คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
สวนสุกรรญ์
สวนสุกรรญ์ หมู่8 ตำบลเมืองหลวง อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
เปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันจันทร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันอังคาร
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพุธ
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันศุกร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันเสาร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
อินทผลัมเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ของอำเภอห้วยทับทัน มีทั้งหมด 10 สายพันธุ์ ซึ่งนำเข้าจากประเทศอียิปต์ อาทิ คาลูเต้ อัจวะห์ ซากูลใหญ่ ซากูลเล็ก บาฮี เจ้าชายซาอุ อัมเอสดาฮาน โคไนซี่ ชิชิ และนาเวนเดอร์ เป็นต้น เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงเกษตรการเพาะเนื้อเยื่อ SUKAN DATE PALM และเดินชิม ชมสวนอินทผลัมแต่ละสายพันธุ์ซึ่งเป็นผลผลิตของศูนย์เรียนรู้ฯ ตลอดจนสินค้าชุมชนอื่น ๆ ทั้งทุเรียน กล้วยหอมทอง ผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ฯลฯ
ที่มาข้อมูล
Thailand Tourism Directory
ข้อมูลแนะนำ
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: ไม่มีค่าใช้จ่าย
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชมาเป็นเวลานาน ก่อนคำว่า “ความหลากหลายทางชีวภาพ (BIOLOAGICAL DIVERSITY)”และอนุรักษ์ (COUSERVATION) จะเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย จากการเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี พ.ศ. 2503 เมื่อเสด็จผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ทอดพระเนตรเห็น ต้นยางนาขนาดใหญ่ขึ้นเป็นจำนวนมาก ทรงมีพระราชทานให้เก็บเมล็ดพันธุ์ยางนาไปเพาะที่ตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน และนำต้นยางนาที่เพาะได้ นำมาปลูก ในสวนจิตรลดา เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ทรงมีพระราชทานพระราชดำริให้ทำการอนุรักษ์ต้นขนุนในพระบรมมหาราชวัง และได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์พรรณไม้ ในพระราชวังต่างๆ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ทรงมีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์ และขยายพันธุ์หวายรวมทั้งดำเนินการจัดสร้างสวนสมุนไพรในโครงการสวนพระองค์ ฯ สวนจิตรลดา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามพระบรมราชกุมารี ทรงสืบต่องานอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยทรงมีพระราชดำริกับท่านเลขาธิการพระราชวัง ให้มีการดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ ในเดือน มิถุนายน 2535 ซึ่งมีโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้จัดสร้างธนาคารพืชพรรณสำหรับเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อรวมทั้งการศึกษาที่มิใช่พืชเศรษฐกิจให้มีการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยนำพระราชดำริ มาเป็นกรอบในการดำเนินการ เมื่อปี พ.ศ. 2536 นายสุจินต์ ภูนิคม กำนันตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร และคณะได้ประสานงานหารือกับผู้อำนวยการบริษัทอุลตร้าโปรดักส์ จำกัด และเกษตรกรจังหวัดชุมพรในการนำพื้นที่สาธารณะประโยชน์ซึ่งตั้ง ณ หมู่ที่ 6 ตำบลสลุย (ปัจจุบัน หมู่ที่ 5,6 ตำบลสลุย และ หมู่ที่ 4 ,7 ตำบลสองพี่น้อง) เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ ซึ่งขณะนั้น โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาก็กำลังจัดหาพื้นที่เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อมาทางโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โดยศาสตราจารย์พิเศษประชิด วามานนท์ (ที่ปรึกษาโครงการส่วนพระองค์) พร้อมคณะได้เดินทางมาพบผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร (นายประยูร พรหมพันธุ์) เพื่อปรึกษาหารือในการจัดทำโครงการโดยใน ระยะ 5 ปี แรกได้ใช้ ชื่อโครงการว่า “โครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณไม้ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร” โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร จึงได้ทำโครงการเสนอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรและได้จัดส่งเอกสารโครงการไปยังผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อโปรดนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองพระบาทในโอกาสอันสมควรและทางโครงการส่วนพระองค์ได้แจ้งตอบรับ เรื่องการนำโครงการอนุรักษ์พันธุไม้และพิพัฒน์พรรณพืชฯ จังหวัดชุมพร ทราบฝ่าละอองพระบาท เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2536 และในการดำเนินโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้ผนวกโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ และพิพัฒน์พรรณพืชของจังหวัดชุมพร เข้ากับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริในส่วนกลางมีดร.พิศิษฐ์ วรอุไร เป็นประธานคณะกรรมการ และจากการประชุมกรรมการ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 ที่ประชุมมีมติเปลี่ยนชื่อโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณพืช ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร เป็นชื่อ “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร”
ชุมพร
บุฟเฟต์ผลไม้ ปันจักรยานและนั่งรถไถชมสวนผลไม้ จำหน่ายผลไม้คุณภาพ แและผลิตภัณฑ์แปรรูป ของฝาก
ระยอง
สวนสวรรค์สุพรรณบุรี บนเนื้อที่หลายร้อยไร่ ประกอบไปด้วยพืชพันธุ์มากมายหลายชนิด ที่นำมาจัดแสดงให้ชมในแต่ละช่วงเวลา และเทศกาลต่างๆ ตลอดทั้งปี ทั้งไม้ดอกของไทย และต่างประเทศ สีสันสดสวยงามตระการตา และไม้ใบ ไม้ผล ที่ผ่านการค้นคว้าและทำการขยายพันธุ์ จนได้พันธุ์ที่เหมาะสมมีคุณภาพดีที่สุด เพื่อจำหน่ายจ่ายแจกให้เกษตรกรได้นำไป ทำการเพาะปลูกต่อไป
สุพรรณบุรี
สวนโบราณ 200 ปี เป็นสวนที่มีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในระยะยาว เพื่อคนจำนวนมากที่สุด สวน 200 ปี ตั้งอยู่เลขที่ 5 หมู่ที่ 11 ตำบลแหลมทราย อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ห่างจากตลาดหลังสวนราว 2 กิโลเมตร ผู้ที่ดูแลสวนอยู่ในปัจจุบันคือ คุณลุงสำเริง รัชเวทย์ ทายาทช่วงที่ 4 ของตระกูล สวน 200 ปี เป็นสวนเบญจพรรณ คือปลูกไม้ผลหลายๆ ชนิดรวมกัน โดยไม่ได้แบ่งเขต แบ่งโซน ชนิดของไม้ผลมีทุเรียนพื้นบ้าน มังคุด เงาะพื้นบ้าน ลางสาด หมาก มะพร้าว จันทน์เทศ สะตอ ลูกเนียง ละมุด จำปา ขนุน มะไฟ กล้วย ไผ่ พืชผักสวนครัว สมุนไพรต่างๆ สำหรับการบำรุงรักษา อาศัยธรรมชาติเป็นหลัก ปราศจากการใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อเร่งการเจริญเติบโต การบำรุงดินทำโดยเลี้ยงหญ้าบำรุงดิน ช่วยให้ดินมีความชุ่มชื้นตลอดปี ส่วนปุ๋ยเป็นปุ๋ยจากธรรมชาติ เป็นวัฏจักรหมุนเวียน เช่น ใบไม้ และซากพืชล้มลุกที่ทับถมตลอดปี ส่วนการป้องกันกำจัดศัตรูพืช มีนก กระรอก กระแต คอยจับกินหนอน แมลง เป็นอาหาร ต้นทุนในการดูแลสวน แยกออกได้เป็นส่วนๆ คือ เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิต ต้องจ้างแรงงานถางหญ้าบ้าง โดยเฉพาะโคนต้นเพื่อให้การเก็บเกี่ยวได้สะดวก ส่วนต่อมาคือถางบริเวณที่จะปลูกต้นไม้ซ่อมแซมลงไป
ชุมพร
ตลาด 910 เป็นตลาดนัดขายสินค้าทางการเกษตรมากมาย ซึ่งเป็นผลผลิตจากเกษตรกรเหลือจากกินใช้ และนำมาแปรรูปขาย ตลาดก่อตั้งขึ้นเนื่องจากได้รับงบประมาณ จากโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน มีทุกวัน แต่โซนด้านหน้าจะมีในวันอาทิตย์ของสัปดาห์ นอกจากการขายสินค้าทางการเกษตรแล้ว ในช่วงเวลาเทศกาลสำหรับจะมีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ และมีหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนมาร่วมด้วย ตลาด 910 เป็นที่สนใจของประชาชนในท้องที่เป็นอย่างมาก และนอกจากนี้ ตลาด 910 ยังได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ระดับเขต ในการแข่งขันการประกวด โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน
ชุมพร
สวนไร่ทรัพย์ทวี บ้านเลขที่ 16/1 หมู่ที่ 5 ตำบลคลองกระบือ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
นครศรีธรรมราช
มีจุดเด่นคือผลผลิตที่การันตีคุณภาพตามระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ระดับประเทศและระดับโลก (IFOAM, EU, COR) เพื่อนนำจำหน่ายส่งออกด้วยมาตรฐานคุณภาพเกรด A “สด ใหม่ พร้อมรับประทาน ” มีการจำหน่ายสินค้าจากเกษตรกรมีคุณภาพดี มีกิจกรรมหลากหลาย อาทิเช่น เก็บผักสด ตัดแต่งผัก ท่องเที่ยวเยี่ยมชมฟาร์ม ดูงาน เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ เป็นต้น
ฉะเชิงเทรา
เป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบครบวงจร ภายในมีทั้งห้องพัก แพพัก ร้านอาหาร คาเฟ่ สระว่ายน้ำ และรางรถไฟนั่งชมบรรยากาศ นั่งได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยซื้อตั๋วนั่งรถไฟ 1. ผู้ใหญ่ 90 บาท/คน 2. เด็ก 50 บาท/คน 3. เด็กความสูงไม่ถึง 100 ซม. ฟรี
กาญจนบุรี
ดงเมืองเตยเป็นเมืองเก่าสมัยขอมจะเป็นเมืองร้างมาแล้วนานเท่าไรไม่ทราบได้ สภาพที่เห็นมาจากปู่ย่าตาทวดหลายชั่วอายุคน ดงเมืองเตยมีป่าไม้ขึ้นสูงข้างล่างโปร่ง มีหมู่ไม้เล็กๆ ขึ้นบ้าง ต้นไม้ใหญ่ได้แก่ ไม้ยาง ไม้ตะแบก ไม้ยางเหียง เป็นป่าหนาแน่นมาก พวกพ่อแม่ปู่ย่าตายายไม่กล้าตัดต้นไม้ในดงนี้ เพราะดงเมืองเตยมีผีดุเรียกว่า ผีปู่ตา ป่าไม้จึงเป็นที่อาศัยของลิง และนกหลายจำพวก บึงรอบบริเวณดงเมืองเตยเป็นหนองน้ำขนาดลึกมีน้ำขังตลอดปี เป็นที่อาศัยและเป็นที่เพาะพันธุ์ปลาตามธรรมชาติ นอกจากนกจำพวกต่างๆ แล้วบึงนี้ได้ชื่อว่ามีเต่ามากที่สุด เหตุที่มีเต่ามากเช่นนี้ชาวบ้านนับถือผีปู่ตา ปู่ตาห้ามจับกินทำลายสัตว์พาหนะของท่าน คือ ลิงและเต่า ถ้าเกิดทำอันตรายขึ้นมา จะต้องมีอันเป็นไป” “ต่อมาเมื่อประมาณ 90 ปีมาแล้ว ชาวบ้านสงเปือยมีหมอร่ำเรียนวิชาอาคมมาทำพิธีปราบผีดงเมืองเตยได้ หมอผู้มีวิชาอาคมผู้นี้ชื่อ ผู้ใหญ่สุวอ เหตุการณ์นี้ตรงกับสมัยพ่อใหญ่อัครฮาด เป็นตาแสง เมื่อชาวบ้านใกล้ไกลได้ยินข่าวพ่อใหญ่สุวอข่มผีดงเมืองเตยได้แล้ว ก็พากันหลั่งไหลมาจับเต่าปลาดงเมืองเตยไปเป็นอาหารจนเกือบเกลี้ยงบึง เต่าจึงเกือบสูญพันธุ์มาจนบัดนี้ พ่อใหญ่สุวอได้แบ่งปันที่บึงออกเป็นที่นาให้พี่น้องญาติมิตรทำนามาจนทุกวันนี้ ส่วนบริเวณดงเมืองเตยได้แบ่งบันทำไร่ สวน ปลูกพืชทำกินมาเท่าทุกวันนี้ อันนี้เป็นเรื่องจริง ผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีอายุครบ 90 ปี เช่น พ่อใหญ่อ่อน หอมกลิ่น พ่อใหญ่บู กกเปือย ยังมีชีวิตเป็นพยานอยู่
ยโสธร
ไร่สุขถวิล อินทผลัมเมืองช้าง 164 หมู่ 5 ตำบลหนองระฆัง อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ 32160
สุรินทร์
สวนปาหนัน มีผลไม้ปลูกมากมายหลากหลายชนิดที่นี่ปลูกทั้งเงาะ มังคุด ลองกอง ทุเรียน โดยค่าใช้จ่ายในการมาเที่ยวสวนปาหนันช่วงเดือน พ.ค. - มิ.ย. ซึ่งเป็นช่วงที่มีผลไม้เต็มสวน จากนี้ที่นี่ยังมีบริการที่พักในสวนผลไม้ด้ว
ระยอง
กุดกะเหลิบ แหล่งน้ำขนาดใหญ่ กุดกะเหลิบเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ น้ำใสมองเห็นตัวปลา อยู่ในเขตตำบลหนองเป็ดและตำบลหนองหิน เดิมเป็นเพียงแหล่งน้ำที่ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ในการทำเกษตรกรรม และจับสัตว์น้ำ้เพื่อเลี้ยงชีพเท่านั้น แต่ปัจจุบันจังหวัดยโสธร ได้พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว และพักผ่อนหย่อนใจ โดยการปรับภูมิทัศน์ให้สวยงาม เป็นที่จัดงานสงกรานต์ของจังหวัดทุกปี มีประชาชนได้มาเที่ยวชมและพักผ่อนอยู่เสมอในวันหยุด การเดินทางมาเที่ยว กุดกะเหลิบที่สะดวก คือเริ่มจากถนนยโสธร -อำนาจเจริญ กิโลเมตรที่ 14 (บ้านคำเกิด สังเกตจะมีแตงโมขายตามข้างทาง) เลี้ยวซ้ายเข้าสู่บ้านหนองหงอก ไปบ้านหนองบก -บ้านโนนสวาท ก็จะถึงกุดกะเหลิบ ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร
ยโสธร