คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
กลุ่มท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้านบัวเทิง
กลุ่มท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้านบัวเทิง ตำบลท่าช้าง อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี
Image
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
เปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันจันทร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันอังคาร
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพุธ
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันศุกร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันเสาร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
ชุมชนบ้านบัวเทิง ศูนย์แห่งการเรียนรู้วิถีชีวิตการดำรงชีวิตเพื่อความสุขอย่างพอเพียง การทำการเกษตรผสมผสาน เกษตรปลอดสารพิษ และแหล่งเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ชีวภาพ ประโยชน์และการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพกับการเกษตร การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาการเกษตรให้เหมาะสมกับพื้นที่ภาคอีสานที่ร้อนและแห้งแล้ง
ประวัติความเป็นมา
ชุมชนบ้านบัวเทิง ก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2372 คนกลุ่มแรกที่เข้ามาอยู่เป็นชาวลาวเวียงหรือลาวจากเวียงจันทร์ สาเหตุมาจากขณะนั้นไทยยกทัพไปตีเวียงจันทร์ ทำให้คนลาวแตกทัพหนีเข้ามาในไทย แรกทีเดียวมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่โนนบ้านบัวท่า เพราะเห็นว่ามีป่าและน้ำอุดมสมบูรณ์ดี มีหนองน้ำขนาดใหญ่ชื่อหนองบัวหล่มใช้ทำมาหากิน ต่อมาหลังเกิดสงครามอินโดจีนประมาณ ปี พ.ศ. 2482-2483 จึงพากันย้ายถิ่นฐานจากโนนบ้านบัวท่า สาเหตุของการย้าย เนื่องจากในช่วงนั้น จะมีทหารมาเกณฑ์คนเข้าไปทำงานในการซ่อมแซมตึกรามบ้านช่องที่เสียหายจากสงคราม ในเมืองอุบลราชธานี คนลาวที่รวมกันอยู่ที่โนนบ้านบัวท่ากลัวจึงแยกย้ายกันหลบหนี และมารวมกลุ่มกันตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณหนองน้ำที่เรียกชื่อว่า หนองบัวหล่มเก่า ใช้ทำมาหากิน ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ เป็นที่อยู่ในปัจจุบัน ผู้นำชุมชนในขณะนั้นชื่อพ่อใหญ่หนูกะลอม ตั้งชื่อหมู่บ้านว่าบ้านหนองบัวหล่ม แต่ที่ตั้งหมู่บ้านอยู่ที่สูงจึงเปลี่ยนชื่อใหม่ให้สอดคล้องกับที่ตั้ง โดยเอาชื่อ “หนองบัว” มารวมกับคำว่า “เทิง” ซึ่งแปลว่าสูง เป็นชื่อใหม่ว่า “บ้านบัวเทิง” และตั้งหมู่บ้านเป็นทางการเมื่อประมาณ พ.ศ.2483 ชาวบ้านบัวเทิงนิยมปลูกผักสวนครัวไว้กินเองพืชผักที่ปลูกเป็นพืชผักปลอดสาร นอกจากนี้ด้วยความที่ชุมชนมีสภาพพื้นที่เหมาะกับการเกษตร และเพาะปลูก จึงสามารถปลูกไม้ผลที่มีถิ่นกำเนิดจากภาคตะวันออกและภาคใต้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ทุนเรียน จากเมืองจันทบุรี ลูกใหญ่ กลิ่นหอม สวนกล้วยหอมทองลูกโต หอมหวาน สวนพุทรารสชาติเยี่ยม สวนแก้วมังกรและแปลงดอกเบญจมาศ ชาวบ้านบัวเทิงนับถือศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์และมีความเชื่อในอำนาจของสิ่งลี้ลับที่มองไม่เห็น และความเชื่อในสิ่งที่สืบทอดต่อกันมา เช่น ไหว้เสาหลักบ้าน (หลักเมือง) เป็นต้น
ลักษณะเด่น
เป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้วิถีชีวิตการดำรงชีวิตเพื่อความสุขอย่างพอเพียง
ที่มาข้อมูล
Thailand Tourism Directory
ข้อมูลแนะนำ
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: ไม่มีค่าใช้จ่าย
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
กุดกะเหลิบ แหล่งน้ำขนาดใหญ่ กุดกะเหลิบเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ น้ำใสมองเห็นตัวปลา อยู่ในเขตตำบลหนองเป็ดและตำบลหนองหิน เดิมเป็นเพียงแหล่งน้ำที่ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ในการทำเกษตรกรรม และจับสัตว์น้ำ้เพื่อเลี้ยงชีพเท่านั้น แต่ปัจจุบันจังหวัดยโสธร ได้พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว และพักผ่อนหย่อนใจ โดยการปรับภูมิทัศน์ให้สวยงาม เป็นที่จัดงานสงกรานต์ของจังหวัดทุกปี มีประชาชนได้มาเที่ยวชมและพักผ่อนอยู่เสมอในวันหยุด การเดินทางมาเที่ยว กุดกะเหลิบที่สะดวก คือเริ่มจากถนนยโสธร -อำนาจเจริญ กิโลเมตรที่ 14 (บ้านคำเกิด สังเกตจะมีแตงโมขายตามข้างทาง) เลี้ยวซ้ายเข้าสู่บ้านหนองหงอก ไปบ้านหนองบก -บ้านโนนสวาท ก็จะถึงกุดกะเหลิบ ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร
ยโสธร
พระธาตุกู่จาน ตั้งอยู่ภายในวัดบ้านกู่จานเป็นปูชนียสถานสำคัญ ประชาชนชาวเมืองยโสธรและจังหวัดใกล้เคียงต่างสักการะบูชา ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงบัวเหลี่ยมรูปทรงคล้ายพระธาตุพนมแต่มีขนาดเล็กกว่า ส่วนของฐานล่างรูปบัวคว่ำบัวหงายเตี้ยๆ รองรับฐานสูงรูปสี่เหลี่ยมเรียบต่อด้วยทรงบัวเหลี่ยม ประดับตกแต่งด้วยลวดลายประณีตสวยงามตามโบราณ และยอดพระธาตุทรงเหลี่ยมรองรับฉัตรซึ่งเป็นยอดบนสุด จากหลักฐานน่าจะสร้างขึ้นตามคตินิยมในการสร้างพระธาตุทั่วไป คือ เพื่อการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ แต่ละปีจะมีการจัดพิธีสรงน้ำเพื่อรักษาประเพณีที่ดีงามเอาไว้ ลักษณะทางสถาปัตยกรรม องค์พระธาตุกู่จาน กว้าง 5.10 เมตร สูง 15 เมตร ที่ตั้ง ตั้งอยู่ที่บ้านงิ้ว กลางลานวัดกู่จาน ตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ซึ่งดูลักษณะแล้วคล้ายคลึงกับองค์พระธาตุพนม ต่างกันเพียงขนาดซึ่งพระธาตุกู่จานมี ขนาดเล็กกว่า ความสำคัญต่อชุมชน : เป็นที่สักการะของชาวเมืองยโสธรและจังหวัดใกล้เคียง ทุกๆ ปี ชาวตำบลกู่จานจะนำน้ำอบ น้ำหอมไป ทำพิธีสรงน้ำพระธาตุในช่วงเช้าของวัน เพ็ญ เดือน 6 ตอนบ่ายจะไปทำพิธีสรงน้ำ "กู่" หลังจากนั้นจะพากันไปที่หนองสระพัง เพื่อนำน้ำที่หนองสระพังมาทำพิธี สรงน้ำพระธาตุและใบเสมา ซึ่งพิธีกรรมดังกล่าวนี้ ต้องกระทำเป็นประจำทุกปี มีความเชื่อว่าหากไม่ทำพิธีดังกล่าวแล้วจะทำให้ ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ชาวบ้านกู่จานจึงได้ถือปฏิบัติพิธีนี้เป็นประจำ
ยโสธร
สวนเมเปิล เป็นไร่ลำไยแบบพอเพียงที่เปิดให้เข้าชมปีละครั้ง พร้อมกับลิ้มรสลำไยหวาน ๆ แบบบุฟเฟ่ต์ กินไม่อั้น จัดไปในราคาไม่เกินร้อย และยังจะได้ชมสวนดอกไม้สวย ๆ บรรยากาศสุดโรแมนติก
กาญจนบุรี
Rayong Smile Plants ศูนย์การเรียนรู้พืชกินแมลงจังหวัดระยอง แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร Young Smart Farmer ที่ควรไปสักครั้งในชีวิต ตั้งอยู่ในต.นาตาขวัญ อ.เมืองระยอง เป็นศูนย์รวบรวมพันธุ์หม้อข้าวหม้อแกงลิงกว่า 500 สายพันธุ์
ระยอง
วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตชาเขียวใบหม่อนถ้ำมังกรทอง ศูนย์ผลิตชาเขียว และปลูกหม่อนอินทรีย์เพื่อส่งออก ของชุมชนถ้ำมังกรทองในจังหวัดกาญจนบุรี
กาญจนบุรี
บ้านจำรุงเป็นหมู่บ้านเล็กๆ สมาชิกเหมือนเป็นคนครอบครัวเดียวกันทั้งหมด แต่เดิมมีลุงสำเริง ดีนาน เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง “โอท็อปโบราณ” ก่อนจะพัฒนาเป็นศูนย์โอท็อปชาวบ้าน นำสินค้าผลผลิตทางการเกษตรในชุมชนมาขาย นอกจากนี้ ยังเปิดแหล่งท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ มีรถพาชมสวน ได้ทั้งการพักผ่อนใกล้ชิดธรรมชาติ และความรู้จากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบชาวบ้าน ทั้งเกษตรพื้นบ้านไร้สารเคมี เกษตรธรรมชาติกองทัพมด เป็นตัวอย่างนำกลับไปใช้ได้จริง โดยเริ่มลงมือทำตั้งแต่ปีพ.ศ.2529 กระทั่งมีผลงานเป็นรูปธรรม ด้วยความร่วมมือของชาวบ้านที่เข้มแข็ง จากที่ประชุมกันในครัวเรือน กลายเป็นเครือข่ายองค์กรบ้านจำรุง ที่มีการประชุมร่วมกันทุกวันที่ 15 ของเดือน เป็นเวทีสาธารณะ หรือเวทีชาวบ้าน ที่มีทั้งเด็ก เยาวชน และคนแก่ เข้าร่วม ต่อมาปี พ.ศ.2549 จึงจัดตั้งเป็น “มหาวิทยาลัยบ้านนอก” เพื่อการเรียนรู้ของสังคม กระทั่งได้รับรางวัล “หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็นเป็นสุข” จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากนั้นก็มีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาศึกษาหาความรู้กันอย่างไม่ขาดสาย เป็นสิ่งที่ชาวบ้านภาคภูมิใจ
ระยอง
ปัจจุบันมีสวนเนื้อที่ 11 ไร่ ที่ทำไปแล้ว 7 ไร่ ในสวนจะมีหม่อน แบล็คเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ มะนาวโห่ ส่วนของหม่อนนี้มีทั้งหมด 15 สายพันธุ์ พันธุ์หลักๆ ก็คือกําแพงแสน เป็นเกษตรรุ่นใหม่ Young Smart Farmer จังหวัดระยอง
ระยอง
บุบเฟ่ต์ผลไม้ การทำกะราง ข้าวตังพื้นบ้าน การสานเสื่อคล้า รำตัดเด็ก
ระยอง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 พรรษา ในปี พ.ศ. 2539 บนเนื้อที่ 500 ไร่ ณ ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
ปทุมธานี
ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ จ.นครนายก การมาเที่ยวชมศูนย์ฯ แห่งนี้ไม่มีค่าใช้จ่าย เว้นแต่ว่ามากันเป็นหมู่คณะ และต้องการทำกิจกรรมต่างๆ ที่ทางศูนย์ฯ ได้จัดขึ้น ที่นี่เป็นแหล่งเรียนรู้ชั้นเลิศ ที่จะทำให้เข้าใจเรื่องราวของคำว่า "พอเพียง" และการใช้ทรัพยากรอย่างไรให้ได้ประโยชน์และรู้คุณค่ามากที่สุด การเดินเที่ยวชมที่แห่งนี้ เดินชมได้เป็นลักษณะคล้ายวงกลม โดยเริ่มจาก โซนภาคเหนือ ตื่นตาไปกับการปลูกไม้ไผ่ชนิดต่างๆ สองข้างทาง รวมทั้งความน่ารักของสะพานไม้ไผ่ บ้านที่สร้างจากไม้ไผ่ริมสระบัว และเครื่องเล่นที่ทำจากไม้ไผ่ ที่จัดแสดงแบบนี้ เป็นเพราะต้องการให้ได้รู้ว่าไม้ไผ่สามารถทำประโยชน์อะไรได้มากมาย รวมทั้งทำรางหยดน้ำ เพื่อใช้รดน้ำต้นไม้และรดดินแทนคนอีกด้วย เดินขึ้นไปตามภูเขาก้อนเล็กๆ เรียนรู้เรื่องภูเขาป่า การตะบันน้ำ คือ การที่ใช้น้ำอัดน้ำขึ้นที่สูงแทนการใช้เครื่องปั๊มน้ำ ระบบป่าเปียกกันไฟ ประโยชน์ของหญ้าแฝก และการทำฝายชะลอความชุ่มชื้น เดินต่อไปยัง โซนภาคกลาง เรียนรู้เรื่องการเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ของตัวเองอย่างคุ้มค่า เรียนรู้การสร้างบ้านดิน และเรื่องสมุนไพรนานาชนิด แล้วก็เดินไปยัง โซนภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ชมธนาคารข้าว เรียนรู้เรื่องการสีข้าว การเลี้ยงปศุสัตว์ แอบเห็นวัวตัวเบ่อเริ่มอยู่ในคอกด้วย การทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง จะได้ไม่ต้องซื้อปุ๋ยเคมี และได้เรียนรู้เรื่องการห่มดิน จากที่พื้นที่ที่ไม่มีดิน ต้องใช้วิธีห่มดิน เพื่อให้ได้ดินดีๆ กลับมาปลูกพืชผัก แต่จะทำอย่างไร อยากให้ไปเรียนรู้ด้วยตัวเองจะดีที่สุด สุดท้ายไปยัง โซนภาคใต้ ไปดูการเผาถ่านที่ทำจากไม้ไผ่ การทำน้ำมันไบโอดีเซล และเรียนรู้โครงการแก้มลิง นอกจากนี้ตลอดภายในศูนย์ฯ ฉันเห็นว่าจะมีร่องน้ำขนาดใหญ่และเล็กตลอดเส้นทาง มีสระน้ำ มีแปลงเกษตรปลูกพืชผัก มีกังหันน้ำชัยพัฒนา มีการปลูกหญ้าแฝกในน้ำ และอื่นๆ อีกมากมาย จบการเดินเที่ยวชม ที่รับสาระความรู้และความเพลิดเพลินเดินอย่างไม่รู้เหนื่อยกันไป เดินชม ตาดู หูฟังและปากถามเจ้าหน้าที่ไม่ลดละ เพียงเพราะว่าสิ่งที่เราคิดว่า ‘เรารู้' กลายเป็นสิ่งที่เราไม่เคยรู้มาก่อน นั่นเป็นเพราะความเคยชินกับโครงการต่างๆ หรือทฤษฎีต่างๆ แต่ไม่เคยปฏิบัติหรือมาสัมผัสจริง การเดินทาง : จากแยกรังสิต ไปทาง อ.องครักษ์ มุ่งหน้าไปใช้เส้นนครนายก-น้ำตกนางรอง ผ่านวังตะไคร้ ก่อนถึงน้ำตกนางรอง 2 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าโครงการเขื่อนขุนด่านปราการชล ตรงไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงวงเวียน (มีรูปปั้นช้าง) วนขวาข้ามสะพาน ถึงสี่แยกเลี้ยวขวาตรงไปอีก 200 เมตร ศูนย์ฯ จะอยู่ทางซ้ายมือ
นครนายก
ศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสาน
ฉะเชิงเทรา