมและซื้อผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากผ้าทอมือ กระเป๋าแปรรูป ผ้าตุ๊กตาของที่ระลึกจากไม้ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้ที่ร้านค้าชุมชนบ้านดงน้อย และยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ตั้งอยู่ใกล้ๆ หมู่บ้าน นั่นคือ พระบรมธาตุนาดูน ที่เปรียบเสมือนพุทธมณฑลแห่งอีสานแห่งอารยธรรมโบราณแห่งหนึ่งที่มีประวัติอันยาวนานของเมืองนครจัมปาศรีค่า ที่ตั้ง : บ้านดงน้อย หมู่ที่ 4 ตำบลพระธาตุ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
มหาสารคาม
สวนยายดา-เจ๊บุญชื่น เป็นสวนผลไม้ผลแบบผสมผสาน มีกิจกรรมชมสวนบุฟเฟต์ กินอิ่มนอนเล่นได้ทั้งวัน พร้อมส้มตำบุฟเฟต์ มีการบริการจัดคณะทัวร์ รับประทานอาหารในสวน มีผลิตภัณฑ์ทุเรียนทอด และทุเรียนกวนจากสวนยายดา ทำเอง สูตรลับเฉพาะ กรอบ อร่อย มีกะปิระยองแท้ ทำเองแบบดั้งเดิม และมีการจำหน่ายผลไม้สดๆ โปรแกรมการท่องเที่ยว - เดือน ธันวาคม-มกราคม มาชมดอกทุเรียนบาน ดูวิธีผสมเกสรทุเรียน เงาะ สละ   - เดือน กุมภาพันธ์-มีนาคม เป็นฤดูมะปรางหวานมะยงชิด       - เดือน เมษายน - มิถุนายน จะเป็นช่วงที่ผลไม้ออกพร้อมกันมากที่สุด กิจกรรมบุฟเฟ่ต์ผลไม้ เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ (พร้อมระยะทาง/กม.)  - หาดแม่รำพึง 8 กม., หาดสวนสน 15 กม.,  สถานีแสดงพันธุ์สัตว์น้ำระยอง 13 กม., ตลาดกลางผลไม้ตะพง 6 กม., ท่าเรือไปเกาะเสม็ด 12 กม. สินค้าวิสาหกิจชุมชนในชุมชน ผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตร, ทุเรียนทอด, กะปิคุณภาพ, ผลไม้คุณภาพ
ระยอง
ดงเมืองเตยเป็นเมืองเก่าสมัยขอมจะเป็นเมืองร้างมาแล้วนานเท่าไรไม่ทราบได้ สภาพที่เห็นมาจากปู่ย่าตาทวดหลายชั่วอายุคน ดงเมืองเตยมีป่าไม้ขึ้นสูงข้างล่างโปร่ง มีหมู่ไม้เล็กๆ ขึ้นบ้าง ต้นไม้ใหญ่ได้แก่ ไม้ยาง ไม้ตะแบก ไม้ยางเหียง เป็นป่าหนาแน่นมาก พวกพ่อแม่ปู่ย่าตายายไม่กล้าตัดต้นไม้ในดงนี้ เพราะดงเมืองเตยมีผีดุเรียกว่า ผีปู่ตา ป่าไม้จึงเป็นที่อาศัยของลิง และนกหลายจำพวก บึงรอบบริเวณดงเมืองเตยเป็นหนองน้ำขนาดลึกมีน้ำขังตลอดปี เป็นที่อาศัยและเป็นที่เพาะพันธุ์ปลาตามธรรมชาติ นอกจากนกจำพวกต่างๆ แล้วบึงนี้ได้ชื่อว่ามีเต่ามากที่สุด เหตุที่มีเต่ามากเช่นนี้ชาวบ้านนับถือผีปู่ตา ปู่ตาห้ามจับกินทำลายสัตว์พาหนะของท่าน คือ ลิงและเต่า ถ้าเกิดทำอันตรายขึ้นมา จะต้องมีอันเป็นไป” “ต่อมาเมื่อประมาณ 90 ปีมาแล้ว ชาวบ้านสงเปือยมีหมอร่ำเรียนวิชาอาคมมาทำพิธีปราบผีดงเมืองเตยได้ หมอผู้มีวิชาอาคมผู้นี้ชื่อ ผู้ใหญ่สุวอ เหตุการณ์นี้ตรงกับสมัยพ่อใหญ่อัครฮาด เป็นตาแสง เมื่อชาวบ้านใกล้ไกลได้ยินข่าวพ่อใหญ่สุวอข่มผีดงเมืองเตยได้แล้ว ก็พากันหลั่งไหลมาจับเต่าปลาดงเมืองเตยไปเป็นอาหารจนเกือบเกลี้ยงบึง เต่าจึงเกือบสูญพันธุ์มาจนบัดนี้ พ่อใหญ่สุวอได้แบ่งปันที่บึงออกเป็นที่นาให้พี่น้องญาติมิตรทำนามาจนทุกวันนี้ ส่วนบริเวณดงเมืองเตยได้แบ่งบันทำไร่ สวน ปลูกพืชทำกินมาเท่าทุกวันนี้ อันนี้เป็นเรื่องจริง ผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีอายุครบ 90 ปี เช่น พ่อใหญ่อ่อน หอมกลิ่น พ่อใหญ่บู กกเปือย ยังมีชีวิตเป็นพยานอยู่
ยโสธร