คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ บ้านธารทอง
สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ บ้านธารทอง ตำบลแม่เงิน อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
Image
สภาพอากาศวันนี้
เปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันจันทร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันอังคาร
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพุธ
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันศุกร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันเสาร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ พืชผักปลอดสารพิษ ไม้ดอก
ประวัติความเป็นมา
โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ บ้านธารทอง วันที่ 16 มีนาคม 2546 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จทอดพระเนตรพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติสบกกฝั่งขวา ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร และถูกบุกรุกพื้นที่เพื่อจับจองที่ทำกินโดยชาวเขา บ้านขุนน้ำคำ ทำให้ป่าไม้ถูกทำลายลงเป็นจำนวนมาก ทางราชการจึ่งได้ทำการอพยพราษฎรบ้านขุนน้ำคำ ลงมาอยู่ในพื้นที่ บ้านธารทอง ตำบลแม่เงิน อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย พิกัด PC316434 ซึ่งอยู่ห่างจากจุดเสด็จประมาณ 5 กิโลเมตร ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงมีต่อพสกนิกรทุกหมู่เหล่า ได่พระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการจัดตั้งสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง บ้านธารทอง ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 10,000 ไร่ เพื่อหยุดยั้งการทำลายป่าให้สถานีเป็นแหล่งจ้างงานผลิตอาหารที่ปลอดภัยและในขณะเดียวกันให้เป็นศูนย์การเรียนรู้การเกษตรที่ถูกวิธี จนกระทั่งนำไปผลิตในที่ดินของตนเองสามารถดำรงชีพอยู่กับป่าอย่างยั่งยืนได้ รวมถึงการจัดระเบียบชุมชนและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นและพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ต่อไป ด้วยพื้นที่ดังกล่าวถูกบุกรุกทำลายและประกอบกับพื้นที่บริเวณนี้อยู่ติดกับชายแดน ซึ่งเป็นแหล่งผลิตยาเสพติดที่สำคัญ อาจจะกระทบต่อความมั่นคงในอนาคต ตลอดจนถึงคุณภาพชีวิตของราษฎรที่ไม่ดีพอจึงทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งเป็นสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง โดยเน้นในเรื่องการให้คนอยุ่ร่วมกับป่าได้อย่างผสมกลมกลืน การดำเนินการของสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริบ้านธารทองจึงมีทั้ง การฟื้นฟูสภาพป่าและระบบนิเวศน์ และจ้างแรงงานราษฎรเพื่อให้มีรายได้และเป็นแหล่งเรียนรู้จากสถานีเพื่อที่จะ ไปดำเนินการในพื้นที่ของตนเองที่มีอยู่ให้เกิดราบได้ที่ยั่งยืน ไม่บุกรุกทำลายป่าและมีที่อยู่และที่ทำกินเป็นหลักแหล่ง ซึ่งสถานีได้เน้นปลูกไม้ผล ไม้ดอก และพืชผักปลอดสารพิษรวมถึงการหาตลาดเพื่อจำหน่ายให้แก่ราษฎรที่เข้าร่วม โครงการกับทางสถานีด้วย และเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2547 สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จไปยังสถานีฯเพื่อทอดพระเนตรความก้าวหน้าของการดำเนินงานที่จะมุ่ง มั่นสู่ผลสัมฤทธิ์ให้คนอยู่กับป่าได้อย่างเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
ที่มาข้อมูล
Thailand Tourism Directory
ข้อมูลแนะนำ
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: ไม่มีค่าใช้จ่าย
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
กินทุเรียนสดๆ ใหม่ๆในสวน ที่สวนทุเรียนจันทบุรี ป้าอิ๊ดวิถีธรรมชาติ เราพร้อมมอบประสปการณ์การกินทุเรียนที่แตกต่าง จากที่คุณเคยสัมผัสมา สวนทุเรียนจันทบุรี ป้าอิ๊ด เริ่มปลูกอย่างเป็นทางการ เมื่ิอเดือน กรกฏาคม 2563 ภายใต้แนวคิดทุเรียนที่ใช้สารเคมีน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ #สวนทุเรียนจันทบุรี ด้วยสภาพภูมิประเทศ ดินปนทราย จึงทำให้น้ำไม่ขัง เนื้อทุเรียน จึง มีความแห้ง+มัน อร่อยและมีความแตกต่างอย่างชัดเจน หน้าที่ของคุณคือ "มีความสุขกับการกินทุเรียน" ที่เหลือ คือหน้าที่เรา สวนทุเรียนจันทบุรี
จันทบุรี
บุบเฟ่ต์ผลไม้ การทำกะราง ข้าวตังพื้นบ้าน การสานเสื่อคล้า รำตัดเด็ก
ระยอง
“ศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์” ภายใต้แนวคิดการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ด้านการจัดการป่าครบวงจร เป็นพื้นที่สาธิตการปลูกป่าและวิจัยการฟื้นฟูป่าหลากหลายรูปแบบ เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้ท้องถิ่นภาคตะวันออกและพันธุ์ไม้หายากของไทย รวมถึงเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้เรื่องการปลูกป่าและระบบนิเวศป่าไม้ ให้แก่นิสิต นักศึกษา นักเรียน และประชาชนผู้สนใจ อีกทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศแห่งใหม่ที่สำคัญของภาคตะวันออก โดยศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเปิดศูนย์ฯเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม 2558 และได้เปิดให้บริการแก่ประชาชนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ระยอง
บ้านไร่ไชยสุริย์ ตำบลศรีบุญเรือง อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร เป็นศูนย์เรียนรู้การสร้างอาชีพ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ให้กับประชาชนและสามรถที่นักท่องเที่ยวสามารถเยี่ยมชมการเกษตรต่างๆเพื่อนำไปปรับใช้เป็นอาชีพของตนเองได้
มุกดาหาร
สถานีวิจัยและฝึกอบรมที่สูง ใช้เป็นแปลงเพื่อศึกษาทดลองเกี่ยวกับพืช เป็นสถานที่ฝึกงานนักศึกษาทั้งในและนอกสถาบัน และ เป็นที่ศึกษาธรรมชาติ ให้แก่บุคคลผู้สนใจทั่วไป
เชียงใหม่
ทุ่งดอกไม้แห่งใหม่ที่สวยงามไม่แพ้กับที่จังหวัดเชียงใหม่เลย ที่ไร่เมล๋อน ชากังราวจังหวัดกำแพงเพชรสวนดอกไม้เปิดใหม่ที่ตำบลเขาคีรีส อำเภอพรานกระต่าย ซึ่งกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากนักท่องเที่ยว
กำแพงเพชร
ไร่สุขถวิล อินทผลัมเมืองช้าง จังหวัดสุรินทร์ 164 หมู่ 5 ตำบล หนองระฆัง อำเภอ สนม จังหวัด สุรินทร์ 32160
สุรินทร์
“สีเขียว” มักเยียวยาหัวใจให้สดชื่น ช่วยให้สบายตา สบายใจ ยิ่งในช่วงอากาศเย็น ๆ ของฤดูฝน “นาขั้นบันได โครงการปิดทองหลังพระ” อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน อีกปลายทางที่ไม่ควรพลาดวิวท้องนาข้าวสีเขียว ที่ปกคลุมทั้งเขาน้อยใหญ่ เป็นภาพทิวทัศน์ที่คุ้มค่าแก่การมาถึง จากทุ่งนาข้าว พักจิบกาแฟเคล้าวิวหมอก กับกาแฟเจี๊ยงลั๊วะ กาแฟอาราบิก้าคุณภาพดีแห่งหนึ่งของ จ.น่าน ก่อนมุ่งหน้า สู่อุทยานแห่งชาติขุนน่าน ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพรรณไม้ที่สวยงามในหน้าฝน
น่าน
บ้านมณีพฤกษ์ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 11 ตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้งและเผ่าลั๊วะ สภาพภูมิประเทศที่ตั้ง หมู่บ้านเป็นภูเขาสูง ตั้งอยู่ในระดับความสูงที่ 1,200 – 1,400 เมตร
น่าน
...ชิมชา......ชาผักเชียงดาที่ผลิตภายในศูนย์ฯ ...ชมสวน...ชมแปลงเรียนรู้การเกษตรด้าน ไม้ดอก-ไม้ประดับ,ไม้ผล-ไม้ยืนต้น,เศรษฐกิจพอเพียง,พืชผักและสมุนไพร,แมลงเศรษฐกิจ,ฝายชะลอน้ำ,แปลงรวบรวมพันธุ์ไม้หายาก,จุดเช็คอินธรรมชาติ,เส้นทางเดินชมธรรมชาติ,ชมตาน้ำ,ดูนกท้องถิ่น...ฯลฯ ...ชวนช้อป...สินค้าผลผลิตทางการเกษตรของกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรที่บริเวณจุดจำหน่ายด้านหน้าศูนย์ฯ โปรแกรมการท่องเที่ยว : ทริปเที่ยว ๑ วันภายในศูนย์ฯ ทริปเที่ยว ๒ วัน ๑ คืน..พร้อมท่องเที่ยวแหล่งอื่นๆที่ใกล้เคียง เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ: '- บ้านไทลื้อบ้านลวงใต้ ระยะทางก่อนถึงศูนย์ฯ ๗ กม. - วัดศรีมุงเมือง ระยะทางก่อนถึงศูนย์ฯ ๗ กม. - วัดพระธาตุดอยสะเก็ด ระยะทางก่อนถึงศูนย์ฯ ๗ กม. - หนองบัวพระเจ้าหลวง ระยะทางก่อนถึงศูนย์ฯ ๕ กม. สะพานแขวนเขื่อนแม่กวงอุดมธารา ระยะทางก่อนถึงศูนย์ฯ ๑๐กม. - น้ำพุร้อนดอยสะเก็ด ระยะทางจากศูนย์ฯ ๙ กม. - ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ระยะทางจากศูนย์ฯประมาณ ๔ กม. - โครงการพระราชดำริฯศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตรแปลงสาธิต๘๕ไร่ ระยะทางจากศูนย์ฯถึงประมาณ ๗ กม.
เชียงใหม่
นักท่องเที่ยวท่านใดที่เดินทางมาที่สวนลำดวน ถ้าได้มาแล้วไม่มีคำว่าผิดหวังแน่นอน กับการได้รับประทานบุฟเฟ่ต์ผลไม้ ทั้ง เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง สามารถทานได้ไม่อั้น จนกว่าลูกค้าจะพอใจ ที่สำคัญไปกว่านั้นทุเรียน เราสามารถเลือกทานได้ ตามใจเรา เพราะมีค่อนข้าง หลากหลายพันธุ์ เจ้าของสวนบริการดี มีมนุษย์สัมพันธ์กับลูกค้าแบบเป็นกันเอง
ระยอง
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชมาเป็นเวลานาน ก่อนคำว่า “ความหลากหลายทางชีวภาพ (BIOLOAGICAL DIVERSITY)”และอนุรักษ์ (COUSERVATION) จะเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย จากการเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี พ.ศ. 2503 เมื่อเสด็จผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ทอดพระเนตรเห็น ต้นยางนาขนาดใหญ่ขึ้นเป็นจำนวนมาก ทรงมีพระราชทานให้เก็บเมล็ดพันธุ์ยางนาไปเพาะที่ตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน และนำต้นยางนาที่เพาะได้ นำมาปลูก ในสวนจิตรลดา เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ทรงมีพระราชทานพระราชดำริให้ทำการอนุรักษ์ต้นขนุนในพระบรมมหาราชวัง และได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์พรรณไม้ ในพระราชวังต่างๆ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ทรงมีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์ และขยายพันธุ์หวายรวมทั้งดำเนินการจัดสร้างสวนสมุนไพรในโครงการสวนพระองค์ ฯ สวนจิตรลดา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามพระบรมราชกุมารี ทรงสืบต่องานอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยทรงมีพระราชดำริกับท่านเลขาธิการพระราชวัง ให้มีการดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ ในเดือน มิถุนายน 2535 ซึ่งมีโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้จัดสร้างธนาคารพืชพรรณสำหรับเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อรวมทั้งการศึกษาที่มิใช่พืชเศรษฐกิจให้มีการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยนำพระราชดำริ มาเป็นกรอบในการดำเนินการ เมื่อปี พ.ศ. 2536 นายสุจินต์ ภูนิคม กำนันตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร และคณะได้ประสานงานหารือกับผู้อำนวยการบริษัทอุลตร้าโปรดักส์ จำกัด และเกษตรกรจังหวัดชุมพรในการนำพื้นที่สาธารณะประโยชน์ซึ่งตั้ง ณ หมู่ที่ 6 ตำบลสลุย (ปัจจุบัน หมู่ที่ 5,6 ตำบลสลุย และ หมู่ที่ 4 ,7 ตำบลสองพี่น้อง) เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ ซึ่งขณะนั้น โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาก็กำลังจัดหาพื้นที่เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อมาทางโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โดยศาสตราจารย์พิเศษประชิด วามานนท์ (ที่ปรึกษาโครงการส่วนพระองค์) พร้อมคณะได้เดินทางมาพบผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร (นายประยูร พรหมพันธุ์) เพื่อปรึกษาหารือในการจัดทำโครงการโดยใน ระยะ 5 ปี แรกได้ใช้ ชื่อโครงการว่า “โครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณไม้ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร” โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร จึงได้ทำโครงการเสนอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรและได้จัดส่งเอกสารโครงการไปยังผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อโปรดนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองพระบาทในโอกาสอันสมควรและทางโครงการส่วนพระองค์ได้แจ้งตอบรับ เรื่องการนำโครงการอนุรักษ์พันธุไม้และพิพัฒน์พรรณพืชฯ จังหวัดชุมพร ทราบฝ่าละอองพระบาท เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2536 และในการดำเนินโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้ผนวกโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ และพิพัฒน์พรรณพืชของจังหวัดชุมพร เข้ากับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริในส่วนกลางมีดร.พิศิษฐ์ วรอุไร เป็นประธานคณะกรรมการ และจากการประชุมกรรมการ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 ที่ประชุมมีมติเปลี่ยนชื่อโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณพืช ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร เป็นชื่อ “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร”
ชุมพร