คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
ตลาดน้ำทุ่งบัวแดง
10/2 หมู่6 ตำบลบางเลน อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม 73130
Image
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
อยู่ในเวลาปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 09:00 น. - 18:00 น.
• วันจันทร์
: 09:00 น. - 18:00 น.
• วันอังคาร
: 09:00 น. - 18:00 น.
• วันพุธ
: 09:00 น. - 18:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 09:00 น. - 18:00 น.
• วันศุกร์
: 09:00 น. - 18:00 น.
• วันเสาร์
: 09:00 น. - 18:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
ตลาดน้ำทุ่งบัวแดง ณ บางเลน ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองบางเลน จังหวัดนครปฐม เป็นตลาดน้ำที่ไม่เหมือนกับที่ไหน เพราะตั้งอยู่ริมสระบัวกว้างใหญ่ บรรยากาศสวยงาม ที่นี่มีเนื้อที่ทั้งหมดราว ๆ 44 ไร่ แบ่งเป็นโซนต่าง ๆ อย่างชัดเจน โดยเฉพาะบริเวณสระบัวที่มีกว้างขวางมากถึง 24 ไร่ ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถที่จะมาเที่ยวชมบัวแดงได้ตลอดทั้งปี เพราะบัวที่นี่มีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ "บัวสายพันธุ์ดั้งเดิม" และ "บัวแดงมะเหมี่ยว" เพราะฉะนั้นใครอยากจะมาพายเรือชมบัวแดง และสูดอากาศบริสุทธิ์ในยามเช้าก็ได้ หรือจะมาเที่ยว มานั่งพักกินข้าว ดื่มกาแฟมองบัวแดงยามบ่ายก็ดี ยิ่งถ้าเป็นช่วงเย็นที่พระอาทิตย์ตกดิน บรรยากาศก็จะยิ่งโรแมนติกขึ้นไปอีกเท่าตัว
ที่มาข้อมูล
กรมการค้าภายใน
ข้อมูลแนะนำ
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: มีค่าใช้จ่าย
  - ต่างชาติ ผู้ใหญ่
:
  - ต่างชาติ เด็ก
:
  - ไทย ผู้ใหญ่
:
  - ไทย เด็ก
:
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
สวนผลศิริ เป็นสวนใหญ่มีพื้นที่ทั้งหมด 26 ไร่ เป็นสวนผลไม้ผสม อายุประมาณ 35 ปี เป็นผลไม้ปลอดสารพิษ ผลไม้ในสวนมีหลายอย่างด้วยกันเช่น เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง ขนุน กระท้อน และผลไม้แปลรูป ทุเรียนกวน ทุเรียนทอด
ระยอง
พระธาตุก่องข้าวน้อย ตั้งอยู่ในทุ่งนา ตำบลตาดทอง เป็นเจดีย์เก่าสมัยขอม สร้างในพุทธศตวรรษที่ 23-25 ตรงกับสมัยอยุธยาตอนปลาย ตั้งอยู่ในเขตวัดพระธาตุก่องข้าวน้อย ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงทุ่งนาในเขตตำบลตาดทอง พระธาตุก่องข้าวน้อยเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน รูปทรงแปลกไปจากเจดีย์โดยทั่วไป คือมีลักษณะเป็นก่องข้าว องค์พระธาตุเป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สาม ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 2 เมตร ก่อสูงขึ้นไปประมาณ 1 เมตร ช่วงกลางขององค์พระธาตุมีลวดลายทำเป็นซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ถัดจากช่วงนี้ไปเป็นส่วนยอดของเจดีย์ที่ค่อยๆ สอบเข้าหากัน ส่วนยอดรอบนอกของพระธาตุก่องข้าวน้อยมีกำแพงอิฐล้อมรอบขนาด 55 เมตร นอกจากนี้บริเวณด้านหลังพระธาตุมีพระพุทธรูปอยู่องค์หนึ่งก่อด้วยอิฐ ชาวบ้านนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก และในเดือนห้าจะมีผู้คนนิยมมาสรงน้ำพระและปิดทอง เชื่อกันว่าถ้าไม่ทำเช่นนี้ฝนจะแล้งในปีนั้น นอกจากนี้ที่บริเวณบ้านตาดทอง กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดค้นเรื่องราวของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้ค้นพบโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และภาชนะลายเขียนสีแบบบ้านเชียง
ยโสธร
สวนไร่ทรัพย์ทวี บ้านเลขที่ 16/1 หมู่ที่ 5 ตำบลคลองกระบือ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
นครศรีธรรมราช
- ชมและถ่ายภาพกับดอกหน้าวัวหลากสี - ชมหม้อข้าวหม้อแกงลิง - ชมดอกกล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่ - ถ่ายรูปกับสับปะรดสีสวยๆ และบรรยากาศในขุนเข เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ: ท่าปอมคลองสองน้ำ ระยะทาง 6.9 กิโลเมตร อ่าวท่าเลน ระยะทาง 11 กิโลเมตร เขากาโรส ระยะทาง 11 กิโลเมตร เขาหงอนนาค ระยะทาง 12 กิโลเมตร วัดถ้ำเสือ ระยะทาง 12 กิโลเมตร หาดนพรัตน์ธารา ระยะทาง 16 กิโลเมตร หาดอ่าวนาง ระยะทาง 17 กิโลเมตร สุสานหอย ระยะทาง 19 กิโลเมตร
กระบี่
หมู่บ้านที่รวมกลุ่มกันทำปลูกผักอินทรีย์ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาชมและเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักจากเศษขยะ การทำปุ๋ยน้ำหมักจากหอยเชอรีย์ การปลูกผักอินทรีย์พันธ์พระราชทานจักรพรรณเพ็ญศิริ เข้ามาชมได้ทุกวัน โทร 08199896279
พะเยา
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี เป็นหน่วยงานของกรมส่งเสริมการเกษตร มีหน้าที่ให้บริการความรู้ และฝึกอาชีพด้านการเกษตรแก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและแหล่งศึกษาดูงานด้านการเลี้ยงและแมลงเศรษฐกิจ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผึ้งและชันโรง และการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีจุดเรียนรู้ต่างๆ ภายในศูนย์ ดังนี้ - จุดเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ - จุดเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งโพรง - จุดเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งชันโรง - จุดเรียนรู้การเลี้ยงจิ้งหรีด - จุดเรียนรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผึ้ง และผึ้งชันโรง - จุดเรียนรู้การเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง (การปลูกพืชผักในภาชนะ การเพาะเห็ดนาฟ้า ) โปรแกรมการท่องเที่ยว สามารถท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ (พร้อมระยะทาง/กม.) - ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจันทบุรี (ทุ่งเพล) ระยะทาง 21 กม. - ศูนย์พัฒนาไม้ผลตามพระราชดำริจังหวัด จันทบุรี ระยะทาง 24 กม. - สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 6 จันทบุรี ระยะทาง 25 กม. - ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ระยะทาง 48 กม. - ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านปัถวี ระยะทาง 5 กม. สินค้าวิสาหกิจชุมชนในชุมชน - น้ำผึ้ง - น้ำผึ้งชันโรง - ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผึ้งและผึ้งชันโรง (สบู่น้ำผึ้ง แชมพูน้ำผึ้งสมุนไพร ไขผึ้งสมุนไพร ลิบบาล์มไขผึ้ง โลชั่นโปรโปลิส ครีมนมผึ้ง)
จันทบุรี
สนใจท่องเที่ยวชุมชน ติดต่อได้ที่ ผู้ใหญ่มัทนา ศรอารา (ผู้ใหญ่เก๋) หมายเลขโทรศัพท์ 081-8803732
กาญจนบุรี
เป็นสวนผลไม้ขนาดใหญ่บนพื้นที่กว่า 500 ไร่ มีรถบริการให้นักท่องเที่ยวนั่งชมสวนและรับประทานผลไม้ในรูปแบบบุฟเฟ่ต์ในช่วงฤดูผลไม้ ทั้ง เงาะ มังคุด ลำไย ส้มโอ ฯลฯ และในช่วงฤดูหนาว สวนละไมจะเปิดให้ชมไร่สตอเบอรี่ และ ทุ่งดอกคอสมอสสีสันสวยงาม และยังมีฟาร์มแกะเอาใจคนรักสัตว์ไว้ให้ป้อนนม และถ่ายรูปกับแกะแสนรู้อีกด้วย
ระยอง
1. สวนมณีทิพ สวนผลไม้ผสมผสาน เช่น ขนุน ส้มโอ ทุรียน ฯลฯ ที่อยู่ 784/3 หมู่ที่ 7 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 081-2803176 2. สวนศรปัก ดอกหน้าวัว ไม้ดอก ไม้ประดับ ที่อยู่ 255 หมู่ที่ 10 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 081-9727449 3. ต้นพระศรีมหาโพธิ์ วัดไผ่ใหญ่ไพรญาราม ที่ตั้ง หมู่ที่ 10 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง 4.น้ำตกไผ่สีทอง ที่ตั้ง หมู่ที่ 13 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง 5. ฟาร์มกวางแดง RED DEER FARM เลี้ยงกวางดาว กวางรูซ่า และกวางแดง พร้อมจำหน่ายเนื้อกวาง และผลิตภัณฑ์จากกวาง ที่อยู่ 568/3 หมู่ที่ 10 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 095-5322207 6.สวนเกษตรไพบูลย์ ศูนย์เรียนรู้การเกษตร ไม้ผลผสมผสาน เช่น มะขามเปรี้ยวยักษ์ มะม่วง มะยงชิด อินทผลัม ฯลฯ และที่พัก ที่อยู่ 3/1 หมู่ที่ 9 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 089-6421461 087-3109216 7. สวนโพธิ์ทอง สวนผลไม้ผสมผสาน เช่น ลำไย ขนุน มะม่วง มะนาว ฯลฯ และจำหน่ายพันธุ์ไม้ผล ที่อยู่ 284 หมู่ที่ 9 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 089-0112741 8.กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรซำตะเคียน ผลิตภัณฑ์แปรรูปผลผลิตการเกษตร ไม้ผล พืชผัก ที่พัก และอาหาร ที่อยู่ 285/1 หมู่ที่ 9 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 081-4744310 9. สมพลการ์เดนท์ สวนผลไม้ผสมผสาน เช่น มังคุด เงาะ ลำไย มะไฟ ฯลฯ ที่อยู่ 304 หมู่ที่ 9 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 081-1359777 10. ภักดีฟาร์ม เลี้ยงกวาง พร้อมจำหน่ายเนื้อ และผลิตภัณฑ์จากกวาง ที่อยู่ หมู่ที่ 9 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 081-8452993 11. บ่อคาการ์เดนท์ ผักปลอดภัยจากสารพิษ ที่อยู่ 148 หมู่ที่ 9 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 094-6265551 12. บ้านและสวนพูพูน สวนมะยงชิด ที่พักและอาหาร ที่อยู่ 43/2 หมู่ที่ 9 ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง โทร. 081-9737839 13. สวนหลงรักไทย สวนทุเรียนหลงรักไทย พร้อมจำหน่ายกิ่งพันธุ์ ที่อยู่ 10/2 หมู่ที่ 9 ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง โทร. 083-3333316 14. สวนพงษ์แตง สวนลำไย ที่พัก และอาหาร ที่อยู่ 437 หมู่ที่ 7 ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง โทร. 081-9917073 โปรแกรมการท่องเที่ยว : 2 วัน 1 คืน เยี่ยมชมและชิมผลไม้ตามฤดูกาล รสเด็ด หวาน หอม สด ๆ จากสวนของสมาชิกกลุ่ม เพลิดเพลินกับการ “ชมพระอาทิตย์ตกดิน” ที่มีคำล่ำลือว่าสวยที่สุด ณ บ้านชำตาเจียม Check-in เข้าสู่ที่พักแบบ “บ้านพักในสวน” สัมผัสวิถีชีวิตชาวสวน พร้อมชมศูนย์การเรียนรู้บัวสวรรค์ หมู่ที่ 10 บ้านวังนกแอ่น รับประทานอาหารเย็นทีบ้านซำตาเจียม ชม พร้อม“พญาหิ่งห้อย” ที่พร้อมเรืองแสงต้อนรับทุกท่าน พักผ่อนตามอัธยาศัย รับประทานอาหารเช้าที่ที่พัก เยี่ยมชมวิธีการเลี้ยงกวางของคนท้องถิ่น “ฟาร์มกวาง” , เดินศึกษาเส้นทางธรรมชาติพร้อมเล่นน้ำที่ “น้ำตกไผ่สีทอง” และชมวิธีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรที่บ้านซำตะเคียน พร้อมซื้อของฝากจากชาวสวน เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ : -ห่างจากน้ำตกไผ่สีทอง ระยะทาง 5 กม. -ห่างจากทุ่งโนนสน ระยะทาง 20 กม.
พิษณุโลก
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชมาเป็นเวลานาน ก่อนคำว่า “ความหลากหลายทางชีวภาพ (BIOLOAGICAL DIVERSITY)”และอนุรักษ์ (COUSERVATION) จะเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย จากการเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี พ.ศ. 2503 เมื่อเสด็จผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ทอดพระเนตรเห็น ต้นยางนาขนาดใหญ่ขึ้นเป็นจำนวนมาก ทรงมีพระราชทานให้เก็บเมล็ดพันธุ์ยางนาไปเพาะที่ตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน และนำต้นยางนาที่เพาะได้ นำมาปลูก ในสวนจิตรลดา เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ทรงมีพระราชทานพระราชดำริให้ทำการอนุรักษ์ต้นขนุนในพระบรมมหาราชวัง และได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์พรรณไม้ ในพระราชวังต่างๆ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ทรงมีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์ และขยายพันธุ์หวายรวมทั้งดำเนินการจัดสร้างสวนสมุนไพรในโครงการสวนพระองค์ ฯ สวนจิตรลดา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามพระบรมราชกุมารี ทรงสืบต่องานอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยทรงมีพระราชดำริกับท่านเลขาธิการพระราชวัง ให้มีการดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ ในเดือน มิถุนายน 2535 ซึ่งมีโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้จัดสร้างธนาคารพืชพรรณสำหรับเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อรวมทั้งการศึกษาที่มิใช่พืชเศรษฐกิจให้มีการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยนำพระราชดำริ มาเป็นกรอบในการดำเนินการ เมื่อปี พ.ศ. 2536 นายสุจินต์ ภูนิคม กำนันตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร และคณะได้ประสานงานหารือกับผู้อำนวยการบริษัทอุลตร้าโปรดักส์ จำกัด และเกษตรกรจังหวัดชุมพรในการนำพื้นที่สาธารณะประโยชน์ซึ่งตั้ง ณ หมู่ที่ 6 ตำบลสลุย (ปัจจุบัน หมู่ที่ 5,6 ตำบลสลุย และ หมู่ที่ 4 ,7 ตำบลสองพี่น้อง) เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ ซึ่งขณะนั้น โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาก็กำลังจัดหาพื้นที่เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อมาทางโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โดยศาสตราจารย์พิเศษประชิด วามานนท์ (ที่ปรึกษาโครงการส่วนพระองค์) พร้อมคณะได้เดินทางมาพบผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร (นายประยูร พรหมพันธุ์) เพื่อปรึกษาหารือในการจัดทำโครงการโดยใน ระยะ 5 ปี แรกได้ใช้ ชื่อโครงการว่า “โครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณไม้ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร” โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร จึงได้ทำโครงการเสนอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรและได้จัดส่งเอกสารโครงการไปยังผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อโปรดนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองพระบาทในโอกาสอันสมควรและทางโครงการส่วนพระองค์ได้แจ้งตอบรับ เรื่องการนำโครงการอนุรักษ์พันธุไม้และพิพัฒน์พรรณพืชฯ จังหวัดชุมพร ทราบฝ่าละอองพระบาท เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2536 และในการดำเนินโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้ผนวกโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ และพิพัฒน์พรรณพืชของจังหวัดชุมพร เข้ากับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริในส่วนกลางมีดร.พิศิษฐ์ วรอุไร เป็นประธานคณะกรรมการ และจากการประชุมกรรมการ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 ที่ประชุมมีมติเปลี่ยนชื่อโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณพืช ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร เป็นชื่อ “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร”
ชุมพร
Rayong Smile Plants ศูนย์การเรียนรู้พืชกินแมลงจังหวัดระยอง แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร Young Smart Farmer ที่ควรไปสักครั้งในชีวิต ตั้งอยู่ในต.นาตาขวัญ อ.เมืองระยอง เป็นศูนย์รวบรวมพันธุ์หม้อข้าวหม้อแกงลิงกว่า 500 สายพันธุ์
ระยอง
วังน้ำเขียว ขับผ่านแล้วเจอน้องไวโอเล็ต สีม่วงน่าถ่ายรูปมาก ไร่สตรอเบอรี่ฟ้าใส แต่ไม่ได้สนใจสตรอเบอรี่เลย แต่ถ้าสนใจเขามีให้เก็บจากต้นสดๆ
นครราชสีมา