คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี (ศูนย์ผึ้งจันทบุรี)
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี (ศูนย์ผึ้งจันทบุรี) ตำบลมะขาม อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี 22150
Image
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
เปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันจันทร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันอังคาร
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพุธ
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันศุกร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันเสาร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี (ศูนย์ผึ้งจันทบุรี) เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้านการเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ ผึ้งโพรง ผึ้งชันโรง จิ้งหรีด และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผึ้งและผึ้งชันโรง จุดเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง การเพาะเห็ดนางฟ้าและเห็ดในขอนไม้ั การปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษในภาชนะ การปักชำมะนาวแบบควบแน่น เที่ยวได้ทุกวันที่จันทบุรี การเลี้ยงผึ้ง Bee Keeping
ประวัติความเป็นมา
กรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินการส่งเสริมการเลี้ยงผึ้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๓ โดยจัดตั้งฝ่ายส่งเสริม และ อนุรักษ์ผึ้งในสายงานการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยเริ่มจากฝึกอบรมหลักสูตร การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ แก่เจ้าหน้าที่ กองป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ ส่งเจ้าหน้าที่อบรม และดูงาน ส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งที่ประเทศอิสราเอลและประเทศอื่นเรื่อยมา จนปี พ.ศ.๒๕๒๔ จึงให้หน่วยงานป้องกัน และ กำจัดศัตรูพืช ทำการศึกษา ทดสอบ การเลี้ยง และขยายพันธุ์ผึ้ง พร้อมทั้งจัดตั้งศูนย์อนุรักษ์แ ละขยายพันธุ์ผึ้งขึ้นในส่วนภูมิภาครวม ๕ ศูนย์ คือ เชียงใหม่ ขอนแก่น พิษณุโลก จันทบุรี และชุมพร โดยมีสำนักงานชั่วคราว อยู่ในหน่วยป้องกัน และกำจัดศัตรูพืชแต่ละจังหวัด ในขณะที่หน่วยป้องกัน และกำจัดศัตรูพืชทั้งประเทศดำเนินการศึกษาและปฏิบัติงานการเลี้ยงผึ้งไปพร้อมด้วย ระยะเริ่มต้น คณะรัฐมนตรีได้มีมติจัดสรรเงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรจำนวน ๓,๓๑๗,๕๓๐ บาท ปี ๒๕๒๖-๒๕๒๗ ให้กรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการ ส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ โดยผ่านทางศูนย์อนุรักษ์และขยายพันธุ์ผึ้งทั้ง ๕ ศูนย์ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร(ผึ้ง)" ศูนย์ส่งเสริม และพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี(ผึ้ง) เป็นหน่วยงานของกรมส่งเสริมการเกษตร ปรับปรุงกรอบอัตรากำลัง ภายใต้การบังคับบัญชาสำนักส่งเสริม และพัฒนาการเกษตรเขตที่ ๓ จังหวัดระยอง มีหน้าที่ให้บริการ และให้ความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องผึ้ งและแมลงเศรษฐกิจที่มีประโยชน์ อันเป็นผลของการ เพิ่มผลผลิตโดยไม่ต้องขยายพื้นที่การเกษตร เสริมรายได้ต่อครัวเรือนโดยการจำหน่ายผลิตภัณฑ์, แปรรูป ผลิตภัณฑ์ผึ้งและแมลงเศรษฐกิจ โครงการส่งเสริมอาชีพเฉพาะด้านผึ้งและแมลงเศรษฐกิจจึงเป็นวิวัฒนาการ อีกก้าวหนึ่งของ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี(ผึ้ง) โดยการผลิตขยายพันธุ์ผึ้ง การใช้ผึ้งเพื่อผสมเกสร การเลี้ยงชันโรงเพื่อการเกษตร(การค้า) การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผึ้งและชันโรง การเลี้ยง จึ้งหรีดเสริมรายได้ และการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๗ กรมส่งเสริมการเกษตร ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างและการแบ่งงานภายในพื้นที่ รับผิดชอบของศูนย์ปฏิบัติการใหม่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขต เพื่อให้สามารถสนับสนุนความต้องการของพื้นที่และให้บริการด้านการเกษตรที่เกี่ยวข้องได้อย่างครอบคลุม โดยให้ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี(ผึ้ง) เป็นศูนย์สหวิชา คือ เป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการเกษตรที่หลากหลายสาขาเพื่อให้บริการแก่เกษตรกร หน่วยงาน ประชาชน หรือผู้ที่สนใจ อาทิเช่น การเลี้ยงชันโรงเพื่อการเกษตร การเพาะเห็ดนางฟ้า การปลูกมะนาว เป็นต้น โดยมีพื้นที่รับผิดชอบ ๒ จังหวัด คือ จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด และให้เปลี่ยนชื่อศูนย์เป็น “ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี”
ลักษณะเด่น
ศูนย์ส่งเสริม และพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี (ศูนย์ผึ้งจันทบุรี) เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้านการเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ ผึ้งโพรง ผึ้งชันโรง จิ้งหรีด และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผึ้ง และผึ้งชันโรง จุดเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง การเพาะเห็ดนางฟ้าและเห็ดในขอนไม้ การปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษในภาชนะ การปักชำมะนาวแบบควบแน่น เที่ยวได้ทุกวันที่จันทบุรี การเลี้ยงผึ้ง Bee Keeping
ที่มาข้อมูล
Thailand Tourism Directory
ข้อมูลแนะนำ
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: ไม่มีค่าใช้จ่าย
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
แหล่งเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ อนุรักษ์ม้าไทย อาชาบำบัด(สำหรับเด็กออทิสติก) ชมสวน ทานผลไม้สดๆจากสวน เกษตรอินทรีย์
จันทบุรี
สวนผลไม้เจริญทรัพย์ มีผลไม้ให้เลือกทานหรือซื้อกลับหลากหลาย ซึ่งเป็นผลไม้ตามฤดูกาล แต่หากหมดฤดูกาลผลไม้แล้วทางสวนเจริญทรัพย์ยังมีผลไม้แปรรูป สามารถทำการจัดส่งให้ แพคสินค้าอย่งดี ส่งมอบความอร่อยถึงบ้านเหมือนมาทานที่สวนจริงๆ และสามารถแวะมาเที่ยวที่สวนได้ทั้งปี
ระยอง
สวนเมเปิล เป็นไร่ลำไยแบบพอเพียงที่เปิดให้เข้าชมปีละครั้ง พร้อมกับลิ้มรสลำไยหวาน ๆ แบบบุฟเฟ่ต์ กินไม่อั้น จัดไปในราคาไม่เกินร้อย และยังจะได้ชมสวนดอกไม้สวย ๆ บรรยากาศสุดโรแมนติก
กาญจนบุรี
ภูถ้ำพระ เป็นถ้ำใหญ่กว้างประมาณ 3 วา ยาวประมาณ 8 วา ตั้งอยู่ชะง่อนภูด้านทิศใต้ มีทางเข้าไปตามซอกหิน ซึ่งตั้งสูงสุดตระหง่านอยู่รอบ ๆ เป็นอุโมงค์ จากปากถ้ำเลยไปทางทิศเหนือ สามารถเดินลอดไปได้อย่างสบาย ถ้ำพระนี้มีธรรมชาติ เป็น 2 ชั้น เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปซึ่งตั้งเรียงรายอยู่เป็นแถว ๆ และมี พระพุทธรูปปางไสยาสน์ พระกัจจายนะ 2 องค์ สร้างสมัยอาจารย์ดี ฉันโน อยู่ในถ้ำนี้อย่างงดงาม ภูถ้ำพระ เป็นพื้นที่ภูเขาขนาดเล็ก เนื้อที่ประมาณ 200 ไร่ มีป่าไม้เบญจพรรณขึ้นอยู่ทั่วไปค่อนข้างสมบูรณ์ ให้ความ ร่มรื่น อากาศเย็นสบาย เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของลำห้วยหลายแห่ง เสาหินลักษณะคล้ายแหล่งท่องเที่ยวภูผาเทิบ และมีจุดชมวิวเป็นแหล่งธรรมชาติที่สวยงามใกล้ทางขึ้นจะมีซุ้มประตูอิฐก่อเป็น “ภูโง” ชาวบ้านเรียกประตูโขง ซึ่งตั้งอยู่ด้านเหนือของ ภูถ้ำพระ ไปไกลประมาณ 1 กิโลเมตร ปัจจุบันเหลือเพียงซากปรักหักพัง ความศักดิ์สิทธิ์ของภูถ้ำพระที่ได้เล่าสืบทอดกันต่อมาคือ หากชาว บ้านบริเวณนั้นจะออกหาของป่า ต้องมาที่ถ้ำแห่งนี้เพื่อสักการะ แล้วจะมีโชคในการทำมาหากินและแคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวง
ยโสธร
ชมสวนผลไม้ ชิมผลไม้สดจากสวน เเละจำหน่ายผลไม้คุณภาพ
ระยอง
1.รูปแบบวิธีการจัดกิจกรรม - กิจกรรมนำชม ทดลองทำ รับประทานอาหารเวียดนาม ใส่ชุดอ๋าวใหญ่(ชุดเวียดนาม) โฮมสเตย์ 2. วิถีชีวิตชุมชน - การปลูกผักปลอดภัย การทำอาหารพื้นบ้าน จิบชาพื้นบ้าน 3. การมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยว – เยี่ยมชมแปลงผัก รับประทานอาหารเวียดนาม ปั่นจักรยาน โปรแกรมการท่องเที่ยว ชิมชาพื้นเมือง เก็บผักปลอดภัยจากสารพิษ สาธิตการทำอาหารเวียดนาม ใส่ชุดอ๋าวใหญ่ ปั่นจักรยานชมวิถีชีวิตวัฒนธรรมคนไทยเชื้อสายเวียดนาม พักโฮมสเตย์ เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ (พร้อมระยะทาง/กม.) - พิพิธภัณฑ์ปลาน้ำจืด ระยะทาง 2 กม. - หอเฉลิมพระเกียรติราชวงศ์จักรี ระยะทาง 2.5 กม. - Land Mark พญาศรีสัตตนาคราช ระยะทาง 5 กม. - สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 3 ระยะทาง 15 กม. สินค้าวิสาหกิจชุมชนในชุมชน พืชผักปลอดภัยจากสารพิษ ไม้ผล ใบชาแห้ง/สด เปลญวน ขนมใบป่าน
นครพนม
พระธาตุก่องข้าวน้อย ตั้งอยู่ในทุ่งนา ตำบลตาดทอง เป็นเจดีย์เก่าสมัยขอม สร้างในพุทธศตวรรษที่ 23-25 ตรงกับสมัยอยุธยาตอนปลาย ตั้งอยู่ในเขตวัดพระธาตุก่องข้าวน้อย ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงทุ่งนาในเขตตำบลตาดทอง พระธาตุก่องข้าวน้อยเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน รูปทรงแปลกไปจากเจดีย์โดยทั่วไป คือมีลักษณะเป็นก่องข้าว องค์พระธาตุเป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สาม ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 2 เมตร ก่อสูงขึ้นไปประมาณ 1 เมตร ช่วงกลางขององค์พระธาตุมีลวดลายทำเป็นซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ถัดจากช่วงนี้ไปเป็นส่วนยอดของเจดีย์ที่ค่อยๆ สอบเข้าหากัน ส่วนยอดรอบนอกของพระธาตุก่องข้าวน้อยมีกำแพงอิฐล้อมรอบขนาด 55 เมตร นอกจากนี้บริเวณด้านหลังพระธาตุมีพระพุทธรูปอยู่องค์หนึ่งก่อด้วยอิฐ ชาวบ้านนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก และในเดือนห้าจะมีผู้คนนิยมมาสรงน้ำพระและปิดทอง เชื่อกันว่าถ้าไม่ทำเช่นนี้ฝนจะแล้งในปีนั้น นอกจากนี้ที่บริเวณบ้านตาดทอง กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดค้นเรื่องราวของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้ค้นพบโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และภาชนะลายเขียนสีแบบบ้านเชียง
ยโสธร
- ชมการเลี้ยงปลาในกระชัง หอยแมลงภู่ - การปลูหญ้าทะเล - ศึกษาระบบนิเวศน์ป่าชายเลน - การแปรรูปปลาเค็มกางมุ้ง/อาหารทะเล - การจักสานเตยปาหนัน โปรแกรมการท่องเที่ยว - เดินทางถึงที่ทำการกลุ่ม ฟังบรรยายสรุปข้อมูลความเป็นมาของวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงปลากระชังบ้านพรุจูด - เรียนรู้วิถีการเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง - ล่องเรือชมระบบนิเวศน์ป่าชายเลน ศึกษาป่าชายเลน บ่อน้ำร้อน ชมอ่าวบุญคง ปลูกหญ้าทะเลเพื่อการอนุรักษ์อาหารปลาพะยูนในท้องทะเลตรัง ชมเกาะต่างๆ หาดทราย กลับเข้าที่พัก อาหารเย็น ตอนเช้าชมวิถีชุมชน กลุ่มแปรรูปอาหารทะเลปลาเค็มกางมุ้ง กลุ่มจักสานเตยปาหนัน ซื้อของฝาก เดินทางกลับ เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ (พร้อมระยะทาง/กม.) - หาดปากเม็ง 8 km. - หาดหัวหิน 3 km. - หาดราชมงคล 6 km. หมายเหตุ การวัดระยะทางใช้จุดที่ทำการกลุ่มฯ เป็นจุดเริ่มต้น สินค้าวิสาหกิจชุมชนในชุมชน ผลิตภัณฑ์แปรรูปสินค้าเกษตร อาหารทะเล ปลาเค็มกางมุ้ง ผลิตภัณฑ์จักสานเตยปาหนัน
ตรัง
เรือนจำชั่วคราวดอยฮาง สังกัดเรือนจำกลางเชียงราย ดำเนินการตามโครงการในพระราชดำริ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ในการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในเรือนจำ เพื่อให้ผู้ต้องขังสามารถน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปใช้ได้จริงภายหลังพ้นโทษ เป็นการสร้างกำลังใจให้กับผู้ต้องขังและยังทำให้ผู้ต้องขังได้มีโอกาสในการกลับคืนสู่สังคม โดยมีทักษะที่สามารถดำรงชีวิตที่พึ่งตนเองได้ไม่หวนกลับไปกระทำผิดอีก ในปัจจุบัน เรือนจำชั่วคราวดอยฮาง เป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เปิดให้บริการเข้าเยี่ยมชมการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ และเป็นจุด Check in ที่สำคัญของนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปที่เข้ามาใช้บริการ
เชียงราย
สวนผลศิริ เป็นสวนใหญ่มีพื้นที่ทั้งหมด 26 ไร่ เป็นสวนผลไม้ผสม อายุประมาณ 35 ปี เป็นผลไม้ปลอดสารพิษ ผลไม้ในสวนมีหลายอย่างด้วยกันเช่น เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง ขนุน กระท้อน และผลไม้แปลรูป ทุเรียนกวน ทุเรียนทอด
ระยอง
ไร่องุ่นปรีดาฤทธิ์ของครูเมธี มูลฟูยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงหาอาชีพเสริมทำด้วยการปลูกองุ่นมาแทนพื้นที่ปลูกกล้วยกับอ้อย ต้นองุ่นให้ผลดก มีรสชาติหวานกรอบ อร่อยชุ่มลิ้น
กำแพงเพชร
สายน้ำประวัติศาสตร์กับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ลงตัว "ล่องเรือชมสวนเลียบคลองมหาสวัสดิ์" เปลี่ยนทุนธรรมชาติ เป็นการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ลงตัว การท่องเที่ยวเชิงเกษตร "ล่องเรือชมสวนเลียบคลองมหาสวัสดิ์" เกิดจากแนวคิด ที่จะนำวิถีชีวิตของเกษตรกรที่ทำอยู่เป็นกิจวัตร มาผสานกับ " ทุนธรรมชาติ" ที่มีอยู่ คือทรัพยากรด้านการเกษตร การทำสวน ทำไร่ ไถนา ที่พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ทำสืบเนื่องมาจนถึงรุ่นลูกหลาน มาผสมผสานกับสิ่งที่มีอยู่ในพื้นที่ คือคลองขุดมหาสวัสดิ์ คลองประวัติศาสตร์ ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) โปรดเกล้าฯ ให้ขุดเพื่อเป็นเส้นทางเสด็จฯ ไปนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ใช้เวลา 5 ปี จึงขุดเสร็จ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2398 - 2403คลองขุดมหาสวัสดิ์ที่มีความยาว จากกรุงเทพ ถึงแม่น้ำท่าจีน 27 กิโลเมตร และมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับคลองมากมาย เช่น การโปรดเกล้าฯ ให้สร้างศาลาริมคลอง ๗ ศาลา ยกตัวอย่างเช่นศาลากลาง (ตำบลศาลากลาง จังหวัดนนทบุรี) ศาลาธรรมสพม์ (เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร)ศาลายา และศาลาดิน ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอพุทธมณฑล อีกทั้งมีผู้ใช้นามสกุล ขึ้นต้นและลงท้ายด้วยคำว่า "สวัสดิ์" ประมาณ 68 นามสกุล เช่น สวัสดิ์แดง สวัสดิ์จุ้น สวัสดิ์สรเดช สวัสดิ์นำ สวัสดิ์ดีมี ดีสวัสดิ์ ฯลฯ โปรแกรมการท่องเที่ยว One Day Trip จุดที่ 1 ไปที่ท่าเทียบเรือ ณ วัดสุวรรณาราม โดยมีเกษตรกรต้อนรับจะนำนักท่องเที่ยวไปตามจุดต่าง ๆ จุดที่ 2 ชมการแปรรูปฟักข้าว และเรื่องราวก่อนจะมาเป็น เย็นตาโฟฟักข้าว และน้ำฟักข้าวเพื่อสุขภาพ จุดที่ 3  เที่ยวชมนาบัวหลวงตัดดอก เรียนรู้การทำนาบัว พายเรือเก็บบัวกลางบึง เรียนรู้การพับกลีบดอกบัว จุดที่ 4 เที่ยวชมมหัศจรรย์ข้าวตังไทย จุดที่ 5 สวนกล้วยไม้ เที่ยวชมสวนกล้วยไม้และการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้สายพันธุ์ต่างๆ จุดที่ 6  เที่ยวชมการทำสวนผลไม้ ไร่นาสวนผสม ชิมผลไม้ตามฤดูกาล นั่งรถอีแต็กชมสวน และแปลงนาข้าว เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ (พร้อมระยะทาง/กม.) เจษฎาเทคนิคมิวเซียม อำเภอนครชัยศรี ระยะทาง 21 กิโลเมตร    - ตลาดท่านา อำเภอนครชัยศรี ระยะทาง 25 กิโลเมตร    - ตลาดน้ำดอนหวาย อำเภอสามพราน ระยะทาง 10 กิโลเมตร    - วัดไร่ขิง อำเภอสามพราน ระยะทาง 15 กิโลเมตร    - ตลาดน้ำลำพญา อำเภอบางเลน ระยะทาง 26 กิโลเมตร    - พุทธมณฑลสถาน อำเภอพุทธมณฑล ระยะทาง 6 กิโลเมตร    - องค์พระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม ระยะทาง 36 กิโลเมตร สินค้าวิสาหกิจชุมชนในชุมชน ข้าวตังหน้าต่างๆ - กล้วยหอมทองทอดกรอบ - เมี่ยงคำกลีบบัวหลวง - สินค้าตามฤดูการ เช่น ส้มโอ มะม่วง ขนุน กล้วย - ไม้ดอกไม้ประดับ ดอกบัว และ ดอกกล้วยไม้
นครปฐม