คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
บ้านซ่งแย้ หรือ วัดอัครเทวดามิคาแอล
บ้านหนองซ่งแย้ หมู่2 ตำบลคำเตย อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร 35120
Image
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
เปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันจันทร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันอังคาร
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพุธ
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันศุกร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันเสาร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้ ตั้งอยู่ที่อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร มีประวัติเล่าสืบกันมาว่าในปี ค.ศ.1908 มีผู้หนีตายอพยพจากที่ต่าง ๆ กัน เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้รวม 5 ครอบครัว ซึ่งหนีมาด้วยสาเหตุเดียวกัน คือ ถูกกล่าวหาว่าเป็นผีปอบ ชาวบ้านในหมู่บ้านจึงรุมทำร้ายและขับไล่ เป็นโบสถ์หลังที่ 4 วางแผนก่อสร้างปี ค.ศ. 1936 ชาวบ้านพากันรวบรวมไม้ ลงมือสร้างปี ค.ศ. 1947 ตัวโบสถ์รูปทรงที่สร้างขึ้นมีลักษณะแบบศิลปะไทย กว้าง 16 เมตร ยาว 57 เมตร จัดเป็นโบสถ์ไม้ที่ใหญ่ที่สุด ในประเทศไทย ใช้แผ่นไม้เป็นแป้นมุง หลังคา 80,000 แผ่น ใช้เสาขนาดต่างๆกันถึง 360 ต้น ส่วนใหญ่เป็นเสาไม้เต็ง เสาในแถวกลางมีขนาดใหญ่ยาวที่สุดมี 260 ต้น สูงจากพื้นดินกว่า 10 เมตร พื้นแผ่นกระดานเป็นไม้แดงและไม้ตะเคียนขนาดใหญ่ ม้านั่งไม้จุคนได้กว่าพันคน ระฆังโบสถ์มีเส้นผ่าศูนย์กลางเกือบ 2 ฟุต อยู่ในหอระฆังสูงที่สร้างแบบหอระฆังตามวัดไทยทั่วไป แต่แปลกตรงที่แยกต่างหากจากโบสถ์ และเนื่องจากไม้ที่ได้รวบรวมมามีจำนวนมาก จึงได้นำไม้ที่เหลือมาสร้างโรงเรียนบ้านซ่งแย้พิทยา

ข้อมูลและรูปภาพจากเว็บไซต์ : http://www.yasothon.go.th/web/file/menu4.html
ประวัติความเป็นมา
ชาวบ้านหนองซ่งแย้ลงแรงสร้างโบสถ์ไม้ขนาดใหญ่ขึ้นเป็นโบสถ์คริสต์นิกายคาทอลิก ที่ก่อสร้างด้วยไม้และมีหน้าจั่วประดับกระจกซึ่งใหญ่ที่สุดในประเทศ เริ่มจากเมื่อปี 2451 หมู่บ้านที่ตั้งโบสถ์แห่งมีชื่อว่า บ้านหนองซ่งแย้ (แปลว่าที่อยู่ของแย้) เป็นหมู่บ้านเล็กๆ กลางดงทึบ ประวัติความเป็นมาเริ่มจากที่บ้านซ่งแย้ มีชาวบ้าน 5 ครอบครัว ที่มาจากคนละทิศคนละทาง ได้อพยพเข้ามาอยู่ใหม่กับชาวบ้านที่อยู่ดั้งเดิม อยู่กันได้สักระยะหนึ่งก็ถูกกล่าวหาว่าเป็นครอบครัวผีปอบ ถูกชาวบ้านกุ้มรุมทำร้ายและระดมขับไล่ออกจากหมู่บ้าน ทำให้กลุ่ม 5 ครอบครัวเดือดร้อนอับจนหนทาง จึงเดินทางไปหาบาทหลวงฝรั่งเศส “เดชาแนล” และ ออมโบรซีโอ” ที่บ้านเซซ่ง ต.เชียงเพ็ง อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร ให้มาช่วยขับไล่ผีปลอบที่สิงอยู่กับตนและครอบครัว ซึ่งบาทหลวงทั้งคู่ก็หาวิธีการมาช่วยขับไล่ผีปลอบให้แก่ชาวบ้านจนเหตุการณ์สงบลง ทั้ง 5 ครอบครัวจึงเข้ารีตเป็นคริสเตียนนิกายโรมันคาทอลิค ต่อมาหมู่บ้านแห่งนี้จึงกลายเป็นประชาคมชาวคริสต์ บาทหลวงทั้ง 2 จึงได้สร้างวัดหนองซ่งแย้ขึ้นมา ในปี พ.ศ. 2452 โดยใช้ชื่ออย่างเป็นทางการในภาษาลาตินว่า “วัดอัครเทวดามิคาแอล” ซึ่งเป็นชื่อของนักบุญคนสำคัญ โดยมีบาทหลวงเดชาแนลเป็นอธิการโบสถ์คนแรก อาคารโบสถ์คริสต์วัดซ่งแย้ ในระยะแรกนั้นสร้างเป็นกระต๊อบเล็กๆ ฝาขัดแตะให้บาทหลวงทั้ง 2 อยู่ พร้อมกับใช้เป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนาควบคู่ไปในตัว จากโบสถ์ไม้หลังแรกเมื่อ 100 ปี ได้มีการปรับปรุงพัฒนาเรื่อยมาเนื่องจากอายุการใช้งานของไม้ย่อมผุพังไปตามอายุ โบสถ์คริสไม้หลังใหม่ เริ่มก่อสร้างในปี 2490 ได้ปรับปรุงให้มีช่องแสงประดับกระจกสีสวยงาม จนเสร็จสมบูรณ์และกระทำพิธีเสกวัดเมื่อปี พ.ศ. 2497 จนปัจจุบันยังคงมีความโดดเด่นสวยงามแปลกตา เนื่องจากเป็นโบสถ์คริสต์ที่สร้างด้วยไม้ล้วนๆ ด้วยความที่โบสถ์วัดซ่งแย้มีความน่าสนใจหลายประการ ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จึงจัดให้โบสถ์วัดซ่งแย้ เป็นสถานที่ท่องเที่ยว “UNSEEN in THAILAND”
ที่มาข้อมูล
Thailand Tourism Directory
ข้อมูลแนะนำ
กลุ่มนักท่องเที่ยว
• กลุ่มครอบครัว
• กลุ่มวัยทำงาน
• กลุ่มนักเรียนนักศึกษา / เยาวชน / วัยรุ่น
• กลุ่มท่องเที่ยวเชิงศาสนา
• กลุ่ม MICE / ศึกษาดูงาน
• กลุ่มศิลปวัฒนธรรม / ประวัติศาสตร์
• กลุ่มวิถีชีวิต / ชุมชน / วิถีเกษตร
การเดินทาง
• รถยนต์
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: ไม่มีค่าใช้จ่าย
• หมายเหตุ : -
สิ่งอำนวยความสะดวก
ลานจอดรถ
สุขา
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
ร้านขายสินค้าที่ระลึก
ศูนย์บริการสำหรับผู้พิการ
ทางลาด
สาธารณูปโภค
ระบบรักษาความปลอดภัย
• กล้อง CCTV
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
บรรยากาศภายในวัดร่มรื่น ทางเข้าโบสถ์เพื่อเข้าไปสักการะพระพุทธรูป เป็นซุ้มปรตูตกแต่งสวยงาม โดยด้านบนคือพระราหูอมจันทร์ อีกทั้งมีพญาต่อยักษ์ ให้เข้าไปกราบไหว้ขอโชคลาภ เชื่อว่าช่วยต่อเงิน ต่อทอง เมื่อสักการะสิ่งศักดิ์สิทธ์เรียบร้อย สามารถเดินทางไปเที่ยวน้ำตกเอราวัณต่อได้ เนื่องจากวัดวังจาน อยู่ก่อนถึงน้ำตกเอราวัณ
กาญจนบุรี
ที่นี่ บ้านนาสวนสามขา อำเภอสันติสุข สัมผัสวิถีเนิบช้ากับยามเช้าอันแสนสงบ เที่ยวชมท้องทุ่งสีเขียวอ่อน ในหน้าฝน สูดดิน กลิ่นโคลน สุดสดชื่นระรื่นตา กับบรรยากาศชายทุ่งเดินเล่นทอดน่องพักผ่อนสบายๆ กินอยู่ง่ายๆ เก็บพืชผักสวนครัวในบ้าน นำมาปรุงอาหาร เป็นเมนูในท้องถิ่น แค่นี้ก็อิ่มอร่อยมีเวลาเหลือๆ ลงแปลงเพาะกล้า ทำนาโยน เรียนรู้การเกษตรวิถีใหม่ บางคนไม่ใช่เกษตรกรโดยตรง ไม่เคยดำนา มาท่องเที่ยว อยากเดินย่ำโคลนโยนข้าว สัมผัสสายลม และท้องทุ่งขนต้นกล้าที่เพาะไว้ไปแปลงนา เดินป่าๆ โยนๆ แบบซิวๆ ไม่ต้องก้มให้เมื่อย ยิ่งแดดร่ม ลมตกแบบนี้สบายๆ
น่าน
ทุ่งดอกไม้แห่งใหม่ที่สวยงามไม่แพ้กับที่จังหวัดเชียงใหม่เลย ที่ไร่เมล๋อน ชากังราวจังหวัดกำแพงเพชรสวนดอกไม้เปิดใหม่ที่ตำบลเขาคีรีส อำเภอพรานกระต่าย ซึ่งกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากนักท่องเที่ยว
กำแพงเพชร
วังน้ำเขียว ขับผ่านแล้วเจอน้องไวโอเล็ต สีม่วงน่าถ่ายรูปมาก ไร่สตรอเบอรี่ฟ้าใส แต่ไม่ได้สนใจสตรอเบอรี่เลย แต่ถ้าสนใจเขามีให้เก็บจากต้นสดๆ
นครราชสีมา
โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์พืชเศรษฐกิจ พืชพันธุ์ดีของอำเภอท่ายาง และของจังหวัดเพชรบุรี เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรแก่เกษตรกร
เพชรบุรี
บ้านมณีพฤกษ์ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 11 ตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้งและเผ่าลั๊วะ สภาพภูมิประเทศที่ตั้ง หมู่บ้านเป็นภูเขาสูง ตั้งอยู่ในระดับความสูงที่ 1,200 – 1,400 เมตร
น่าน
ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี ถือเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการ ฟื้นฟูป่าชายเลนจากนากุ้งร้างเป็นแห่งแรกในประเทศไทย เดิมทีเป็นนากุ้งที่ได้รับสัมปทาน อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองเก่า – คลองคอย ตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด้วยน้ำพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินมาที่ปราณบุรี กรมป่าไม้ได้สนองพระราชดำริด้วยการยกเลิกสัมปทานนากุ้ง แล้วรวมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ พัฒนาป่าไม้ปากน้ำปราณบุรีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พร้อมเร่งฟื้นฟูป่าชายเลนและกำหนด ให้เป็นพื้นที่เป้าหมายในการปลูกป่าและพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนในเวลาต่อมา
ประจวบคีรีขันธ์
สวนผักครูสรรเสริญ แหล่งผลิตผักปลอดสารพิษบนเนื้อที่ 47 ไร่ เป็นต้นแบบและแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงานของเกษตรกรในพื้นที่ และผู้ศึกษาดูงานทั่วไปเป็นอย่างดี ซึ่งได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากสำนักงานเกษตรจังหวัดสระบุรี ในการส่งเสริมการผลิตผักปลอดภัย และการรวมกลุ่มเชื่อมโยงเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและเชื่อมโยงตลาดเกษตรกร
สระบุรี
สวนผลไม้ที่ร่มรื่น ได้เห็นต้นทุเรียน, ต้นมังคุด ฯลฯ ที่หลายคนไม่เคยได้เห็นมาก่อน มีผลไม้สดๆ จากสวนให้เลือกซื้อกันด้วย อีกอย่างสวนนี้มีเงาะเขียวขายด้วยนะ เค้าบอกว่าอร่อยมาก พิกัด https://goo.gl/maps/GXxffNrXUqdwF7sx5
สระบุรี
น้ำตกผาแดง มีสถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง คือ จุดชมวิวเนินสววรค์ อุโมงค์ถ้ำ 3 มิติ และน้ำตกสะพานลาว
กาญจนบุรี
ปัจจุบันมีสวนเนื้อที่ 11 ไร่ ที่ทำไปแล้ว 7 ไร่ ในสวนจะมีหม่อน แบล็คเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ มะนาวโห่ ส่วนของหม่อนนี้มีทั้งหมด 15 สายพันธุ์ พันธุ์หลักๆ ก็คือกําแพงแสน เป็นเกษตรรุ่นใหม่ Young Smart Farmer จังหวัดระยอง
ระยอง
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชมาเป็นเวลานาน ก่อนคำว่า “ความหลากหลายทางชีวภาพ (BIOLOAGICAL DIVERSITY)”และอนุรักษ์ (COUSERVATION) จะเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย จากการเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี พ.ศ. 2503 เมื่อเสด็จผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ทอดพระเนตรเห็น ต้นยางนาขนาดใหญ่ขึ้นเป็นจำนวนมาก ทรงมีพระราชทานให้เก็บเมล็ดพันธุ์ยางนาไปเพาะที่ตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน และนำต้นยางนาที่เพาะได้ นำมาปลูก ในสวนจิตรลดา เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ทรงมีพระราชทานพระราชดำริให้ทำการอนุรักษ์ต้นขนุนในพระบรมมหาราชวัง และได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์พรรณไม้ ในพระราชวังต่างๆ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ทรงมีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์ และขยายพันธุ์หวายรวมทั้งดำเนินการจัดสร้างสวนสมุนไพรในโครงการสวนพระองค์ ฯ สวนจิตรลดา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามพระบรมราชกุมารี ทรงสืบต่องานอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยทรงมีพระราชดำริกับท่านเลขาธิการพระราชวัง ให้มีการดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ ในเดือน มิถุนายน 2535 ซึ่งมีโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้จัดสร้างธนาคารพืชพรรณสำหรับเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อรวมทั้งการศึกษาที่มิใช่พืชเศรษฐกิจให้มีการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยนำพระราชดำริ มาเป็นกรอบในการดำเนินการ เมื่อปี พ.ศ. 2536 นายสุจินต์ ภูนิคม กำนันตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร และคณะได้ประสานงานหารือกับผู้อำนวยการบริษัทอุลตร้าโปรดักส์ จำกัด และเกษตรกรจังหวัดชุมพรในการนำพื้นที่สาธารณะประโยชน์ซึ่งตั้ง ณ หมู่ที่ 6 ตำบลสลุย (ปัจจุบัน หมู่ที่ 5,6 ตำบลสลุย และ หมู่ที่ 4 ,7 ตำบลสองพี่น้อง) เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ ซึ่งขณะนั้น โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาก็กำลังจัดหาพื้นที่เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อมาทางโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โดยศาสตราจารย์พิเศษประชิด วามานนท์ (ที่ปรึกษาโครงการส่วนพระองค์) พร้อมคณะได้เดินทางมาพบผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร (นายประยูร พรหมพันธุ์) เพื่อปรึกษาหารือในการจัดทำโครงการโดยใน ระยะ 5 ปี แรกได้ใช้ ชื่อโครงการว่า “โครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณไม้ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร” โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร จึงได้ทำโครงการเสนอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรและได้จัดส่งเอกสารโครงการไปยังผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อโปรดนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองพระบาทในโอกาสอันสมควรและทางโครงการส่วนพระองค์ได้แจ้งตอบรับ เรื่องการนำโครงการอนุรักษ์พันธุไม้และพิพัฒน์พรรณพืชฯ จังหวัดชุมพร ทราบฝ่าละอองพระบาท เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2536 และในการดำเนินโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้ผนวกโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ และพิพัฒน์พรรณพืชของจังหวัดชุมพร เข้ากับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริในส่วนกลางมีดร.พิศิษฐ์ วรอุไร เป็นประธานคณะกรรมการ และจากการประชุมกรรมการ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 ที่ประชุมมีมติเปลี่ยนชื่อโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณพืช ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร เป็นชื่อ “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร”
ชุมพร