คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
สวนปาหนัน
สวนปาหนัน หมู่3 ตำบลตะพง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง
Image
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
เปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันจันทร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันอังคาร
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพุธ
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันศุกร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันเสาร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
สวนปาหนัน มีผลไม้ปลูกมากมายหลากหลายชนิดที่นี่ปลูกทั้งเงาะ มังคุด ลองกอง ทุเรียน โดยค่าใช้จ่ายในการมาเที่ยวสวนปาหนันช่วงเดือน พ.ค. - มิ.ย. ซึ่งเป็นช่วงที่มีผลไม้เต็มสวน จากนี้ที่นี่ยังมีบริการที่พักในสวนผลไม้ด้ว
ประวัติความเป็นมา
สวนผลไม้เก่าแก่แห่งหนึ่งของตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง สวนปาหนันเป็นสวนคุณอำนาจซึ่งเป็นเจ้าของ ได้บุกเบิก และทำสวนผลไม้มานาน บนพื้นที่ 12 ไร่ ปลูกผลไม้แบบผสมผสาน จนกระทั่งปี 2546 ทางอำเภอได้ชวนจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ให้ความรู้พร้อมกับจัดบุพเฟต์ผลไม้ และยังมีโฮมสเตย์ไว้รับรองนักท่องเที่ยวด้วย
ลักษณะเด่น
มีผลไม้หลายหลายชนิดให้ทาน ที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยธรรมชาติ ทำให้ผลผลิตมีรสชาติอร่อย
ที่มาข้อมูล
Thailand Tourism Directory
ข้อมูลแนะนำ
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: ไม่มีค่าใช้จ่าย
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
ผ้าไทย ถือเป็นหัตถกรรมและหัตถศิลป์มรดกอันล้ำค่าของเมืองไทย มีความงดงามของเส้นไหมที่เป็นเอกลักษณ์ลวดลายที่บ่งบอกถึงความเป็นไทย ทำให้เป็นผ้าไหมไทยได้รับความนิยม และโด่งดังไปทั่วโลกในอดีตผ้าไหมไทยถูกนำมาใช้ในหมู่สมาชิกของราชวงศ์ และข้าราชการเท่านั้น แต่ในยุคปัจจุบันผ้าไหมไทยก็เป็นที่นิยมในวงการแฟชั่น วงสังคมชั้นสูง และประชาชนทั่วไป เช่นกัน ผ้าไหมไทยเป็นผ้าที่นิยมใช้ในชุดแต่งงาน, ชุดไทย, ชุดไทยออกงานสำหรับสวมใส่ในงานปาร์ตี้ งานบุญ
ลำพูน
เดิมชื่อ “สวนเกษตรศิริ” เป็นสวนยางพาราผสมสวนผลไม้มากว่า 40 ปีแล้ว มีพื้นที่ ประมาณ 2,000 ไร่ ภูมิประเทศเป็นหุบเขา มีลำธารน้ำไหลผ่าน 3 สาย อุดมสมบูรณ์ ตลอดปี ต่อมาได้ถูกพัฒนาพื้นที่บางส่วนให้เป็นพื้นที่จัดสรร และใช้ชื่อโครงการว่า โครงการ “THE PARK” ที่มีการตกแต่งภูมิสถาปัตย์อย่างสวยงาม และมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน มีที่พัก ที่ทำกิจกรรม สวนผลไม้ แล้วยังมีร้านอาหารด้วยนะคะ กับกาแฟสด เครื่องดืม ขนม ของว่าง
ระยอง
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชมาเป็นเวลานาน ก่อนคำว่า “ความหลากหลายทางชีวภาพ (BIOLOAGICAL DIVERSITY)”และอนุรักษ์ (COUSERVATION) จะเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย จากการเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี พ.ศ. 2503 เมื่อเสด็จผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ทอดพระเนตรเห็น ต้นยางนาขนาดใหญ่ขึ้นเป็นจำนวนมาก ทรงมีพระราชทานให้เก็บเมล็ดพันธุ์ยางนาไปเพาะที่ตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน และนำต้นยางนาที่เพาะได้ นำมาปลูก ในสวนจิตรลดา เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ทรงมีพระราชทานพระราชดำริให้ทำการอนุรักษ์ต้นขนุนในพระบรมมหาราชวัง และได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์พรรณไม้ ในพระราชวังต่างๆ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ทรงมีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์ และขยายพันธุ์หวายรวมทั้งดำเนินการจัดสร้างสวนสมุนไพรในโครงการสวนพระองค์ ฯ สวนจิตรลดา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามพระบรมราชกุมารี ทรงสืบต่องานอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยทรงมีพระราชดำริกับท่านเลขาธิการพระราชวัง ให้มีการดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ ในเดือน มิถุนายน 2535 ซึ่งมีโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้จัดสร้างธนาคารพืชพรรณสำหรับเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อรวมทั้งการศึกษาที่มิใช่พืชเศรษฐกิจให้มีการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยนำพระราชดำริ มาเป็นกรอบในการดำเนินการ เมื่อปี พ.ศ. 2536 นายสุจินต์ ภูนิคม กำนันตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร และคณะได้ประสานงานหารือกับผู้อำนวยการบริษัทอุลตร้าโปรดักส์ จำกัด และเกษตรกรจังหวัดชุมพรในการนำพื้นที่สาธารณะประโยชน์ซึ่งตั้ง ณ หมู่ที่ 6 ตำบลสลุย (ปัจจุบัน หมู่ที่ 5,6 ตำบลสลุย และ หมู่ที่ 4 ,7 ตำบลสองพี่น้อง) เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ ซึ่งขณะนั้น โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาก็กำลังจัดหาพื้นที่เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อมาทางโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โดยศาสตราจารย์พิเศษประชิด วามานนท์ (ที่ปรึกษาโครงการส่วนพระองค์) พร้อมคณะได้เดินทางมาพบผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร (นายประยูร พรหมพันธุ์) เพื่อปรึกษาหารือในการจัดทำโครงการโดยใน ระยะ 5 ปี แรกได้ใช้ ชื่อโครงการว่า “โครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณไม้ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร” โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร จึงได้ทำโครงการเสนอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรและได้จัดส่งเอกสารโครงการไปยังผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อโปรดนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองพระบาทในโอกาสอันสมควรและทางโครงการส่วนพระองค์ได้แจ้งตอบรับ เรื่องการนำโครงการอนุรักษ์พันธุไม้และพิพัฒน์พรรณพืชฯ จังหวัดชุมพร ทราบฝ่าละอองพระบาท เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2536 และในการดำเนินโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้ผนวกโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ และพิพัฒน์พรรณพืชของจังหวัดชุมพร เข้ากับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริในส่วนกลางมีดร.พิศิษฐ์ วรอุไร เป็นประธานคณะกรรมการ และจากการประชุมกรรมการ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 ที่ประชุมมีมติเปลี่ยนชื่อโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณพืช ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร เป็นชื่อ “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร”
ชุมพร
เลี้ยงปูนาสร้างรายได้ ส่งขายในประเทศ-ต่างประเทศ เปิดเป็นศูนย์เรียนรู้และอนุรักษ์ขยายพันธุ์ รวมทั้งแปรรูปปูนาไทย แหล่งเรียนรู้ส่งเสริมอาชีพเกษตรกร
กำแพงเพชร
ชมสวนผลไม้ ชิมผลไม้สดจากสวน
ระยอง
ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์วิถีชุมชนตำบลสิบเอ็ดศอก แหล่งองค์ความรู้ สามารถเข้ามาศึกษาดูงาน เรียนรู้ลงมือปฏิบัติ ตามรอยเท้าพ่อ
ฉะเชิงเทรา
1.เป็นศูนย์เรียนรู้สวนเอเดนเกษตรอินทรีย์เศรษฐกิจพอเพียง 2.การทำแก๊สชีวภาพใช้ในครัวเรือน 3.การทำปุ๋ยอินทรีย์และการทำน้ำหมักชีภาพ 4.การใช้ควายไถนาสู่วิถีชีวิตดั้งเดิม 5.การฝายชะลอน้ำและการฟื้นฟูป่าเพื่อเป็นแหล่งน้ำ(ปลูกป่า) 6.การทำหมูหลุม ควายหลุุม ไก่ และอื่นๆ 7.การปลูกพืชผักอินทรีย์และผลไม้อินทรีย์(ผสมผสาน) 8.การประมง
เชียงราย
แปลงเกษตรการเรียนรู้ของศูนย์ส่งเสริมเยาวชนเกษตรอาเซียน จ.กาญจนบุรี ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ภายใต้ชื่อ “FYPC Garden” โดยภายในมีจุดเรียนรู้ทั้งหมด 7 จุด ที่พร้อมให้บริการประชาชนที่สนใจ ได้แก่ 1.แปลงเรียนรู้ไม้ดอกไม้ประดับ 2.จุดเรียนรู้การเลี้ยงจิ้งหรีด 3.แปลงเรียนรู้สมุนไพร 4.บ้านเกษตรสมบูรณ์ 5.แปลงรวบรวมพันธุ์กล้วย 6.แปลงเรียนรู้ผักอินทรีย์พื้นบ้าน 7.จุดเรียนรู้การเลี้ยงชันโรง และปลูกต้นทานตะวันในพื้นที่แปลงเรียนรู้ เพื่อความสวยงามและเป็นจุดถ่ายภาพให้กับประชาชนที่เข้ามาใช้บริการ
กาญจนบุรี
สายน้ำประวัติศาสตร์กับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ลงตัว "ล่องเรือชมสวนเลียบคลองมหาสวัสดิ์" เปลี่ยนทุนธรรมชาติ เป็นการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ลงตัว การท่องเที่ยวเชิงเกษตร "ล่องเรือชมสวนเลียบคลองมหาสวัสดิ์" เกิดจากแนวคิด ที่จะนำวิถีชีวิตของเกษตรกรที่ทำอยู่เป็นกิจวัตร มาผสานกับ " ทุนธรรมชาติ" ที่มีอยู่ คือทรัพยากรด้านการเกษตร การทำสวน ทำไร่ ไถนา ที่พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ทำสืบเนื่องมาจนถึงรุ่นลูกหลาน มาผสมผสานกับสิ่งที่มีอยู่ในพื้นที่ คือคลองขุดมหาสวัสดิ์ คลองประวัติศาสตร์ ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) โปรดเกล้าฯ ให้ขุดเพื่อเป็นเส้นทางเสด็จฯ ไปนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ใช้เวลา 5 ปี จึงขุดเสร็จ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2398 - 2403คลองขุดมหาสวัสดิ์ที่มีความยาว จากกรุงเทพ ถึงแม่น้ำท่าจีน 27 กิโลเมตร และมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับคลองมากมาย เช่น การโปรดเกล้าฯ ให้สร้างศาลาริมคลอง ๗ ศาลา ยกตัวอย่างเช่นศาลากลาง (ตำบลศาลากลาง จังหวัดนนทบุรี) ศาลาธรรมสพม์ (เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร)ศาลายา และศาลาดิน ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอพุทธมณฑล อีกทั้งมีผู้ใช้นามสกุล ขึ้นต้นและลงท้ายด้วยคำว่า "สวัสดิ์" ประมาณ 68 นามสกุล เช่น สวัสดิ์แดง สวัสดิ์จุ้น สวัสดิ์สรเดช สวัสดิ์นำ สวัสดิ์ดีมี ดีสวัสดิ์ ฯลฯ โปรแกรมการท่องเที่ยว One Day Trip จุดที่ 1 ไปที่ท่าเทียบเรือ ณ วัดสุวรรณาราม โดยมีเกษตรกรต้อนรับจะนำนักท่องเที่ยวไปตามจุดต่าง ๆ จุดที่ 2 ชมการแปรรูปฟักข้าว และเรื่องราวก่อนจะมาเป็น เย็นตาโฟฟักข้าว และน้ำฟักข้าวเพื่อสุขภาพ จุดที่ 3  เที่ยวชมนาบัวหลวงตัดดอก เรียนรู้การทำนาบัว พายเรือเก็บบัวกลางบึง เรียนรู้การพับกลีบดอกบัว จุดที่ 4 เที่ยวชมมหัศจรรย์ข้าวตังไทย จุดที่ 5 สวนกล้วยไม้ เที่ยวชมสวนกล้วยไม้และการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้สายพันธุ์ต่างๆ จุดที่ 6  เที่ยวชมการทำสวนผลไม้ ไร่นาสวนผสม ชิมผลไม้ตามฤดูกาล นั่งรถอีแต็กชมสวน และแปลงนาข้าว เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ (พร้อมระยะทาง/กม.) เจษฎาเทคนิคมิวเซียม อำเภอนครชัยศรี ระยะทาง 21 กิโลเมตร    - ตลาดท่านา อำเภอนครชัยศรี ระยะทาง 25 กิโลเมตร    - ตลาดน้ำดอนหวาย อำเภอสามพราน ระยะทาง 10 กิโลเมตร    - วัดไร่ขิง อำเภอสามพราน ระยะทาง 15 กิโลเมตร    - ตลาดน้ำลำพญา อำเภอบางเลน ระยะทาง 26 กิโลเมตร    - พุทธมณฑลสถาน อำเภอพุทธมณฑล ระยะทาง 6 กิโลเมตร    - องค์พระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม ระยะทาง 36 กิโลเมตร สินค้าวิสาหกิจชุมชนในชุมชน ข้าวตังหน้าต่างๆ - กล้วยหอมทองทอดกรอบ - เมี่ยงคำกลีบบัวหลวง - สินค้าตามฤดูการ เช่น ส้มโอ มะม่วง ขนุน กล้วย - ไม้ดอกไม้ประดับ ดอกบัว และ ดอกกล้วยไม้
นครปฐม
แปลงเรียนรู้ไม้ดอกเมืองหนาว - กล้วยไม้ซิมบิเดียมตัดดอก - แปลงทิวลิป แปลงเรียนรู้ไม้หอม - โรสแมรี่ - เจอราเนียม แปลงเรียนรู้การปลูกพืชเชิงอนุรักษ์บนพื้นที่สูง - อะโวคาโด - กาแฟอาราบิก้า - แมคคาเดเมีย รูปแบบวิธีการจัดกิจกรรม - มีจุดถ่ายรูป ลานจอดรถ ห้องน้ำ ให้บริการ - เดินชมแปลงเรียนรู้ (ไม้ดอก , ไม้หอม , พืชอนุรักษ์) พร้อมเรียนรู้การเพาะขยายพันธุ์ และการปลูก/ดูแลรักษา - มีจุดจำหน่ายสินค้าชุมชน ผลิตภัณฑ์, พืชผัก, ไม้ผล, พืชไร่ - มีบริการเครื่องดื่ม กาแฟ ชาเจียวกูหลาน - มีบริการบ้านพัก / จุดกางเต้นท์ การมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยว - ชม ชิม ช้อป สินค้าชุมชน ผลิตภัณฑ์กระเป๋า ของที่ระลึก สินค้าเกษตร ไม้ผลเมืองหนาว พืชไร่ พืชผักตามฤดูกาล - ถ่ายรูป เช็คอิน แปลงไม้ดอก/ทิวลิป - เดินชมแปลงเรียนรู้ภายในศูนย์ฯ - ดื่มด่ำบรรยากาศทะเลหมอกในฤดูหนาวของจังหวัดเชียงราย โปรแกรมการท่องเที่ยว: โปรแกรม 2 วัน 1 คืน วันที่หนึง 09.30 ออกเดินทางจากท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวง เชียงราย เดินทางสู่ไร่เชิญตะวัน 10.00 แวะรับทานอาหารเช้า ณ ร้าน “ภูเทียนรีสอร์ท” / “จุ๋ยกุ้งเผา” 11.00 ไร่เชิญตะวัน ศึกษาธรรมะกับแนวคิดมหาวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์ (สถาบันการศึกษาทางเลือก เพื่อการพัฒนาตามปรัชญาพุทธเศรษฐศาสตร์) เกษตรธรรมชาติแบบครบวงจร 12.00 ออกเดินทางจากไร่เชิญตะวัน แวะรับประทานอาหาร ณ ร้าน “ลานนาตะวันวา” 13.00 ชมการสาธิตการคั่วชาอัสสัมและการทำเมี่ยง แบบดั่งเดิมโดยชุมชนเกษตรกรวิสาหกิจชุมชนผลิตชาแม่ลอย 14.00 ออกเดินทางจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตชาแม่ลอย สู่ไร่รื่นรมย์ ต.งิ้ว อ.เทิง 14.30 ชมความงดงามของฟาร์มออแกนิคโดยคนรุ่นใหม่ รับประทานอาหารว่าง จากไร่จากแปลงเกษตรอินทรีย์โดยตรงเพื่อสุขภาพเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ ทั้งหลักการและการลงมือทำ 15.00 ออกเดินทางจากไร่รื่นรมย์ สู่ศูนย์ฯ ดอยผาหม่น 17.00 รับประทานอาหารค่ำแบบชนเผ่า ปิ้งย่าง กิจกรรมรอบกองไฟ พร้อมชมการแสดงจากกลุ่มยุวเกษตรกรชาติพันธุ์ ศิลปวัฒนธรรมชนเผ่าจากชุมชน ท่ามกลางธรรมชาติและอาทิตย์อัสดง วันที่สอง 04.30 ตื่นนอน ทำภารกิจส่วนตัว 05.00 เดินทางสู่ยอดภูชี้ฟ้า ชื่นชมทัศนียภาพอันงดงามตามธรรมชาติ ขุนเขาและทะเลหมอก 06.00 เดินทางกลับสู่ ศูนย์ฯ ดอยผาหม่น 07.00 รับประทานอาหารเช้า 08.00 รื่นเริงกับกิจกรรมทางการเกษตรของศูนย์ฯ ดอยผาหม่น ชมแปลงไม้หอม ดอกทิวลิป ชมความงดงามของแปลง ซิมบีเดียม และแปลงเรียนรู้การปลูกกาแฟ อโวคาโด และแมคคาเดเมีย ชิมกาแฟสด คุณภาพสูงจากเกษตรกรผู้ผลิต 12.00 พักรับทานอาหารกลางวัน 13.00 เดินทางสู่กลุ่มผู้ผลิตกาแฟอินทรีย์บ้านบ้านพิทักษ์ไทย 13.30 เดินชมแปลงกาแฟอินทรีย์กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตกาแฟอินทรีย์บ้านพิทักษ์ไทย ร่วมศึกษากรรมวิธีการปลูกกาแฟอินทรีย์คุณภาพดี ซื้อสินค้าที่ระลึกจากชุมชนชาติพันธุ์ 14.30 เดินทางสู่หอนาฬิกาจังหวัดเชียงราย แลนด์มาร์คที่สำคัญของจังหวัดเชียงราย 16.00 ซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน อาหารพื้นเมือง ของฝาก ของที่ระลึก เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ: 1) ภูชี้ฟ้า ต.ตับเต่า อ.เทิง ระยะทาง 11 ก.ม 2) ผาตั้ง ต.ปอ อ.เวียงแก่น ระยะทาง 36 ก.ม 3) ดอยชมดาว ต.ตับเต่า อ.เทิง ระยะทาง 6 ก.ม
เชียงราย
ดงเมืองเตยเป็นเมืองเก่าสมัยขอมจะเป็นเมืองร้างมาแล้วนานเท่าไรไม่ทราบได้ สภาพที่เห็นมาจากปู่ย่าตาทวดหลายชั่วอายุคน ดงเมืองเตยมีป่าไม้ขึ้นสูงข้างล่างโปร่ง มีหมู่ไม้เล็กๆ ขึ้นบ้าง ต้นไม้ใหญ่ได้แก่ ไม้ยาง ไม้ตะแบก ไม้ยางเหียง เป็นป่าหนาแน่นมาก พวกพ่อแม่ปู่ย่าตายายไม่กล้าตัดต้นไม้ในดงนี้ เพราะดงเมืองเตยมีผีดุเรียกว่า ผีปู่ตา ป่าไม้จึงเป็นที่อาศัยของลิง และนกหลายจำพวก บึงรอบบริเวณดงเมืองเตยเป็นหนองน้ำขนาดลึกมีน้ำขังตลอดปี เป็นที่อาศัยและเป็นที่เพาะพันธุ์ปลาตามธรรมชาติ นอกจากนกจำพวกต่างๆ แล้วบึงนี้ได้ชื่อว่ามีเต่ามากที่สุด เหตุที่มีเต่ามากเช่นนี้ชาวบ้านนับถือผีปู่ตา ปู่ตาห้ามจับกินทำลายสัตว์พาหนะของท่าน คือ ลิงและเต่า ถ้าเกิดทำอันตรายขึ้นมา จะต้องมีอันเป็นไป” “ต่อมาเมื่อประมาณ 90 ปีมาแล้ว ชาวบ้านสงเปือยมีหมอร่ำเรียนวิชาอาคมมาทำพิธีปราบผีดงเมืองเตยได้ หมอผู้มีวิชาอาคมผู้นี้ชื่อ ผู้ใหญ่สุวอ เหตุการณ์นี้ตรงกับสมัยพ่อใหญ่อัครฮาด เป็นตาแสง เมื่อชาวบ้านใกล้ไกลได้ยินข่าวพ่อใหญ่สุวอข่มผีดงเมืองเตยได้แล้ว ก็พากันหลั่งไหลมาจับเต่าปลาดงเมืองเตยไปเป็นอาหารจนเกือบเกลี้ยงบึง เต่าจึงเกือบสูญพันธุ์มาจนบัดนี้ พ่อใหญ่สุวอได้แบ่งปันที่บึงออกเป็นที่นาให้พี่น้องญาติมิตรทำนามาจนทุกวันนี้ ส่วนบริเวณดงเมืองเตยได้แบ่งบันทำไร่ สวน ปลูกพืชทำกินมาเท่าทุกวันนี้ อันนี้เป็นเรื่องจริง ผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีอายุครบ 90 ปี เช่น พ่อใหญ่อ่อน หอมกลิ่น พ่อใหญ่บู กกเปือย ยังมีชีวิตเป็นพยานอยู่
ยโสธร
เป็นสวนผลไม้ที่มีความสวยงามในสภาพพื้นที่ ความร่มรื่น ความเป็นเอกลักษณ์ในรสชาติของผลไม้ไม่ว่าจะเป็นทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง ที่เจ้าของสวนเน้นย้ำเป็นหนักหนาว่าที่นี่แหละผลไม้คุณภาพ กินได้ทุกลูก เรียกว่าปลอดภัยในระดับ GAP โดยนำระบบการทำการเกษตรที่ดีมีคุณภาพ เข้ามาใช้ในการผลิต ซึ่งระบบ GAP นี้เองช่วยให้ผลผลิตมีคุณภาพมากขึ้น และปลอดภัยต่อผู้บริโภครวมทั้งตัวเกษตรกรเอง เพราะระบบ GAP มีการควบคุมการใช้สารเคมีให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค เพราะฉะนั้นผู้บริโภคหรือนักท่องเที่ยวสบายใจได้ว่าปลอดภัยหายห่วง
ระยอง