คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรผ้ามัดหมี่ย้อมคราม
กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรผ้ามัดหมี่ย้อมคราม ตำบลบ้านแดง อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี
Image
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
เปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันจันทร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันอังคาร
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพุธ
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันศุกร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันเสาร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
เป็นกลุ่มแม่บ้านที่ทอผ้ามัดหมี่ย้อมครามใช้สีจากธรรมชาติ ถือเป็นสินค้า OTOP นำสิ่งที่บ้านนาข่า กรุงเทพ บ้านเชียง และทอตามที่มีออเดอร์จากลูกค้าสั่งมา จึงถือเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนตำบลบ้านแดง
ประวัติความเป็นมา
เดิมกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดงยาง หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านแดง จัดตั้งเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2525 มีสมาชกเริ่มจัดตั้ง 27 คน ต่อมาประชากรเพิ่มขึ้น การปกครอง การดูแลเอาใจใส่ของผู้นำหมู่บ้านดูแลไม่ทั่วถึงจึงได้แยกหมู่บ้านพรพิบูลย์ออกจากบ้านดงยาง เป็นหมู่บ้านพรพิบูลย์ หมู่ที่ 15 ตำบลบ้านแดง และปัจจุบัน มีสมาชิกกลุ่มทอผ้า เพิ่มขึ้นเป็น จำนวน 75 คน มีที่ทำการกลุ่มตั้งอยู่ที่ “ศูนย์แสดงผลิตภัณฑ์ผ้ามัดหมี่ย้อมคราม” หมู่ที่ 15 ตำบลบ้านแดง อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี สมาชิกส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา อาชีพเสริมเพิ่มรายได้ คือ หัตถกรรมสิ่งทอจากผ้าฝ้ายมัดหมี่ย้อมครามธรรมชาติ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญามาจากบรรพบุรุษหลายชั่วคน ตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ราษฎรในหมู่บ้านจะทอผ้าไว้ใช้เองในครัวเรือน โดยใช้ครามย้อมสี ทอได้จะนำไปตัดเสื้อ ใส่ไปทำนา ทำสวน ทำไร่ และเย็บเป็นผ้าถุงใส่ไปวัด ทำบุญงานประเพณีต่าง ๆ หรือใช้เป็นของฝาก ต่อมาในปี 2536 กลุ่มได้มีการริเริ่มฟื้นฟูการทอผ้าซึ่งเคยทำมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ โดยมีนายทุนจากจังหวัดหนองคาย มาให้คำแนะนะในการออกแบบลวดลายผ้า พร้อมทั้งนำแบบลายผ้าที่ทันสมัยมาสอนปละฝึกทำ พัฒนาการแต้มสีลวดลายของการมัดหมี่ จะได้ลายผ้าและมีสีสันที่สวยงามกว่าแบบดั้งเดิม และส่งผ้าที่ทอเสร็จเรียบร้อยแล้วให้นายทุนนำไปแปรรูปเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูป และขายเป็นผ้าชิ้น ในราคาที่สูงมาก แต่ในนามผ้าของจังหวัดหนองคาย และราษฎรบางคนทอผ้าได้ก็นำไปขายที่ตลาดนาข่า ก็จะเป็นผ้าของนาข่า ไม่มีชื่อผ้าบ้านดงยาง พิบูลย์รักษ์เลย ในปี 2541 หน่วยงานภาคราชการ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพิบูลย์รักษ์ สำนักงานเกษตรอำเภอพิบูลย์รักษ์ ได้เข้าไปแนะนำในเรื่องการบริหารจัดการกลุ่ม กลุ่มจึงได้มีการระดมหุ้นเพื่อเป็นกองทนในการบริหารจัดการกลุ่ม หุ้นละ 100 บาท โดยดำเนินการทอผ้าที่ใต้ถุนบ้านตนเอง เนื่องจากยังไม่มีศูนย์รวม หรือที่ทำการเป็นของกลุ่ม แต่จะมีกรรมการฝ่ายผลิต และฝ่ายควบคุมคุณภาพ ออกติดตามและให้คำแนะนำตลอดเวลา เพื่อให้ได้ผ้าที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาด และในปี 2542 กรมส่งเสริมการเกษตร ได้สนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นทุนในการดำเนินงานอีก จำนวน 100,000 บาท ซึ่งในช่วงนี้เอง ทำให้สมาชิกกลุ่มทุกคนได้มีเงินทุนหมุนเวียนมากขึ้น การผลิตผ้าทอก็เพิ่มมากขึ้น จนทำให้ผ้าทอไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ก็ยังจำหน่ายให้กับพ่อค้าชาวหนองคาย และนาข่าเหมือนเดิม จนกระทั่งในปี 2543-2544 สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพิบูลย์รักษ์ ได้เข้าไปพบปะพูดคุยกับกลุ่มทอผ้าเพื่อเปิดตัวผลิตภัณฑ์ผ้ามัดหมี่ย้อมครามในนามของผ้าบ้านดงยาง ตำบลบ้านแดง อำเภอพิบูลย์รักษ์ ซึ่งมีนางสมร คำวิเศษ เป็นประธานกลุ่ม และในสมัยนั้นเป็นสมัยของรัฐบาลนายกทักษิณ ชินวัตร ได้จัดให้มีโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ขึ้น กลุ่มทอผ้าบ้านดงยาง จึงได้รับคัดเลือกให้เป็นสินค้า หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของตำบลบ้านแดง อำเภอพิบูลย์รักษ์ ตั้งแต่ปี 2544 จนถึง ปี 2546 ผ้ามัดหมี่ย้อมครามบ้าน ดงยาง ก็ได้รับคัดเลือกให้เป็นผลิตภัณฑ์เด่น 1 ใน 10 ผลิตภัณฑ์เด่นของจังหวัดอุดรธานีด้วย จึงเป็นที่รู้จักของคนทั่วไดตั้งแต่นั้นมา และในขณะเดียวกันกรมส่งเสริมการเกษตร ได้สนับสนุนงบประมาณอีก จำนวน 1,350,000 บาท เพื่อสร้างอาคารศูนย์แสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในปัจจุบัน
ลักษณะเด่น
มีผ้ามัดหมี่ที่ย้อมจากธรรมชาติ จนสร้างชื่อเสียงให้กับชาวบ้านตำบลบ้านแดง และได้จัดส่งถึงบ้านเชียง นาข่า และกรุงเทพโดยส่วนมากกลุ่มแม่บ้านจะทอผ้าซิ่นโบราณ เสื่อปึกค้างคาว ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ และกระเป๋า
ที่มาข้อมูล
Thailand Tourism Directory
ข้อมูลแนะนำ
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: ไม่มีค่าใช้จ่าย
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์กล้วยสุพรรณบุรี เป็นวิสาหกิจชุมชนเกษตรพอเพียง อนุรักษ์พันธุ์กล้วยหายากในประเทศไทย ได้รวมสายพันธุ์กล้วยมากมายถึง 108 ชนิด โดยเฉพาะของสุพรรณบุรีเอง
สุพรรณบุรี
ขายอินทผลัมผลสด,แห้ง ขายต้นพันธ์(เนื้อเยื่อ) รับปลูก,ระบบน้ำอัตโนมัติ รับทำสวนทั้งระบบ
อุบลราชธานี
เป็นหมู่บ้านโครงการนำร่องหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงเกษตรซึ่งชาวสวนทุเรียนในหมู่บ้านนี้ได้มีการรวมกลุ่มเกษตรกรโดยใช้ชื่อกลุ่มว่า “กลุ่มผู้ผลิตทุเรียนคุณภาพดีบ้านซำตารมย์” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการเกษตร และตรวจรับรองคุณภาพผลผลิตโดยกรมวิชาการเกษตร ทำให้กลุ่มฯ กล้ารับประกันในเรื่องของคุณภาพผลผลิตของสมาชิก ประธานกลุ่มคือ นายทศพล สุวะจันทร์ ซึ่งเป็นเจ้าของสวนทศพล ที่เป็นจุดเชื่อมเครือข่ายในการท่องเที่ยวเกษตรมีผลผลิตทางการเกษตรตลอดทั้งปี ได้แก่ เงาะ ทุเรียน สะตอ มังคุด ลองกอง ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีสวนทับทิม ซึ่งเป็นอีกจุดที่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมสวน พร้อมทั้งสามารถเลือกซื้อผลไม้ได้อย่างสะดวกสบาย พร้อมทั้งยังมี “กระเทียมโทนดองน้ำผึ้ง” เป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์(OTOP) ที่มีชื่อเสียงของชุมชน นักท่องเที่ยวจะได้ร่วมกิจกรรมชิมผลไม้สดๆ จากสวน ร่วมเรียนรู้วิถีชีวิตชาวสวนผลไม้ภาคอีสานตอนล่าง ศึกษาวัฒนาธรรมชุมชน และสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวแหล่งใกล้เคียงได้อีกด้วย โปรแกรมการท่องเที่ยว: - แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ น้ำตกสำโรงเกียรติ อำเภอขุนหาญ ระยะทาง 25 กิโลเมตร - วัดป่ามหาเจดีย์แก้ว (วัดล้านขวด) อำเภอขุนหาญ ระยะทาง 60 กิโลเมตร - แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรสวนไม้ผลตำบลภูเงิน อำเภอกันทรลักษ์ ระยะทาง 14 กิโลเมตร - แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ผามออีแดง อำเภอกันทรลักษ์ ระยะทาง 105 กิโลเมตร เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ: 1. น้ำตกสำโรงเกียรติ ระยะทาง 25 กม. 2. วัดล้านขวด ระยะทาง 60 กม.
ศรีสะเกษ
ศูนย์ฯนี้ มีเครื่องกลั่นสมุนไพรไล่แมลง อาทิ ตะไคร้หอม บระเพ็ด เพื่อนำไปฉีดในไร่และสวนผัก อีกเครื่องหนึ่งเป็นเครื่องอบพลีงงานแสงอาทิตย์ สนับสนุนโดยกระทรวงพลังานได้มามอบให้เพื่อใช้อบชาดาวเรือง สรรพคุณคือบำรุงสายตา ลดความดัน ซึ่
ระยอง
กลุ่มท่องเที่ยวเชิงเกษตรอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบไปด้วยสวนเกษตรอินทรีย์ 6 สวนดังนี้ - สวนจันทร์ชื่น ตั้งอยู่ที่ 8 ม.8 ต.แสนสุข อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เอกลักษณ์ของสวนจะมีการทำบ่อปลาร่วมกับเกษตรอินทรีย์ผสมผสาน เช่น มะพร้าวน้ำหอม ,กล้วยหอมทอง,เตยหอม,และผลไม้อื่นๆอีกมากมาย - สวนสละอุบล(สละอินโด) ตั้งอยู่ที่ 162 ม.10 ต.คำขวาง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เอกลักษณ์ของสวนจะเป็นการทำเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสาน เช่น สละอินโด กล้วยสายพันธุ์ต่างๆ มะละกอหลากหลายสายพันธุ์ ไม้ประดับนกน้อยนำโชคและใบไม้สีทอง - บ้านกะสวน ตั้งอยู่ที่ 235 ม.10 ต.ธาตุ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เอกลักษณ์ของสวนจะเป็นการทำเกษตรอินทรีย์ผสมผสาน เช่น มัลเบอร์รี่ ,มะเดื่อฝรั่ง,หญ้าหวาน และพืชผัก ผลไม้อีกหลากหลายสายพันธุ์ จุดเด่นจะมีผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากผลผลิตภายในสวน - นิรมลฟาร์มม้า ตั้งอยู่ที่ 227 ม.1 ต.คำขวาง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เอกลักษณ์ของสวนจะอยู่ที่เป็นฟาร์มม้า มีม้าหลากหลายสายพันธุ์มีรถม้า ซึ่งเป็นสัญลักษณ์อดีตของอำเภอวารินชำราบ มีสนามสำหรับขี่ม้า และมีการทำเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสาน - สวนลิ้นจี่สุวรรณกูฎ ตั้งอยู่ที่ 86 ม. 8 ตำบลธาตุ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เอกลักษณ์ของสวนจะเป็นสวนผลไม้อินทรีย์ผสมผสาน เช่น ลิ้นจี่ ,แก้วมังกร ,ฟาร์มเห็ด ,กล้วย ,มังคุด ,ขนุน ,ทุเรียน โดยในสวนจะมีร้านกาแฟและอาหารที่นำผลผลิตจากภายในส่วนมาเป็นวัตถุดิบในการทำอาหาร - สวนรัชภูโต ตั้งอยู่ที่ 59 ม.10 ต.แสนสุข อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เอกลักษณ์ของสวน จะเป็นการทำสวนเกษตรอินทรีย์ผสมผสาน เช่น มะเม่า ,กล้วยหอมคาเวนดิช ,มะละกอ พืช ผักอินทรีย์ จุดเด่นจะเป็นสถานที่เรียนรู้ระบบธนาคารน้ำใต้ดิน โปรแกรมการท่องเที่ยว: โปรแกรมท่องเที่ยว 2 วัน 1 คืน ราคา 990/คน (30 คน) รูปแบบกิจกรรม ของกลุ่มท่องเที่ยวเชิงเกษตรและแปรรูปผักผลไม้อินทรีย์ วันที่ 1 9:00-11:00 สวนรัชภูโต  ต้อนรับนักท่องเที่ยวด้วยพวงมาลัยดอกไม้  เดินชมสวนเกษตรผสมผสาน  เรียนรู้ระบบธนาคารน้ำใต้ดิน  เบรก ด้วยผลิตภัณฑ์จากสวน  กิจกรรมเพาะปลูกพืชผัก นำพืชผักที่เพาะปลูกกลับได้ด้วย 11:30-13:30 สวนสละอุบลสละอินโด  รับประทานอาหารเที่ยง อาหารพื้นบ้าน (ข้าวป่า)  เดินชมสวน /ผลไม้ตามฤดูกาล  เรียนรู้การตอนมะละกอ  กิจกรรม เพาะสละอินโด รับต้นไม้ที่เพาะกลับได้ด้วย 14:00-16:00 บ้านกะสวน  เดินชมสวนเก็บผลไม้ทำกิจกรรม  เบรก ด้วยผลิตภัณฑ์จากสวน  เรียนรู้พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ  กิจกรรมแปรรูป มัลเบอร์รี่,มะเดื่อฝรั่ง,หญ้าหวาน  แนะนำผลิตภัณฑ์ของกลุ่มและรับของฝากจากสวน 16:30-18:00 นิรมลฟาร์มม้า  ขี่รถม้า จากบ้านกะสวน ไปยัง นิรมลฟาร์มม้า  ขี่ม้า/เดินชมสวนเกษตรผสมผสาน  เรียนรู้การขี่ม้าเบื้องต้น  กิจกรรมร่วมกับม้า การขี่ม้า,บังคับม้า,ถ่ายภาพกับม้า,อาบน้ำม้า ,โชว์ม้าแสนรู้ สถานที่พักค้าคืน นิรมลฟาร์มม้า หรือ สวนลิ้นจี่สุวรรณกูฏ 19:00-22:00 นิรมลฟาร์มม้า (กางเต้นท์นอน สไตล์คาวบอย) หรือ สวนลิ้นจี่สุวรรณกูฏ  รับประทานอาหารเย็น  รำบายศรี ,การแสดงชุมชน  กิจกรรมนันทนาการ วันที่ 2 7:00 – 8:30 นิรมลฟาร์มม้า หรือ สวนลิ้นจี่สุวรรณกูฏ  ตักบาตร ,ฟังธรรม  รับประทานอาหารเช้า 9:00-11:00 สวนลิ้นจี่สุวรรณกูฏ  เดินชมสวนลิ้นจี่,แก้วมังกร/ผลไม้ตามฤดูกาล  เบรก ด้วยผลิตภัณฑ์จากสวน  เรียนรู้การเพาะเห็ดนางฟ้า  กิจกรรมฟาร์มเห็ด นำก้อนเห็ดกลับได้ด้วย 11:30-13:30 สวนจันทร์ชื่น  เดินชมสวน/ผลไม้ตามฤดูกาล/ให้อาหารปลา  เรียนรู้การทำปุ๋ยหมักไม่กลับกอง  กิจกรรมเพาะชำต้นไม้ นำต้นไม้ที่เพาะชำกลับได้ด้วย  รับประทานอาหารเที่ยง เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ: - วัดหนองป่าพง (หลวงปูชา) 12 กิโลเมตร - ฟาร์มฮัก ป.อุบล 15 กิโลเมตร - ทุ่งหนองหญ้าม้า 5 กิโลเมตร - สวนไม้ดอกไม้ประดับบ้านตาติด 15 กิโลเมตร - หาดคูเดื่อ 15 กิโลเมตร - ท่องเที่ยวชุมชนใกล้เคียง(จักรยาน) แปลงผัก,แปลงดอกไม้,ฟาร์มเลี้ยงหนูนา,วัดคำขวาง,บ้านสมุนไพร
อุบลราชธานี
เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวช่วยอุดหนุน หลังแวะไปเสพวิวงามๆ สูดอากาศบริสุทธิ์ ชมวิถีชีวิตชาวบ้าน ชิมอาหารท้องถิ่น แล้วยืนแอ็กท่าถ่ายรูปแบบชิลๆกับผลองุ่นสีสุดสวยแชร์ในเฟซบุ๊ก
กำแพงเพชร
เป็นสวนผลไม้ขนาดใหญ่บนพื้นที่กว่า 500 ไร่ มีรถบริการให้นักท่องเที่ยวนั่งชมสวนและรับประทานผลไม้ในรูปแบบบุฟเฟ่ต์ในช่วงฤดูผลไม้ ทั้ง เงาะ มังคุด ลำไย ส้มโอ ฯลฯ และในช่วงฤดูหนาว สวนละไมจะเปิดให้ชมไร่สตอเบอรี่ และ ทุ่งดอกคอสมอสสีสันสวยงาม และยังมีฟาร์มแกะเอาใจคนรักสัตว์ไว้ให้ป้อนนม และถ่ายรูปกับแกะแสนรู้อีกด้วย
ระยอง
สวนเกษตรปลูกผักปลอดสารเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน
แพร่
สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือที่ผ่านมา คือ การทดสอบพันธุ์ไม้ผลเมืองหนาวสำหรับปลูกในพื้นที่สูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งได้แก่ พันธุ์แอปเปิล พันธุ์ท้อสำหรับรับประทานสด และพันนอกจากนี้สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือยังได้มีความพยายามที่จะทำการรวบรวมและศึกษาพันธุ์องุ่นสำหรับทำไวน์ รวมทั้งองุ่นสำหรับรับประทานสด เพื่อพัฒนาพันธุ์และส่งเสริมให้เกษตรกรในจังหวัดเลยทำการปลูกต่อไปอีกด้วย
เลย
โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์พืชเศรษฐกิจ พืชพันธุ์ดีของอำเภอท่ายาง และของจังหวัดเพชรบุรี เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรแก่เกษตรกร
เพชรบุรี
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชมาเป็นเวลานาน ก่อนคำว่า “ความหลากหลายทางชีวภาพ (BIOLOAGICAL DIVERSITY)”และอนุรักษ์ (COUSERVATION) จะเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย จากการเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี พ.ศ. 2503 เมื่อเสด็จผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ทอดพระเนตรเห็น ต้นยางนาขนาดใหญ่ขึ้นเป็นจำนวนมาก ทรงมีพระราชทานให้เก็บเมล็ดพันธุ์ยางนาไปเพาะที่ตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน และนำต้นยางนาที่เพาะได้ นำมาปลูก ในสวนจิตรลดา เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ทรงมีพระราชทานพระราชดำริให้ทำการอนุรักษ์ต้นขนุนในพระบรมมหาราชวัง และได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์พรรณไม้ ในพระราชวังต่างๆ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ทรงมีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์ และขยายพันธุ์หวายรวมทั้งดำเนินการจัดสร้างสวนสมุนไพรในโครงการสวนพระองค์ ฯ สวนจิตรลดา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามพระบรมราชกุมารี ทรงสืบต่องานอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยทรงมีพระราชดำริกับท่านเลขาธิการพระราชวัง ให้มีการดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ ในเดือน มิถุนายน 2535 ซึ่งมีโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้จัดสร้างธนาคารพืชพรรณสำหรับเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อรวมทั้งการศึกษาที่มิใช่พืชเศรษฐกิจให้มีการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยนำพระราชดำริ มาเป็นกรอบในการดำเนินการ เมื่อปี พ.ศ. 2536 นายสุจินต์ ภูนิคม กำนันตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร และคณะได้ประสานงานหารือกับผู้อำนวยการบริษัทอุลตร้าโปรดักส์ จำกัด และเกษตรกรจังหวัดชุมพรในการนำพื้นที่สาธารณะประโยชน์ซึ่งตั้ง ณ หมู่ที่ 6 ตำบลสลุย (ปัจจุบัน หมู่ที่ 5,6 ตำบลสลุย และ หมู่ที่ 4 ,7 ตำบลสองพี่น้อง) เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ ซึ่งขณะนั้น โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาก็กำลังจัดหาพื้นที่เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อมาทางโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โดยศาสตราจารย์พิเศษประชิด วามานนท์ (ที่ปรึกษาโครงการส่วนพระองค์) พร้อมคณะได้เดินทางมาพบผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร (นายประยูร พรหมพันธุ์) เพื่อปรึกษาหารือในการจัดทำโครงการโดยใน ระยะ 5 ปี แรกได้ใช้ ชื่อโครงการว่า “โครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณไม้ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร” โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร จึงได้ทำโครงการเสนอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรและได้จัดส่งเอกสารโครงการไปยังผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อโปรดนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองพระบาทในโอกาสอันสมควรและทางโครงการส่วนพระองค์ได้แจ้งตอบรับ เรื่องการนำโครงการอนุรักษ์พันธุไม้และพิพัฒน์พรรณพืชฯ จังหวัดชุมพร ทราบฝ่าละอองพระบาท เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2536 และในการดำเนินโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้ผนวกโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ และพิพัฒน์พรรณพืชของจังหวัดชุมพร เข้ากับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริในส่วนกลางมีดร.พิศิษฐ์ วรอุไร เป็นประธานคณะกรรมการ และจากการประชุมกรรมการ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 ที่ประชุมมีมติเปลี่ยนชื่อโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณพืช ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร เป็นชื่อ “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร”
ชุมพร
1.เป็นศูนย์เรียนรู้สวนเอเดนเกษตรอินทรีย์เศรษฐกิจพอเพียง 2.การทำแก๊สชีวภาพใช้ในครัวเรือน 3.การทำปุ๋ยอินทรีย์และการทำน้ำหมักชีภาพ 4.การใช้ควายไถนาสู่วิถีชีวิตดั้งเดิม 5.การฝายชะลอน้ำและการฟื้นฟูป่าเพื่อเป็นแหล่งน้ำ(ปลูกป่า) 6.การทำหมูหลุม ควายหลุุม ไก่ และอื่นๆ 7.การปลูกพืชผักอินทรีย์และผลไม้อินทรีย์(ผสมผสาน) 8.การประมง
เชียงราย