คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
“ท่องเที่ยววิถีเกษตร ในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร”
“ท่องเที่ยววิถีเกษตร ในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร” หมู่4 ตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
เปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันจันทร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันอังคาร
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพุธ
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันศุกร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันเสาร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชมาเป็นเวลานาน ก่อนคำว่า “ความหลากหลายทางชีวภาพ (BIOLOAGICAL DIVERSITY)”และอนุรักษ์ (COUSERVATION) จะเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย จากการเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี พ.ศ. 2503 เมื่อเสด็จผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ทอดพระเนตรเห็น ต้นยางนาขนาดใหญ่ขึ้นเป็นจำนวนมาก ทรงมีพระราชทานให้เก็บเมล็ดพันธุ์ยางนาไปเพาะที่ตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน และนำต้นยางนาที่เพาะได้ นำมาปลูก ในสวนจิตรลดา เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ทรงมีพระราชทานพระราชดำริให้ทำการอนุรักษ์ต้นขนุนในพระบรมมหาราชวัง และได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์พรรณไม้ ในพระราชวังต่างๆ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ทรงมีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์ และขยายพันธุ์หวายรวมทั้งดำเนินการจัดสร้างสวนสมุนไพรในโครงการสวนพระองค์ ฯ สวนจิตรลดา
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามพระบรมราชกุมารี ทรงสืบต่องานอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยทรงมีพระราชดำริกับท่านเลขาธิการพระราชวัง ให้มีการดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ ในเดือน มิถุนายน 2535 ซึ่งมีโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้จัดสร้างธนาคารพืชพรรณสำหรับเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อรวมทั้งการศึกษาที่มิใช่พืชเศรษฐกิจให้มีการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยนำพระราชดำริ มาเป็นกรอบในการดำเนินการ
เมื่อปี พ.ศ. 2536 นายสุจินต์ ภูนิคม กำนันตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร และคณะได้ประสานงานหารือกับผู้อำนวยการบริษัทอุลตร้าโปรดักส์ จำกัด และเกษตรกรจังหวัดชุมพรในการนำพื้นที่สาธารณะประโยชน์ซึ่งตั้ง ณ หมู่ที่ 6 ตำบลสลุย (ปัจจุบัน หมู่ที่ 5,6 ตำบลสลุย และ หมู่ที่ 4 ,7 ตำบลสองพี่น้อง) เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ ซึ่งขณะนั้น โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาก็กำลังจัดหาพื้นที่เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ต่อมาทางโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โดยศาสตราจารย์พิเศษประชิด วามานนท์ (ที่ปรึกษาโครงการส่วนพระองค์) พร้อมคณะได้เดินทางมาพบผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร (นายประยูร พรหมพันธุ์)
เพื่อปรึกษาหารือในการจัดทำโครงการโดยใน ระยะ 5 ปี แรกได้ใช้ ชื่อโครงการว่า “โครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณไม้ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร” โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร จึงได้ทำโครงการเสนอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรและได้จัดส่งเอกสารโครงการไปยังผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อโปรดนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองพระบาทในโอกาสอันสมควรและทางโครงการส่วนพระองค์ได้แจ้งตอบรับ เรื่องการนำโครงการอนุรักษ์พันธุไม้และพิพัฒน์พรรณพืชฯ จังหวัดชุมพร ทราบฝ่าละอองพระบาท เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2536 และในการดำเนินโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้ผนวกโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ และพิพัฒน์พรรณพืชของจังหวัดชุมพร เข้ากับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริในส่วนกลางมีดร.พิศิษฐ์ วรอุไร เป็นประธานคณะกรรมการ และจากการประชุมกรรมการ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 ที่ประชุมมีมติเปลี่ยนชื่อโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณพืช ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร เป็นชื่อ “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร”

ประวัติความเป็นมา
ตั้งอยู่หมู่ที่ 4,7 ตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่าแซะ เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่ารับร่อ และป่าสลุย ลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ ประเภท ลูกคลื่น ลอนตื้น-ลึก และพื้นที่ภูเขา มีแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นลำคลอง 2 สาย คือ คลองโอน และคลองอาธรรม พืชพันธุ์ไม้เดิมถูกทำลายเสียหายโดยพายุใต้ฝุ่นเกย์ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2532 จากนั้นคนในชุมชนได้ร่วมกันปลูกพันธุ์ไม้ท้องถิ่นเพื่อเป็นการฟื้นฟู และอนุรักษ์พืชท้องถิ่นให้คงอยู่
ลักษณะเด่น
รวบรวมพันธุ์พืชท้องถิ่นในชุมชน
ที่มาข้อมูล
Thailand Tourism Directory
ข้อมูลแนะนำ
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: ไม่มีค่าใช้จ่าย
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
ไร่องุ่นคุณมาลี เป็นไร่องุ่นที่มีทั้งองุ่นสดๆ และผลิตภัณฑ์จากองุ่น หลากชนิด พิกัด : https://goo.gl/maps/yCPKN5GAqmRaeCAp7
สระบุรี
น้ำตก ผาสวรรค์ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ลดหลั่นกันถึง 7 ชั้น และยังคงความสมบูรณ์ตาม ธรรมชาติ ชื่อน้ำตกผาสวรรค์ เนื่องจากสายน้ำตกไหลตกลงมาจากหน้าผาสูง โดยเฉพาะชั้นสูงที่สุดมีความสูง 80 เมตร ชาวบ้านจึงเปรียบเทียบว่าน้ำตกไหลลงมาจากสวรรค์ ช่วงเวลาที่สวยงามมีน้ำมากอยู่ในช่วงหลังฤดูฝน การเดินทาง จากอำเภอทองผาภูมิใช้ทางหลวงหมายเลข 323 กาญจนบุรี-ทองผาภูมิ รวมระยะทาง 33.8 กิโลเมตร หรือจากตัวเมืองกาญจนบุรีใช้ทางหลวงหมายเลข 323 กาญจนบุรี-ทองผาภูมิ บริเวณกิโลเมตรที่ 109 เลี้ยวซ้ายผ่านบ้านสหกรณ์นิคมเข้าไป 15 กิโลเมตร และเลี้ยวขวาบริเวณทางแยกดินลูกรัง 13 กิโลเมตร รวมระยะทาง 155 กิโลเมตร หรือใช้เส้นทางเชื่อมต่อจากน้ำตกผาตาด หรือขับรถจากน้ำตกห้วยแม่ขมิ้น ผ่านเหมืองเนินสวรรค์ หมู่บ้านสะพานลาว ระยะทาง 42 กิโลเมตร ถึงทางแยกบริเวณโครงการปลูกป่า เลี้ยวซ้าย 13 กิโลเมตร ถึงที่จอดรถ เดินเท้าต่ออีก 40 นาที ถึงตัวน้ำตก เดินทางในฤดูฝนควรใช้รถยนต์ขับเคลื่อนสี่ล้อ
กาญจนบุรี
บ้านสวนขวัญจังหวัดลพบุรี อยู่ที่ตำบลมหาสอน อำเภอบ้านหมี่ เรียนรู้วิถีชุมชนบ้านมหาสอน ชุมชนที่อยู่ติดลุ่มน้ำบางขาม เป็นแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ทิวทัศน์สวยงามสงบเหมาะแก่การพักผ่อน และในอดีตมีฉายาว่าอู่ข้าว ซึ่งเป็นพื้นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การปลูกข้าวจึงทำให้ข้าวที่เพาะปลูกบริเวณนี้มีคุณภาพที่ดี ทั้งยังมีประวัติศาสตร์ยาวนานมากกว่าพันปีในยุคทราวดีต้นกำเนินธิดาเมืองละโว้ พระนางจามเทวี และ เรียนรู้การพึ่งตนเองน้อมนำศาสตร์พระราชา ทั้งยังมีอาหารพื้นบ้านและผลผลิตทางการเกษตรสด ๆ ปลอดภัยไร้สารเคมีมาให้นักท่องเที่ยวได้ชิมและซื้อกลับ สัมผัสการท่องเที่ยวภูมิปัญญาและวิถีชุมชนโดยการนั่งรถอีแต๋น และ ทำกิจกรรมพึ่งตนเองที่ฟาร์ม ล่องแพไม้ไผ่ยามเย็นสัมผัสวิถีคนลุ่มน้ำ บางเวลา ณ. บางขาม โปรแกรมการท่องเที่ยว - บ้านสวนขวัญ เรียนรู้การพึ่งพาตนเองด้วยศาสตร์พระราชา,การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง,พิพิธภัณฑ์โรงสีข้าว,การทำพิซซ่าเตาถ่าน,แช่มือ แช่เท้า ด้วยสมุนไพร จากภูมิปัญญาของชุมชน,ทำขนมไทย,ล่องแพเปียก              - นั่งอีแต๋น ชมวิถีชุมชน เรียนรู้การสานตะกร้าหวาย,การทำแคปหมู,การเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด,การทำผลิตภัณฑ์ จากผักตบชวา,ชมบ้านไทยโบราณ,ชมวิถีชาวนาไทย,การดำนา,การเกี่ยวข้าว เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ (พร้อมระยะทาง/กม.) - วัลลภาฟาร์ม ต.เขาพระงาม อ.เมือง  จ.ลพบุรี ระยะทาง 35 กม.                           - บ้านดินมดแดง  ต.โคกตูม อ.เมือง จ.ลพบุรี ระยะทาง 65 กม.                           - กลุ่มชาติพันธ์  ต.บ้านทราย อ.บ้านหมี่  จ.ลพบุรี ระยะทาง 15  กม.                           - ผลิตภัณฑ์ขนมไทย    ต.ทองเอน อ.อินทร์บุรี   จ.สิงห์บุรี ระยะทาง 25  กม. สินค้าวิสาหกิจชุมชนในชุมชน  -ไข่เค็ม พอกด้วยดินสอพอง+ใบเตย,แคปหมู,น้ำพริกแดง,น้ำพริกขี้กา,ผลิตผลทางการ  เกษตรตามฤดูกาล,ตะกร้าหวาย สินค้า OTOP
ลพบุรี
สวนเกษตรปลูกผักปลอดสารเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน
แพร่
บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยเท้าพ่อเป็นฐานการเรียนรู้เกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ ภายในบ้านเป็นสวนผสม ปลูกพืชผักเพื่อบริโภคในครอบครัว โดยยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงเป็นแนวทางการดำเนินชีวิต และครูยังเป็นต้นแบบในการปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ในถังพลาสติก จำนวน 400 ถัง และเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วจะได้ข้าวเปลือกประมาณกว่า 20 ถัง ซึ่งเพียงพอสำหรับการบริโภคภายในครอบครัวได้ทั้งปี ต่อมาได้มีชาวบ้าน และชาวต่างชาติรู้ข่าวจึงได้มาดู และขอดูถ่ายรูปเป็นจำนวนมาก และได้เป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องการทำการเกษตรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักเรียนนักศึกษาและผู้ที่สนใจอีกด้วย
ชุมพร
? พิกัดฟาร์ม : https://maps.app.goo.gl/i7ouTVpvLiGX39Je9 ☎️ โทรศัพท์ : 062-351-4593 ⏰ เปิดบริการทุกวัน : 07.00 - 18.00 น
กำแพงเพชร
โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์พืชเศรษฐกิจ พืชพันธุ์ดีของอำเภอท่ายาง และของจังหวัดเพชรบุรี เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรแก่เกษตรกร
เพชรบุรี
บ้านไร่ไชยสุริย์ ตำบลศรีบุญเรือง อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร เป็นศูนย์เรียนรู้การสร้างอาชีพ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ให้กับประชาชนและสามรถที่นักท่องเที่ยวสามารถเยี่ยมชมการเกษตรต่างๆเพื่อนำไปปรับใช้เป็นอาชีพของตนเองได้
มุกดาหาร
ศูนย์ศึกษาพัฒนาการสังคมหมู่บ้าน(วนเกษตร) หรือ บ้านศานติธรรม ภายในอาณาบริเวณเกือบ 10 ไร่ มีพันะุ์ไม้กว่า 700-800 ชนิด เป็นสมุนไพรรักษาโรคต่างๆ ภายในมีเรือนไม้แบบไทยมุงด้วยกระเบื้องว่าว ใต้ถุนสูงสำหรับประชุมหรือบรรยาย ชั้นบนใช้เก็บและแสดงเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้านวัตถุโบราณ ของใช้รุ่นเก่าต่างๆ ด้านหลังบ้านมียุ้งข้าวจำลองและอุปกรณ์นวดข้าว สีข้าว บริเวณบ้านส่วนหนึ่งจัดไว้เป็นที่สำหรับตั้งค่ายพักแรมสำหรับเยาวชน มีลานสันทนาการ และบริเวณทำกิจกรรม สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณวิบูลย์ เข็มเฉลิม
ฉะเชิงเทรา
เป็นพื้นที่รอยต่ออุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ทำให้พื้นที่บริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ และชาวบ้านที่นี่ทำสวนผลไม้ตามฤดูกาล เหมาะกับการท่องเที่ยวด้านธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีต้นไม้ขุดล้อม ขายกล้าพันธ์ไม้ และมีลานกางเต้น
สระบุรี
กิจกรรมให้ลูกค้าได้เที่ยวมี 3 ส่วนหลักๆ ดังนี้ - คาเฟ่มีสุข มีอาหารและเครื่องดื่มให้บริการ เมนูแนะนำคือ "กฤษณากาแฟ" ที่เราใช้ส่วนผสมจากกฤษณาสกัดมาเป็นหัวใจในเครื่องดื่มนี้ นอกจากความหอมเฉพาะตัวแล้วยังเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณค่าสรรพคุณต่างๆมากมาย มีอาหารถิ่นที่สร้างสรรค์ขึ้นจากชุมชนเพื่อให้ลูกค้าได้เข้าถึงวิถีชีวิตท้องถิ่นดั้งเดิมของมีสุขฟาร์ม สัมผัสบรรยากาศของป่ากฤษณาที่มีอายุกว่า30ปี เป็นป่าผสมผสานที่ได้รับรางวัลเกษตรกรแห่งชาติ บนพื้นที่กว่า200ไร่ เติมพลังแห่งความสุขกับธรรมชาติที่หาไม่ได้ทั่วไป - ถ่ายรูปสวยๆ เช็คอินในมีสุขฟาร์ม - ข้ามสะพานมีสุขเพื่อทิ้งความทุกข์และเก็บความสุขกลับไป - ให้อาหารน้องปลาบึก - ให้อาหารน้องหมูป่า - ชมน้องแพะและน้องกระบือภายในฟาร์ม - ภายเรือคายัก ในทะเลสาบมีสุข
ระยอง
บุฟเฟต์ผลไม้ ปันจักรยานและนั่งรถไถชมสวนผลไม้ จำหน่ายผลไม้คุณภาพ แและผลิตภัณฑ์แปรรูป ของฝาก
ระยอง