คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
วัดวังจาน
วัดวังจาน หมู่8 ตำบลวังด้ง อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
Image
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
เปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันจันทร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันอังคาร
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพุธ
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันศุกร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันเสาร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
บรรยากาศภายในวัดร่มรื่น ทางเข้าโบสถ์เพื่อเข้าไปสักการะพระพุทธรูป เป็นซุ้มปรตูตกแต่งสวยงาม โดยด้านบนคือพระราหูอมจันทร์ อีกทั้งมีพญาต่อยักษ์ ให้เข้าไปกราบไหว้ขอโชคลาภ เชื่อว่าช่วยต่อเงิน ต่อทอง เมื่อสักการะสิ่งศักดิ์สิทธ์เรียบร้อย สามารถเดินทางไปเที่ยวน้ำตกเอราวัณต่อได้ เนื่องจากวัดวังจาน อยู่ก่อนถึงน้ำตกเอราวัณ
ลักษณะเด่น
ภายในวัด มีพญาต่อยักษ์ ต่อเงิน และ ต่อทอง
ที่มาข้อมูล
Thailand Tourism Directory
ข้อมูลแนะนำ
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: ไม่มีค่าใช้จ่าย
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
เป็นบ่อกุ้งของทางหมู่บ้านจ้อก้อ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาชมวิธีหากุ้ง และรับประทานกุ้งสดๆจากบ่อ
ร้อยเอ็ด
จักสานพลาสติก เป็นศิลปะการจักสานที่มีลวดลายสวยงาม การออกแบบ สีสันของเส้นพลาสติก ลวดลายต่าง ๆตามความต้องการของลูกค้า มีความละเอียดประณีต เรียบร้อย ได้มาตรฐาน คงทน สมประโยชน์ ราคาไม่แพง มีการพัฒนารูปแบบทันสมัยอย่างต่อเนื่องและเป็นสากล แต่กระบวนการผลิตยังใช้แบบดั่งเดิม ทำให้มองเห็นคุณค่าและแสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของคนบ้านพราน เป็นผลงานจากการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่ประสานภูมิปัญญาของคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ ให้เข้ากันได้อย่างลงตัวและเหมาะสม
อ่างทอง
ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์กล้วยสุพรรณบุรี เป็นวิสาหกิจชุมชนเกษตรพอเพียง อนุรักษ์พันธุ์กล้วยหายากในประเทศไทย ได้รวมสายพันธุ์กล้วยมากมายถึง 108 ชนิด โดยเฉพาะของสุพรรณบุรีเอง
สุพรรณบุรี
ชาวบ้านบ้านนาต้นจั่น มีวิถีชีวิตดั้งเดิม มีการทำเกษตรแบบผสมผสาน มีการทำผ้าหมักโคลนเป็นผ้าดีมีน้ำหนัก งดงามด้วยการหมักโคลนและการทอที่ซับซ้อน ชาวบ้านได้ปรับพื้นที่สำหรับกางเต็นท์ ยกแคร่ไม่ไผ่ทำเป็นที่นั่งกินข้าว ทำห้องน้ำ ส่วนที่เหลือยังคงสภาพป่าไว้ดังเดิม สันดอยแห่งนี้มีทัศนียภาพงดงาม สามารถชมพระอาทิตย์ขึ้นและตกได้ในจุดเดียวกัน โฮมสเตย์บ้านนาต้นจั่นมีประมาณ 23 หลัง แยกบ้านให้อยู่เป็น หลังหรืออยู่บ้านเดียวกับเจ้าของบ้าน ได้ดื่มด่ำไปกับธรรมชาติรอบ ที่พัก พร้อมห้องครัวอุปกรณ์ครบครัน ซื้ออาหาร ไปทำรับประทานเองสะดวกสบาย มีกิจกรรมปั่นจักรยานชมวิถีชมุชนในหมู่บ้าน ชมสวนผลไม้และท้องทุ่งพร้อมไกด์ชุมชนนำทาง ไปชมสวนผลไม้ของชาวบ้าน โปรแกรมการท่องเที่ยว : -พักโฮมสเตย์บ้านนาต้นจั่น ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมดจำนวน 23 หลัง -ปั่นจักรยานชมวิถีชมุชนในหมู่บ้าน ชมสวนผลไม้และท้องทุ่ง -ชมวิธีการทำผ้าหมักโคลน การทอผ้าด้วยมือ ผ้ายกดอก และเลือกซื้อผ้าหมักโคลนตัดสำเร็จรูป -ชมวิธีการทำตุ๊กตาบาร์โหน (บ้านตาวงศ์) -ชมหัตถกรรมตอไม้ -ชมและชิมผลไม้ตามฤดูกาล ได้แก่ ทุเรียน เงาะ ลองกอง มะม่วง มะปราง มะไฟ ลำไย -จุดชมวิว “ห้วยต้นไฮ” ชมทะเลหมอกพระอาทิตย์ -ชมและทดลองการทำข้าวเปิ๊ป อาหารท้องถิ่น จิบกาแฟในกระบอกไม้ไผ่ เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ : - อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย 30 กิโลเมตร - ร้านทองโบราณ ร้านเงินโบราณ 30 กิโลเมตร - อุทยานแห่งชาติน้ำตกป่าคา 70 กิโลเมตร - อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย (เมืองเก่าสุโขทัย) 77 กิโลเมตร - อุทยานแห่งชาติรามคำแหง 110 กิโลเมตร
สุโขทัย
ภูหมากพริกเป็นป่าชุมชน ในเขตตำบลกุดชุม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร อดีตพื้นที่บนภูสวนหนึ่งเคยเป็นแหล่งทำสวนพริกจนมีสภาพทรุดโทรม ต่อมาจึงได้รับการฟื้นฟูปลูกป่าให้กลับมาเขียวขจีอีกครั้ง หลังมีการดูแลอย่างจริงจังจากสำนักสงฆ์ภูหมากพริก ซึ่งพัฒนากลายเป็นวัดภูหมากพริกในเวลาต่อมาและปัจจุบันวัดกำลังอยู่ในระหว่างสร้างพระอุโบสถครึ่งไม้ครึ่งปูนหลังใหม่ท่ามกลางความร่มรื่นของธรรมชาติ คาดว่าเมื่อเสร็จสิ้นจะมีความสวยงามอย่างมากบนวัดภูหมากพริกมีความสงบร่มเย็น เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมที่ร่มรื่น นอกจากนี้ยังมีจุดชมวิวเล็กๆ ซึ่งผู้ที่ขึ้นไปเยี่ยมชมวัดสามารถแวะไปได้อีกด้วย ทางเข้าจุดชมวิวอาจมองลำบากสักนิด สามารถสอบถามทางได้จากพระสงฆ์ภายในวัด
ยโสธร
พระธาตุก่องข้าวน้อย ตั้งอยู่ในทุ่งนา ตำบลตาดทอง เป็นเจดีย์เก่าสมัยขอม สร้างในพุทธศตวรรษที่ 23-25 ตรงกับสมัยอยุธยาตอนปลาย ตั้งอยู่ในเขตวัดพระธาตุก่องข้าวน้อย ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงทุ่งนาในเขตตำบลตาดทอง พระธาตุก่องข้าวน้อยเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน รูปทรงแปลกไปจากเจดีย์โดยทั่วไป คือมีลักษณะเป็นก่องข้าว องค์พระธาตุเป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สาม ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 2 เมตร ก่อสูงขึ้นไปประมาณ 1 เมตร ช่วงกลางขององค์พระธาตุมีลวดลายทำเป็นซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ถัดจากช่วงนี้ไปเป็นส่วนยอดของเจดีย์ที่ค่อยๆ สอบเข้าหากัน ส่วนยอดรอบนอกของพระธาตุก่องข้าวน้อยมีกำแพงอิฐล้อมรอบขนาด 55 เมตร นอกจากนี้บริเวณด้านหลังพระธาตุมีพระพุทธรูปอยู่องค์หนึ่งก่อด้วยอิฐ ชาวบ้านนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก และในเดือนห้าจะมีผู้คนนิยมมาสรงน้ำพระและปิดทอง เชื่อกันว่าถ้าไม่ทำเช่นนี้ฝนจะแล้งในปีนั้น นอกจากนี้ที่บริเวณบ้านตาดทอง กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดค้นเรื่องราวของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้ค้นพบโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และภาชนะลายเขียนสีแบบบ้านเชียง
ยโสธร
เป็นกลุ่มแม่บ้านที่ทอผ้ามัดหมี่ย้อมครามใช้สีจากธรรมชาติ ถือเป็นสินค้า OTOP นำสิ่งที่บ้านนาข่า กรุงเทพ บ้านเชียง และทอตามที่มีออเดอร์จากลูกค้าสั่งมา จึงถือเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนตำบลบ้านแดง
อุดรธานี
เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร แหล่งเรียนรู้การลดต้นทุนการผลิตสูง จากการใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีมาก ทำให้สุขภาพทรุดโทรม เกิดโรคภัยกับชีวิตมนุษย์ จึงปรับเปลี่ยนแนวคิดปรับปรุงคุณภาพผลผลิต และลดต้นทุนการผลิตโดยการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน
ชัยนาท
ศูนย์ศึกษาพัฒนาการสังคมหมู่บ้าน(วนเกษตร) หรือ บ้านศานติธรรม ภายในอาณาบริเวณเกือบ 10 ไร่ มีพันะุ์ไม้กว่า 700-800 ชนิด เป็นสมุนไพรรักษาโรคต่างๆ ภายในมีเรือนไม้แบบไทยมุงด้วยกระเบื้องว่าว ใต้ถุนสูงสำหรับประชุมหรือบรรยาย ชั้นบนใช้เก็บและแสดงเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้านวัตถุโบราณ ของใช้รุ่นเก่าต่างๆ ด้านหลังบ้านมียุ้งข้าวจำลองและอุปกรณ์นวดข้าว สีข้าว บริเวณบ้านส่วนหนึ่งจัดไว้เป็นที่สำหรับตั้งค่ายพักแรมสำหรับเยาวชน มีลานสันทนาการ และบริเวณทำกิจกรรม สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณวิบูลย์ เข็มเฉลิม
ฉะเชิงเทรา
ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ จ.นครนายก การมาเที่ยวชมศูนย์ฯ แห่งนี้ไม่มีค่าใช้จ่าย เว้นแต่ว่ามากันเป็นหมู่คณะ และต้องการทำกิจกรรมต่างๆ ที่ทางศูนย์ฯ ได้จัดขึ้น ที่นี่เป็นแหล่งเรียนรู้ชั้นเลิศ ที่จะทำให้เข้าใจเรื่องราวของคำว่า "พอเพียง" และการใช้ทรัพยากรอย่างไรให้ได้ประโยชน์และรู้คุณค่ามากที่สุด การเดินเที่ยวชมที่แห่งนี้ เดินชมได้เป็นลักษณะคล้ายวงกลม โดยเริ่มจาก โซนภาคเหนือ ตื่นตาไปกับการปลูกไม้ไผ่ชนิดต่างๆ สองข้างทาง รวมทั้งความน่ารักของสะพานไม้ไผ่ บ้านที่สร้างจากไม้ไผ่ริมสระบัว และเครื่องเล่นที่ทำจากไม้ไผ่ ที่จัดแสดงแบบนี้ เป็นเพราะต้องการให้ได้รู้ว่าไม้ไผ่สามารถทำประโยชน์อะไรได้มากมาย รวมทั้งทำรางหยดน้ำ เพื่อใช้รดน้ำต้นไม้และรดดินแทนคนอีกด้วย เดินขึ้นไปตามภูเขาก้อนเล็กๆ เรียนรู้เรื่องภูเขาป่า การตะบันน้ำ คือ การที่ใช้น้ำอัดน้ำขึ้นที่สูงแทนการใช้เครื่องปั๊มน้ำ ระบบป่าเปียกกันไฟ ประโยชน์ของหญ้าแฝก และการทำฝายชะลอความชุ่มชื้น เดินต่อไปยัง โซนภาคกลาง เรียนรู้เรื่องการเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ของตัวเองอย่างคุ้มค่า เรียนรู้การสร้างบ้านดิน และเรื่องสมุนไพรนานาชนิด แล้วก็เดินไปยัง โซนภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ชมธนาคารข้าว เรียนรู้เรื่องการสีข้าว การเลี้ยงปศุสัตว์ แอบเห็นวัวตัวเบ่อเริ่มอยู่ในคอกด้วย การทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง จะได้ไม่ต้องซื้อปุ๋ยเคมี และได้เรียนรู้เรื่องการห่มดิน จากที่พื้นที่ที่ไม่มีดิน ต้องใช้วิธีห่มดิน เพื่อให้ได้ดินดีๆ กลับมาปลูกพืชผัก แต่จะทำอย่างไร อยากให้ไปเรียนรู้ด้วยตัวเองจะดีที่สุด สุดท้ายไปยัง โซนภาคใต้ ไปดูการเผาถ่านที่ทำจากไม้ไผ่ การทำน้ำมันไบโอดีเซล และเรียนรู้โครงการแก้มลิง นอกจากนี้ตลอดภายในศูนย์ฯ ฉันเห็นว่าจะมีร่องน้ำขนาดใหญ่และเล็กตลอดเส้นทาง มีสระน้ำ มีแปลงเกษตรปลูกพืชผัก มีกังหันน้ำชัยพัฒนา มีการปลูกหญ้าแฝกในน้ำ และอื่นๆ อีกมากมาย จบการเดินเที่ยวชม ที่รับสาระความรู้และความเพลิดเพลินเดินอย่างไม่รู้เหนื่อยกันไป เดินชม ตาดู หูฟังและปากถามเจ้าหน้าที่ไม่ลดละ เพียงเพราะว่าสิ่งที่เราคิดว่า ‘เรารู้' กลายเป็นสิ่งที่เราไม่เคยรู้มาก่อน นั่นเป็นเพราะความเคยชินกับโครงการต่างๆ หรือทฤษฎีต่างๆ แต่ไม่เคยปฏิบัติหรือมาสัมผัสจริง การเดินทาง : จากแยกรังสิต ไปทาง อ.องครักษ์ มุ่งหน้าไปใช้เส้นนครนายก-น้ำตกนางรอง ผ่านวังตะไคร้ ก่อนถึงน้ำตกนางรอง 2 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าโครงการเขื่อนขุนด่านปราการชล ตรงไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงวงเวียน (มีรูปปั้นช้าง) วนขวาข้ามสะพาน ถึงสี่แยกเลี้ยวขวาตรงไปอีก 200 เมตร ศูนย์ฯ จะอยู่ทางซ้ายมือ
นครนายก
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชมาเป็นเวลานาน ก่อนคำว่า “ความหลากหลายทางชีวภาพ (BIOLOAGICAL DIVERSITY)”และอนุรักษ์ (COUSERVATION) จะเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย จากการเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี พ.ศ. 2503 เมื่อเสด็จผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ทอดพระเนตรเห็น ต้นยางนาขนาดใหญ่ขึ้นเป็นจำนวนมาก ทรงมีพระราชทานให้เก็บเมล็ดพันธุ์ยางนาไปเพาะที่ตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน และนำต้นยางนาที่เพาะได้ นำมาปลูก ในสวนจิตรลดา เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ทรงมีพระราชทานพระราชดำริให้ทำการอนุรักษ์ต้นขนุนในพระบรมมหาราชวัง และได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์พรรณไม้ ในพระราชวังต่างๆ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ทรงมีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์ และขยายพันธุ์หวายรวมทั้งดำเนินการจัดสร้างสวนสมุนไพรในโครงการสวนพระองค์ ฯ สวนจิตรลดา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามพระบรมราชกุมารี ทรงสืบต่องานอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยทรงมีพระราชดำริกับท่านเลขาธิการพระราชวัง ให้มีการดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ ในเดือน มิถุนายน 2535 ซึ่งมีโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้จัดสร้างธนาคารพืชพรรณสำหรับเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อรวมทั้งการศึกษาที่มิใช่พืชเศรษฐกิจให้มีการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยนำพระราชดำริ มาเป็นกรอบในการดำเนินการ เมื่อปี พ.ศ. 2536 นายสุจินต์ ภูนิคม กำนันตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร และคณะได้ประสานงานหารือกับผู้อำนวยการบริษัทอุลตร้าโปรดักส์ จำกัด และเกษตรกรจังหวัดชุมพรในการนำพื้นที่สาธารณะประโยชน์ซึ่งตั้ง ณ หมู่ที่ 6 ตำบลสลุย (ปัจจุบัน หมู่ที่ 5,6 ตำบลสลุย และ หมู่ที่ 4 ,7 ตำบลสองพี่น้อง) เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ ซึ่งขณะนั้น โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาก็กำลังจัดหาพื้นที่เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อมาทางโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โดยศาสตราจารย์พิเศษประชิด วามานนท์ (ที่ปรึกษาโครงการส่วนพระองค์) พร้อมคณะได้เดินทางมาพบผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร (นายประยูร พรหมพันธุ์) เพื่อปรึกษาหารือในการจัดทำโครงการโดยใน ระยะ 5 ปี แรกได้ใช้ ชื่อโครงการว่า “โครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณไม้ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร” โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร จึงได้ทำโครงการเสนอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรและได้จัดส่งเอกสารโครงการไปยังผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อโปรดนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองพระบาทในโอกาสอันสมควรและทางโครงการส่วนพระองค์ได้แจ้งตอบรับ เรื่องการนำโครงการอนุรักษ์พันธุไม้และพิพัฒน์พรรณพืชฯ จังหวัดชุมพร ทราบฝ่าละอองพระบาท เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2536 และในการดำเนินโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้ผนวกโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ และพิพัฒน์พรรณพืชของจังหวัดชุมพร เข้ากับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริในส่วนกลางมีดร.พิศิษฐ์ วรอุไร เป็นประธานคณะกรรมการ และจากการประชุมกรรมการ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 ที่ประชุมมีมติเปลี่ยนชื่อโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณพืช ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร เป็นชื่อ “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร”
ชุมพร